การสร้างวัฒนธรรมโดยการให้ฟีดแบ็กและมองเห็นความสำคัญรวมไปถึงการชื่นชมและขอบคุณกันเป็นเรื่องยาก แต่ที่ Happily เราทำให้เป็นเรื่องง่ายได้ เพราะพนักงานมากกว่าครึ่งมีการให้และรับฟีดแบ็ก มีการชื่นชมและขอบคุณกันอย่างสม่ำเสมอบนแพลตฟอร์มของเรา

บทนำ

“การได้มาซึ่งคนเก่งที่มีพรสวรรค์คือปัจจัยหลักในการเติบโตขององค์กร” — Marc Benioff ผู้ก่อตั้ง คณะกรรมการและประธานบริหารร่วม (Co-CEO) แห่ง Salesforce

สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้นำองค์กรก็คือการสรรหาคนเก่งที่มีพรสวรรค์มาร่วมงานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้องการวางรากฐานของการเติบโตทางธุรกิจ เพราะความสำเร็จไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหรือวิทยาการที่มีอยู่เท่านั้น แต่ขับเคลื่อนด้วยผู้คนด้วย ดังนั้นกลยุทธ์และกระบวนการจึงเปรียบเสมือนหน้าฉากอันสวยงาม แต่ความจริงคือผู้คนในองค์กรต่างหากคือตัวกำหนดผลลัพธ์ทางธุรกิจ

แต่ไม่ใช่พนักงานทุกคนที่มีความพร้อมและมีโอกาสที่จะได้สร้างประโยชน์ให้กับองค์กรจากความสามารถที่พวกเขามีอย่างเต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้นำองค์กรที่เข้าใจวิธีการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ให้มีโอกาสได้ใช้ความสามารถของพวกเขาอย่างเต็มที่ จึงถือว่าเป็นคุณค่าของผู้นำองค์กรที่ยอดเยี่ยม

การส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์คืออะไร

การส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ (Talent Activation) คือกระบวนการที่ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมกับแนวทางที่จะช่วยเสริมสร้างผลิตภาพในการทำงาน (Productivity) ผ่านการทำความเข้าใจและเรียนรู้ว่าพนักงานแต่ละคนมีศักยภาพเป็นอย่างไร

ผู้นำองค์กรรวมไปถึง ผู้จัดการ (People manager) และฝ่ายทรัพยากรบุคคลล้วนเป็นผู้มีบทบาทในการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ เพราะพวกเขาถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อม รวมถึงคอยจัดหาเครื่องมือที่ทำให้พนักงานเกิดความกระตือรือร้นและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องฟีดแบ็กเป็นหลัก เพราะเมื่อมีการให้ฟีดแบ็กอย่างเป็นประจำแล้ว องค์กรจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีความเชื่อใจและเปิดกว้างต่อกันมากขึ้น รวมถึงมีความร่วมมือที่เกิดขึ้นภายในทีมเดียวกันและระหว่างทีมอื่นๆ ด้วย อีกทั้งผู้จัดการจะมีความมั่นใจมากขึ้นและสามารถชี้นำทิศทางให้ทีมก้าวไปข้างหน้าได้

ผู้จัดการคือผู้นำในการดึงศักยภาพของคนเก่งภายในทีม

ผู้จัดการชั้นยอดดึงศักยภาพของลูกทีมออกมาได้อย่างไร คำตอบคือพวกเขาใช้ทั้งเวลาและความพยายามในการเข้าใจ, ชี้นำ, และพัฒนาลูกทีมของพวกเขา ผู้จัดการที่ดีพร้อมที่จะเสียสละโอกาสในการก้าวหน้าของพวกเขาเพื่อช่วยให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จ อีกทั้งพวกเขายังเป็นแกนหลักของการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ ผ่านการให้ฟีดแบ็กอย่างตรงไปตรงมาและให้ในเวลาที่เหมาะสม

ภาวะผู้นำองค์กรที่ยอดเยี่ยมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะหากผู้จัดการหลงลืมที่จะมีส่วนร่วมกับการให้ฟีดแบ็ก ก็เท่ากับว่าเขากำลังจำกัดศักยภาพของผู้อื่นอยู่

