17 ตัวเลขทางสถิติของการรักษาพนักงานหรือ Employee Retention ที่ต้องให้ความสำคัญในปี 2022
การรักษาพนักงานหรือ Employee Retention กลายเป็นเรื่องสำคัญอันดับ 1 ขึ้นมาอย่างรวดเร็วสำหรับทีมบริหารและ HR ในช่วงเหตุการณ์การลาออกระลอกใหญ่หรือ Great Resignation ด้วยอัตราการลาออกที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายบริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถและมี Productivity ที่ลดลง อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคคลเพิ่มมากขึ้น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย (ทดลองใช้เครื่องคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลาออกของเรา) เรารวบรวมสถิติที่เปิดเผยถึงอัตราการรักษาและการลาออกของพนักงานเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องบุคคลได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
และนี่คือ 17 ตัวเลขทางสถิติของ Employee Retention ที่ต้องให้ความสำคัญในปี 2022
- Employee retention ถูกจัดอันดับให้เป็นสิ่งที่สำคัญลำดับต้น ๆ โดยในปี 2022 ผู้นำทีม HR 87% ให้เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องโฟกัสในปีสองปีที่จะมาถึงนี้
- 1 ใน 3 ของพนักงานลาออกจากงานภายใน 6 เดือนแรกของการทำงาน
- การมีโปรแกรมการ Onboarding ที่ดีมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอัตราการรักษาพนักงานได้สูงถึง 82%
- พนักงานที่ทำงานกับผู้จัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพมีแนวโน้มถึง 4 เท่าที่จะเปลี่ยนงาน
- ค่าใช้จ่ายในการทดแทนตำแหน่งพนักงานที่ลาออกไปสูงได้ถึง 213% ของค่าจ้างประจำปีของพนักงานคนนั้น
- 27% ของพนักงานที่ออกจากองค์กรเป็นเพราะพวกเขารู้สึกไม่มีคุณค่าหรือไม่ได้รับการชื่นชมและขอบคุณอย่างเพียงพอในการทำงานของพวกเขา
- เพียง 39% ของพนักงานได้รับการยอมรับชื่นชมในการทำงานในช่วง 3 เดือนก่อนออกจากงานครั้งสุดท้าย
ปัญหาที่พบทั่วไป: พนักงานที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่ได้รับการสนับสนุนในที่ทำงานมีแนวโน้มสูงที่จะลาออก ตัวเลขทางสถิติที่กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้เป็นสิ่งช่วยยืนยันได้ และบ่อยครั้งที่เป็นสัญญาณของวัฒนธรรมองค์กรที่ออกแบบมาไม่ดีพอ นั่นคือมีผู้จัดการที่ไม่กระตือรือร้นและพนักงานที่ไม่มีความสุข
ในทางกลับกัน:
8. พนักงานที่ผู้จัดการรับทราบและเห็นถึงผลงานที่ดีของพวกเขามีแนวโน้มที่จะยังทำงานอยู่ต่อในบริษัทมากกว่า 5 เท่า
นอกจากนี้ความสำคัญในการริเริ่มและส่งเสริมโปรแกรมการพัฒนาพนักงานนั้นไม่อาจมองข้ามได้ และมีเหตุผลดังนี้
9. 40 % ของพนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาของการทำงานออกจากงานภายใน 1 ปี
10. บริษัทที่จัดการฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาของงานสร้างรายได้ถึง 218% ต่อรายได้ของพนักงานหนึ่งคน
11. 70% ของพนักงานกล่าวว่าพวกเขาจะเปลี่ยนไปทำงานกับบริษัทที่ลงทุนเงินในการฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน
12. 73% ของพนักงานจะอยู่ต่อกับบริษัทหากมีโอกาสสร้างทักษะมากขึ้น
ทีม HR บริษัทประกันภัยระดับโลกกำลังมองหาวิธีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและเพิ่ม Employee Engagement โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการกับพนักงานในบางหน่วยธุรกิจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายคือริเริ่มการเข้าร่วมและทำกิจกรรมสำหรับพนักงานที่เมื่อก่อนพนักงานไม่เข้าร่วมและให้ความร่วมมือในกิจกรรม
หลังจากใช้งาน Happily เป็นระยะเวลา 6 เดือน ได้ผลลัพธ์ดังนี้
a) ความสุขของพนักงานในภาพรวมของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 22% หลังการใช้งานไป 6 เดือน
b) คะแนนความสำเร็จในด้าน Wellness หรือความผ่อนคลายในการทำงานเพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 63% ส่งผลให้อัตราการขาดงานลดลง 18%!
