คุณสังเกตไหมว่า ในระยะหลังๆ เริ่มมีการพูดถึง Culture Fit กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในวงการ HR หรือในวงการบริหารต่างๆ ว่าต้องเน้นเรื่องการจ้างคนที่มี Culture Fit กับองค์กรเข้ามา ตลอดไปจนถึงลงทุนสรรหาเครื่องมือเพื่อคัดคนอย่าง Culture Fit Test จากบริษัทออกแบบเทสต่างๆมาใช้งาน เพื่อที่ให้ได้คนที่ตรงสเป็คที่สุด

หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ ไม่ทราบว่าคืออะไร หรือยังไม่เห็นความสำคัญ

ดังนั้นวันนี้ บทความจะพาคุณมาเข้าใจกับคำว่า Culture Fit ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายกัน

Culture Fit คืออะไร? หมายความว่าอย่างไร?

ทางเราเชื่อได้เลยว่า คุณจะต้องเคยได้ยินคำเหล่านี้ในชีวิตของคุณ เช่น “เข้ากันได้” “Fit in” “รู้สึก belong กับกลุ่ม”

ใช่แล้ว ถึงแม้ Culture Fit อาจจะดูเป็นคำใหม่ในยุคสมัยนี้ (แต่ก็ไม่ได้ใหม่มากขนาดนั้นในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้อย่างรวดเร็ว) คอนเสปต์นั้นก็เป็นการย้ำถึง ความเข้ากันได้ แต่เป็นการเข้ากันได้ในเชิงวัฒนธรรม เช่น มีความเข้ากันได้กับค่านิยมร่วมของบริษัท (Core Values) มีความเข้ากันได้กับกฎเกณฑ์องค์กร ไปกันได้กับเป้าหมายขององค์กรและทีม เป็นต้น

แล้วทำไม Culture Fit ถึงสำคัญต่อองค์กร?

แน่นอนว่า ความหลากหลาย ความเห็นต่างนั้นเป็นเรื่องที่ดีสำหรับองค์กร แต่ถ้ามีทัศนคติ แนวทางปฏิบัติงาน ความคุ้นชินในการทำงานที่แตกต่างไปจากองค์กรมากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดผลเสียทั้งในเชิงการทำงาน ผลลัพท์ในการทำงาน บรรยากาศในการทำงาน รวมถึงผลต่อผู้ทำงานเองในเชิงลบมากเกินไป แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสิ่งเหล่านี้ไปทางเดียวกับค่านิยมร่วม

มันคงแย่มากถ้าคุณต้องทำงานในที่ๆ คุณไม่มี Culture Fit กับองค์กรเลย

ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้สมัครเป็นคนที่มีแนวคิด fixed mindset เคร่งครัดกฎระเบียบ อาจไม่เหมาะกับองค์กรแบบสตาร์ทอัพ แต่เหมาะมากกับองค์กรที่มีกฎระเบียบสูง ที่ต้องการความเป๊ะด้านกฎเกณฑ์มากๆ

หรือแม้แต่คนที่ทำงานไวแต่ความละเอียดไม่ได้สูงมาก เป๊ะมาก ก็อาจจะไม่เหมาะกับองค์กรที่ต้องการความแม่นยำสูงอย่างบริษัทบัญชีต่างๆ เป็นต้น

ดังนั้น Culture Fit จึงเป็นการหาคนที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร แต่ไม่ใช่การหาคนที่เหมือนจนเป๊ะ เป็น Yes Man สั่งซ้ายขวาหัน อย่างที่หลายคนเข้าใจผิดกัน

จะวัดผลได้อย่างไรว่า ผู้สมัครคนไหน Culture Fit กับองค์กร?

การวัดผลด้าน Culture Fit นั้นใช้แค่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งอาจจะทำให้ไม่เห็นภาพของผู้สมัครได้รอบด้าน จำเป็นที่จะต้องใช้หลากวิธีรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ การทดลองงานร่วมกับทีม การทำ workshop รวมไปถึงข้อสำคัญที่จะทำให้คุณเห็นมุมมอง ทัศนคติ ความคุ้นเคยเชิงวัฒนธรรม และแง่มุมอื่นๆที่เกียวข้องได้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อที่จะได้ก้าวสู่การคัดกรองขั้นต่อไป โดยที่จะสามาถหวังผลได้ว่า ผู้สมัครคนนี้ คือคนที่ใช่ขององค์กรที่แท้จริง

My Culture - The Best Digital Culture Fit Test

แต่คุณภาพของตัว Culture Fit Test ที่ใช้ในการคัดกรองก็มีความสำคัญมาก ถ้าใช้ Culture Fit Test ที่ถูกออกแบบมาไม่ดีพอ หรือมีระบบวิเคราะห์การให้คะแนนที่ขาดมาตรฐาน ผลออกมาก็อาจจะผิดเพี้ยน ส่งผลต่อความเข้าใจต่อผู้สมัครที่ผิดไป จนอาจจะได้คนที่คล้ายจะ Fit กับองค์กร แต่กลับไม่สามารถ Fit ได้จริงๆ ดังนั้น การคัดเลือก Culture Fit Test ที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมองค์กรโดยตรง พร้อมกับระบบวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำ จะช่วยให้คุณได้คนที่ที่คุณต้องการ ลดค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าเสียโอกาสต่างๆเนื่องจากรับคนเข้ามาไม่เข้ากับองค์กรและออกไปไว หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ได้

ในโอกาสนี้ทางเราขอแนะนำ My Culture ซึ่งเป็นโปรดักส์ใหม่จากทาง Happily.ai ออกแบบโดยทีมงานที่ได้รับการไว้วางในการสร้างและบริหาร Culture ในองค์กรด้วยแอพ Happily.ai มาแล้ว โดย My Culture นั้น เป็น Culture Fit Test ที่มาพร้อมกับเซ็ตคำถามที่ตรงจุด ตรงประเด็น ซึ่งถูกออกแบบมาอย่างดี กับระบบวิเคราะห์ที่แม่นยำ กับหน้าตาของแอพที่ใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของกิจการ ผู้จัดการแผนก และ HR โดยคุณสามารถทดลองใช้งานบน Free Plan ของเรา และเลือกแผนการใช้งานที่เหมาะสมได้กับองค์กรของคุณได้จากลิงค์ด้านล่างนี้:

Share this post