ประโยชน์ของการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ในองค์กร

1. เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน

พนักงานที่ได้รับฟีดแบ็กอย่างสม่ำเสมอจะมีความเข้าใจในจุดแข็งและจุดอ่อนของพวกเขามากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้และจดจ่อกับเป้าหมายของพวกเขาได้

2. กระตุ้นการพัฒนาและการเติบโตของพนักงาน

การไถ่ถามความเป็นไปกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ผู้จัดการตระเตรียมข้อชี้แนะที่ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์กับการพัฒนาตนเองและโอกาสในการเติบโตทางหน้าที่การงานของพนักงาน

3. ส่งเสริมความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมให้ดีขึ้น

พนักงานที่แลกเปลี่ยนฟีดแบ็กกับเพื่อนร่วมงาน (Peer feedback) จะเข้าใจว่าตนเองมีลักษณะการทำงานหรือการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างไร ซึ่งการผลักดันให้เกิดบทสนทนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรือลักษณะส่วนตัวของพนักงานแต่ละคนจะช่วยให้ลูกทีมเข้าใจว่าพวกเขาสามารถพัฒนาการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร

4. พัฒนาคุณภาพของการสื่อสารและการมีส่วนร่วมระหว่างกัน

ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในองค์กรจะช่วยพัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจและความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งกิจกรรมและบทสนทนาที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าที่เกิดขึ้นภายในองค์กรถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี

5. ค้นพบและรักษาคนเก่งที่มีพรสวรรค์ไว้กับองค์กร

งานวิจัยบอกกับเราว่า การทำงานที่ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าคือแรงผลักดันชั้นเยี่ยมกับพนักงาน ซึ่งส่งผลให้มีผลงาน การทำงานที่โดดเด่น (Top Performer) การชื่นชมและให้ความสำคัญระหว่างพนักงานและหัวหน้าจะช่วยให้พนักงานที่มีผลงานที่โดดเด่นมีกำลังใจ อีกทั้งยังเป็นการมองเห็นถึงความสำคัญและความหมายของผู้อื่นอีกด้วย นอกจากนี้ การให้ฟีดแบ็กแบบเรียลไทม์จะช่วยลดช่องว่างของความคาดหวัง และยังสามารถรักษาคนเก่งที่มีพรสวรรค์เอาไว้ได้อย่างทันท่วงที

benefits of talent activation

การศึกษาข้อมูลและผลลัพธ์

การศึกษาข้อมูลของเรามีจุดประสงค์คือ เพื่อเรียนรู้ศักยภาพของ Happily.ai ในการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ เราอยากรู้ว่าการมีแพลตฟอร์มที่ดีจะช่วยทำให้พนักงานแลกเปลี่ยนฟีดแบ็ก รวมถึงชื่นชมและขอบคุณกันอย่างสม่ำเสมอหรือไม่

เราทำการรวบรวมข้อมูลของพนักงานกว่า 1,959 คนจาก 5 บริษัทเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ (โดยบางบริษัทใช้บริการของ Happily.ai มา นานกว่า 3 ปี ในขณะที่บางบริษัทมีอายุการใช้งาน Happily.ai ยังไม่ครบปี) การวัดการให้ฟีดแบ็กในงานวิจัยครั้งนี้คือการดูว่าพนักงาน 1 คนมีการแบ่งปันฟีดแบ็กกับเพื่อนร่วมงานกี่สัปดาห์ (จากทั้งหมด 10 สัปดาห์) ซึ่งการวัดการชื่นชมและการให้ความสำคัญก็จะเป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้

ผลลัพธ์แสดงให้เราเห็นว่าพนักงานมากกว่าครึ่งใน 4 บริษัทมีส่วนร่วมในการแบ่งปันฟีดแบ็กทุกสัปดาห์ (คือต่อเนื่องกัน 10 สัปดาห์) และอีก 1 บริษัทมีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง พนักงานที่มีความกระตือรือร้นในการแบ่งปันฟีดแบ็กสูงสุด (คือมีการให้ฟีดแบ็กต่อเนื่องกัน 10 สัปดาห์) คิดเป็น 52% ถึง 70% ของพนักงานทั้งหมดในบริษัทส่วนใหญ่ แม้กระทั่งในบริษัทที่มีการให้ฟีดแบ็กติดต่อกันน้อยที่สุด ก็มีพนักงานกว่า 1 ใน 3 (30%) ที่มีส่วนร่วมกับการให้ฟีดแบ็กในทุกสัปดาห์