c) พนักงานถึง 94% เพิ่มการพูดคุยกับผู้จัดการหรือหัวหน้างานตนเองผ่านแอปพลิเคชัน
d) คะแนนความสำเร็จในด้าน Recognition เพิ่มขึ้นจาก 35% เป็น 78% โดยมีอัตราของผู้เข้าร่วม Peer-to-Peer Recogniton สูงถึง 92% และผู้จัดการถึง 80% ได้ชื่นชมและขอบคุณทีมทำงาน
องค์กรจะเพิ่มอัตราการรักษาพนักงานได้อย่างไร? มีข้อพิสูจน์ที่น่าสนใจตามตัวเลขทางสถิติดังนี้:
13. 77% ขององค์กรมุ่งเน้นเรื่องประสบการณ์ของพนักงานเพื่อเพิ่มอัตราการรักษาพนักงาน
ตัวอย่าง - องค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องประสบการณ์และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมีอัตราการรักษาพนักงานที่สูงขึ้น ทำไมน่ะเหรอ? ก็เพราะการโฟกัสของพวกเขาในเรื่อง Engagement ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการรับฟัง และไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายขององค์กรมากยิ่งขึ้น
14. 70% ของพนักงานที่มีความรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับองค์กรสูงเมื่อพวกเขามีผู้จัดการที่มีการทำงานเชิงรุก
ผู้จัดการที่มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นกับงานประจำวันที่เป็นทั้งผู้ฝึกอบรมและสอนงานให้กับลูกทีม และกระตือรือร้นที่จะให้ Feedback ที่สร้างสรรค์และให้การชื่นชมยอมรับพนักงาน สามารถกำหนดบรรยากาศของวัฒนธรรมการทำงานในเชิงบวกได้ ด้วยเหตุนี้ การดำเนินการนี้อาจส่งผลกระทบอย่างมาก - เนื่องจากพนักงาน 70% มีส่วนร่วมและมีความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภาพและประสิทธิภาพการทำงานดียิ่งขึ้น
15. Feedback พัฒนาอัตราการรักษาพนักงาน โดยนายจ้างที่มีการขอ Feedback พนักงานบ่อย ๆ และดำเนินการตาม Feedback ที่ได้รับจะมีโอกาสถึงสี่เท่าในการรักษาพนักงานขององค์กร
16. 66% ของพนักงานที่มีความผูกพันกับองค์กรสูง ๆ กล่าวว่าพวกเขาไม่มีแผนการที่จะเปลี่ยนงาน ในขณะที่เพียง 3% เท่านั้นที่กำลังมองหางานใหม่อยู่
17. ความสุขที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ Productivity อย่างน้อย 12%
สิ่งนี้เน้นย้ำถึงประเด็นที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ และตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งคือบริษัท Google ที่เริ่มให้ความสำคัญเรื่องความสุขของพนักงานด้วยการส่งเสริม Employee Engagement และผลที่ได้คือความพึงพอใจของพนักงานสูงขึ้นถึง 37%
สิ่งสำคัญ: พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรจะอยู่กับองค์กรได้นานขึ้น องค์กรที่ประสบปัญหาการลาออกของพนักงานจำนวนมากอาจต้องคิดทบทวนอีกรอบว่าจะทำให้พนักงาน Engaged กับองค์กรให้มากที่สุดได้อย่างไร เพื่อพัฒนาอัตราการรักษาพนักงานให้ดียิ่งขึ้น
บทสรุป
โดยรวมแล้ว ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพนักงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การรักษาพนักงานนั้นไม่ได้ถูกพูดถึงกันมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพสูงและมีประสิทธิผล ผลกระทบจากการสร้างวัฒนธรรมการมี Engagement สูงนั้นมีค่าเกินกว่าที่จะมองข้ามไป และบางส่วนรวมไปถึง :
- ความพึงพอใจและความสุขของพนักงานที่เพิ่มขึ้น
- Productivity ของพนักงานที่สูงขึ้น
- อัตรา Employee Retention ที่สูงขึ้น
- ค่าใช้จ่ายเรื่องการสรรหาบุคลากรลดน้อยลง
- ความสัมพันธ์ในที่ทำงานที่ดีขึ้น
- มีความสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันระหว่างพนักงานและองค์กรที่ดีขึ้น
Happily.ai เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมทุกอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานที่ส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงบวกในที่ทำงาน องค์กรใช้ Happily เพื่อช่วยการ Check-in รายวันกับพนักงาน ช่วยสร้างบทสนทนาที่ดีขึ้น ช่วยพัฒนาเหล่าผู้จัดการขององค์กร และช่วยส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมเชิงบวกให้มากขึ้น เรายังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเรื่องความสุขและ Well-being ของพนักงานแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจทีมและคนของคุณให้ดียิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์เราหรือลงทะเบียนเพื่อรับฟังการ Demo และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการ Engage กับพนักงานของคุณ!