เข้าใจความแตกต่างระหว่าง Culture Fit และ Culture Add และทำไมทั้งสองสิ่งถึงสำคัญ

เมื่อกล่าวถึงการสร้างสถานที่ทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งก็คือ “วัฒนธรรม” และข้อควรพิจารณาที่สำคัญประการหนึ่งเมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมองค์กรก็คือหลักการของ "Culture Fit" หรือความเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรม แต่จริง ๆ แล้วสิ่งนี้หมายถึงอะไรกันแน่ และแค่ Culture Fit เท่านั้นเหรอที่เป็นสิ่งสำคัญเมื่อกล่าวถึงการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่ง ในบทความนี้ เราจะสำรวจความแตกต่างระหว่าง Culture Fit และ Culture Add และทำไมทั้งสองสิ่งนี้ถึงมีความสำคัญสำหรับการสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

Culture Fit คืออะไร

อันดับแรกเรามานิยามความหมายของ Culture Fit กันก่อน Culture Fit หมายถึงความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันระหว่างค่านิยม สไตล์การทำงาน และพฤติกรรมของบุคคลนั้นกับวัฒนธรรมองค์กร หรืออีกนัยนึง Culture Fit เป็นสิ่งที่ทำให้แน่ใจได้ว่าพนักงานใหม่หรือพนักงานปัจจุบันในองค์กรเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กร สิ่งนี้สำคัญเพราะว่างานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าพนักงานที่เข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรมักจะรู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กร มีแรงจูงใจและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

Culture Add คืออะไร

Culture Fit เป็นเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นเหรอที่สำคัญเมื่อต้องการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง? คำตอบคือ “ไม่ใช่” Culture Add หรือการเพิ่มเข้าไปในวัฒนธรรม เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องพิจาณาถึง Culture Add หมายถึง มุมมอง ทักษะ และประสบการณ์เฉพาะที่แต่ละบุคคลนำเข้ามาสู่องค์กร ความแตกต่างเหล่านี้สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและสามารถช่วยพัฒนาวัฒนธรรมโดยรวมขององค์กร

Culture Fit หมายถึง ความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันระหว่างค่านิยม สไตล์การทำงาน และพฤติกรรมของบุคคลนั้นกับวัฒนธรรมองค์กร
Culture Add หมายถึง มุมมอง ทักษะ และประสบการณ์เฉพาะที่แต่ละบุคคลนำเข้ามาสู่องค์กร

ตัวอย่างเช่น องค์กรหนึ่งอาจจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่มีค่านิยมเรื่อง นวัตกรรม (Innovation) แต่ยังขาดเรื่องความหลากหลาย (Diversity) การจ้างงานพนักงานใหม่ที่มีภูมิหลังที่หลากหลายซึ่งมีแนวความคิดและประสบการณ์ที่แตกต่างกันสามารถช่วยส่งเสริมให้วัฒนธรรมองค์กรมีนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การมีพนักงานที่หลากหลายยังสามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรได้ด้วยการมีมุมมองในการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจ และกลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่า Culture Fit และ Culture Add นั้นไม่ได้แยกออกจากกัน สถานการณ์ในอุดมคติขององค์กร ก็คือการหาพนักงานที่มีทั้ง Culture Fit ที่เข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรและมี  Culture Add ที่นำมุมมองและทักษที่ไม่เหมือนใครซึ่งสามารถช่วยพัฒนาวัฒนธรรมโดยรวมขององค์กร

เพื่อให้สามารถค้นหาพนักงานที่มีทั้ง Culture Fit และ Culture Add องค์กรสามารถใช้เครื่องมืออย่างเช่น MyCulture (https://myculture.happily.ai) เพื่อประเมิน Culture Fit และ Culture Add ของผู้สมัครในกระบวนการจ้างงาน ด้วยการใช้ MyCulture องค์กรสามารถระบุได้ว่าผู้สมัครที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรและนำแนวคิดและทักษะเฉพาะที่ช่วยพัฒนาวัฒนธรรมโดยรวมขององค์กรได้หรือไม่

🛠️
Happily ได้รวบรวมเครื่องมือสำหรับผู้นำและผู้ที่สนใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กรตั้งแต่เริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยขั้นตอนการจ้างงาน กลยุทธ์ในการส่งเสริม ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ตลอดจนการรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งให้ยั่งยืน ศึกษาเพิ่มเติมที่ Culture Toolkit

โดยสรุป ทั้ง Culture Fit และ Culture Add เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญเมื่อต้องสร้างสถานที่ทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ Culture Fit ทำให้แน่ใจได้ว่าพนักงานใหม่หรือพนักงานในองค์กรเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กร ขณะที่ Culture Add กล่าวถึงมุมมอง ทักษะ และประสบการณ์เฉพาะที่แต่ละบุคคลนำเข้ามาสู่องค์กร ความแตกต่างเหล่านี้สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและสามารถช่วยพัฒนาวัฒนธรรมโดยรวมขององค์กร MyCulture เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ประเมินเรื่อง Culture Fit และ Culture Add ในกระบวนการจ้างงาน เพื่อระบุผู้สมัครที่ต้องการที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรและยังนำแนวคิดและทักษะเฉพาะที่ช่วยพัฒนาวัฒนธรรมโดยรวมขององค์กร