Dragon Ball แบบอย่างแห่งการมี Resilience ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี

“มองละคร ย้อนดูตัวเราเอง”

คำนี้ยังคงเป็นจริงถึงในปัจจุบัน ถึงการที่เราจะได้รับประโยชน์จากเรื่องแต่งต่างๆ ตลอดจนสื่อบันเทิงที่ผ่านตาเรา ไม่ว่าจะเป็นละคร นิยาย หนังโรง หรือหนังสตรีมมิ่งอย่างพวก Netflix ก็ตาม และนั้นก็ไม่เว้นแม้แต่การ์ตูนญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันเรียกกันติดปากว่า Anime

ปัจจุบัน ช่อง 9 การ์ตูนก็ยังคงดำเนินรายการอยู่ ติดตามได้บน Facebook

ซึ่ง Anime นั้น หลายคนมักที่อยู่ในวัยเป็นผู้จัดการระดับกลาง ซึ่งโดยมากมักจะมีอายุ 30 ปี ขึ้นไป ก็มักจะคุ้นกับเรื่องต่างๆจากรายการยอดฮิต ช่อง 9 การ์ตูน ที่มี น้าต๋อย เซมเบ้ นักพากย์ระดับตำนานเป็นผู้ก่อตั้ง มาจนถึง พี่นัท กับ น้องนพ ที่นำเอาเพลงจากการ์ตูนชื่อดัง Digimon Adventure มาร้องเป็นเวอร์ชั่นภาษาไทย จนเป็นที่โด่งดังทั้งในแง่บวกและแง่ขบขัน มาจนถึงทุกวันนี้

ซึ่งการ์ตูนญี่ปุ่นที่นำมาฉายในช่อง 9 ในช่วงยุค 90 นั้นมักจะเป็นการ์ตูนที่ถูกผลิตขึ้นมาในช่วงยุค 90 ต้นๆ ไปจนถึงช่วงยุค 80 กลางๆ ไม่ว่าจะเป็น พายุหมุน ไออ้อนลีเกอร์, ดราก้อนบอล, เซเลอร์มูน, ดิจิมอน แอดเวนเจอร์, พ่อครัวจอมมายา, เมจิคไนท์เรย์เอิร์ท, ยูยู คนเก่งทะลุโลก และอีกมากมายหลายเรื่อง

ซึ่งส่วนมากก็จะมี theme ที่คล้ายๆ กัน คือ เหล่าตัวละครเอกมักจะอยู่ในช่วงวัยรุ่นต้นๆ - กลางๆ จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมาย จะล้มไปมากแค่ไหนก็จะลุกขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ตัวเอกนั้นมักจะเก่งกว่าเดิม หรือมีการบรรลุถึงความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วเรียนรู้ไปกับมัน ซึ่งสะท้อนค่านิยมของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นมาอย่างมากมาย ถึง การไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว หรือที่เรียกว่า Resilience

โปสเตอร์โปรโมต Dragon Ball Z ซึ่งเป็นภาคที่ได้รับการยอมรับว่า ดุเดือด เข้มข้น และมันส์ที่สุด

โดยในหมู่มวลการ์ตูนที่ฉายทั้งหมด จะมีเรื่องหนึ่งที่เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทย และแฟน Anime ทั่วโลก นั้นก็คือ Dragon Ball กับตัวละครเอกที่โดดเด่นมากมายที่สามารถนับเป็นตัวอย่างที่ดีได้ จนตราตรึงอยู่ในใจทุกคน ไม่ว่าจะเป็น โกคู (โงกุน), โกฮัง (โงฮัง), เบจิต้า, หยำฉ่า, คุริริน, พิคโกโร่, ท่านไคโอ เป็นต้น

โดยวันนี้เราจะยกตัวอย่างเสียสองสามตัวอย่าง ที่สามารถสื่อได้ถึงการมี Resilience ของตัวละครในดวงใจเหล่านี้ เพื่อสร้างกำลังใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต และการทำงานของคุณผู้อ่านทุกคน