พนักงานมากกว่าครึ่งมีส่วนร่วมกับการชื่นชมและขอบคุณเพื่อนร่วมงานของพวกเขา (จำนวน 992 จาก 1,959 คน คิดเป็น 51%) มีการส่งการชื่นชมและขอบคุณกันมากถึง 6,300 ครั้งในระยะเวลา 10 สัปดาห์นี้ โดยเฉลี่ยแล้ว มีผู้ใช้งานต่อสัปดาห์ 417 คน และผู้ใช้งานทุก 100 คนจะส่งการชื่นชมและขอบคุณกัน 153 ครั้งในทุกๆ สัปดาห์

4 วิธีช่วยส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ในองค์กรของคุณ

การส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์คือหัวใจสำคัญของการบริหารความสามารถของบุคลากร (Talent Management) ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ช่วยให้คุณตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของพนักงาน การทำเช่นนี้จะทำให้องค์กรและพนักงานมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง นำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น เราขอนำเสนอ 4 วิธีที่จะช่วยส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ในองค์กรของคุณ

1. ส่งเสริมให้มีการให้ฟีดแบ็กต่อกัน

การให้สิทธิ์และเสียงแก่พนักงานทำให้พวกเขารู้สึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของต่องานนั้นๆ โดยสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและอุ่นใจมากพอที่จะแสดงความคิดเห็นของพวกเขา

2. ใช้เทคโนโลยี และจัดเตรียมเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็นในการเพิ่มผลิตภาพของการทำงาน

พนักงานอาจหมดกำลังใจในการมีส่วนร่วมอย่างรวดเร็ว หากพวกเขาต้องทำงานด้วยเครื่องมือที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับผลกระทบจากกระบวนการที่ล่าช้า หรือระบบการจัดการที่สลับซับซ้อนโดยไม่จำเป็น

3. จัดการประชุมตัวต่อตัว อย่างสม่ำเสมอ

การพูดคุยรายสัปดาห์ช่วยให้ผู้จัดการสามารถจัดวางกลยุทธ์ ขจัดปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเพิ่มความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นภายในทีมได้

4. เพิ่มศักยภาพให้พนักงานด้วยการชื่นชมและขอบคุณกันและกัน

การเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้มีโอกาสชื่นชมและขอบคุณกัน (Peer Recognition) จะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเมื่อพนักงานได้รับรู้ว่าคุณค่าของพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาทำไปได้รับการมองเห็นจากผู้อื่น พวกเขาก็พร้อมที่จะทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ต่อไป

activate employee talent

บทสรุป

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดก็ตาม บุคลากรถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามหาศาล เพราะพนักงานที่มีทักษะยอดเยี่ยมและมาพร้อมแรงผลักดันจะเป็นกุญแจดอกสำคัญของการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พนักงานทุกคนที่จะมีความพร้อมและมีแรงผลักดันในการทำงาน พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนก่อน ซึ่งการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์เหล่านี้ ทำได้ด้วยการเปิดพื้นที่การแบ่งปันฟีดแบ็กและการชื่นชมและการมองเห็นความสำคัญต่อกันระหว่างผู้ร่วมงาน และในที่สุดแล้วพนักงานของคุณจะทำสิ่งเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอเอง

Happily.ai คือแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวที่ส่งเสริมการให้ฟีดแบ็ก และการชื่นชมและขอบคุณกัน รวมถึงยังมีข้อมูลแบบเจาะลึก, คำแนะนำดีๆ และอื่นๆ อีกมากมาย เข้ามาที่เว็บไซต์ของเราเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือทดลองใช้งาน และเริ่มต้นเส้นทางของการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ในองค์กรของคุณได้เลย

เอกสารอ้างอิง

[1] https://blog.matrixlms.com/talent-activation-and-what-you-should-be-doing-about-it/

[2] https://searchhrsoftware.techtarget.com/definition/talent-activation

[3] Girl photo created by lookstudio - www.freepik.com

Share this post