การพัฒนาร่างของ โกคู ที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ ประสบความพ่ายแพ้แล้วไปฝึกตนมาใหม่

ตัวอย่างที่เห็นชัดเลยคือ การพัฒนาร่างของชาวไซย่า ที่ได้มาอยู่บนโลกนี้นั้น ไม่ว่าจะเป็น โกคู เบจิต้า โกฮัง มักจะมาจากการพัฒนาตัวเองจากการที่เคยพ่ายแพ้ หรือ ชนะแต่ปางตาย จนต้องมาฝึกฝนเพิ่มเติมทั้งการไปฝึกที่ห้องกาลเวลา หรือแม้แต่ตายไปแล้วก็ยังไปฝึกกับดาวของท่านไคโอ อีกต่างหาก พอกลับมาในศึกต่อไปเมื่อสู้ถึงจุดหนึ่งก็จะดึงเอาพลังที่แท้จริงออกมา โดยการแปลงร่างไปในร่างถัดไป อันเป็นตัวแทนที่สื่อถึงการที่ เมื่อเราผ่านสถานการณ์หนักๆ มาแล้วกลับมาได้ เราจะเก่งขึ้นไปยิ่งเสียกว่าเก่า

การต่อสู้ครั้งแรกของ ทรังค์ จากโลกอนาคต ที่พ่ายแพ้หมายเลข 17 และ 18 อย่างไม่เป็นท่า

อีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตอนที่ทรังค์จากโลกอนาคตที่ถูกเหล่ามนุษย์ดัดแปลงทำลายล้างไปเรียบร้อยแล้ว พยายามล้างแค้นแทน โกฮัง เพื่อนสนิทและอาจารย์ของตนเองที่ถูกมนุษย์ดัดแปลงหมายเลข 17 และ 18 ฆ่าตาย โดย ในครั้งแรกนั้นก็ได้พ่ายแพ้อย่างยับเยิน แต่หลังจากที่ได้กลับไปอดีตเพื่อที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงอนาคตไม่ให้ไปในเส้นทางที่ตนอยู่นั้น ก็ได้รับการฝึกฝนจากนักรบชาวไซย่าและมิตรสหายที่เข้มแข็งมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โกคู เบจิต้า หรือ แม้กระทั่ง พิคโคโร่  จนกระทั่งเมื่อตัวเองได้กลับสู่ช่วงเวลาที่ตัวเองอาศัยอยู่นั้นเอง ก็ได้ใช้ความสามารถที่พัฒนามาจากการไม่ยอมหยุดยั้งจากการพ่ายแพ้ ปราบ มนุษย์ดัดแปลงหมายเลข 17 และ 18 อย่างง่ายดาย รวมทั้งสามารถทำลาย เซลล์ ในร่างแรกโดยที่แทบไม่ต้องพยายาม อันเป็นผลจากการฝึกอย่างหนักเพื่อที่จะไม่ต้องกลับไปผิดพลาดอย่างเดิมอีก

จากตรงนี้จะเห็นว่า การมี Resilience นั้น นอกจากจะจำเป็นต่อการอยู่รอดแล้ว ยังจะทำให้เกิดการพัฒนาในเชิงบวก และนำไปสู่นวัตกรรม วิวัฒนาการใหม่ๆ ที่สร้างความได้เปรียบที่ยั่งยืนได้

แต่ ในองค์กรของคุณนั้น ตอนนี้เหล่าพนักงาน ลูกน้อง ลูกทีม ลูกจ้าง มี Resilience มากน้อยแค่ไหน?

พวกเขาพร้อมจะลุกขึ้นมา เพื่อที่จะพัฒนาตัวเองหรือยัง? เราอยากให้คุณได้ลองนำเอาวิธีของเรา ลงไปตรวจเช็ค วัดค่าออกมา เพื่อที่จะได้ทำการปรับปรุงพัฒนา

กรอกข้อมูลเพื่อดาวน์โหลดหนังสือกันเลย!