Hard Skills และ Soft Skills ในการทำงาน ต่างกันอย่างไร?

การพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น หรือ Personal Development นั้นยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการสร้างความก้าวหน้าให้กับชีวิตมาทุกยุคทุกสมัย และในแต่ละยุคนั้นก็ต่างมีความต้องการในความสามารถต่าง ๆ ของผู้ที่พัฒนาตัวเองต่างกันออกไป ซึ่งในยุคสมัยก่อนนั้นยังไม่ได้มีการให้คำนิยามหรือคำจำกัดความถึงประเภทของความสามารถในแบบต่าง ๆ อย่างชัดเจน จนกระทั่งในช่วงเวลาเร็ว ๆ นี้ได้มีศัพท์ 2 คำที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน นั่นคือ Hard Skills และ Soft Skills

Hard Skills และ Soft Skills คืออะไร? ต่างกันอย่างไร?

สองคำนี้อาจจะฟังดูแล้วงง ๆ หน่อย อีกทั้งยังไม่มีคำแปลไทยอย่างตรงตัว แต่สามารถสรุปสั้น ๆ ได้ดังนี้

Hard Skills คือ ความรู้ความสามารถในเชิงเทคนิคต่าง ๆ ทั้งในแง่ของความสามารถในเชิงวิชาการ ทักษะการทำงานเชิงฝีมือต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งความสามารถในการใช้ภาษา การคิดคำนวณ ก็จัดอยู่ในความสามารถประเภทนี้ด้วย เป็นประเภทความสามารถที่ทำให้คุณสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้

Soft Skills คือ ทักษะที่ถึงแม้จะไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนกับ Hard Skills แต่ก็เป็นความสามารถที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานในยุคปัจจุบัน ที่ช่วยให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถทำงานทุกอย่างลุล่วงด้วยดี และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น อย่างเช่น ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสามารถในการพูดคุยทำงานกันเป็นทีม เป็นต้น

ตัวอย่างของ Hard Skills

ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง Hard Skills นั้น อาจจะไม่ยาก แต่ค่อนข้างจะมีปริมาณที่มาก เพราะว่าในแต่ละสายอาชีพต่างก็ต้องการความสามารถ เก่งกาจในเชิงเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป โดยในส่วนนี้ทางเราจะของยกตัวอย่างมาอย่างคร่าว ๆ ให้คุณพอจะเข้าใจ เห็นภาพ ซึ่งทางเราอาจไม่ได้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เพราะความสามารถในแต่ละข้อนั้นต่างมีความหมายตรงตัวอยู่แล้ว ซึ่งความสามารถเหล่านั้นมีดังนี้

การคิดคำนวณ (Calculation)

การโปรแกรมมิ่ง (Programing)

การวาดรูป (Drawing)

การใช้งานระบบคลาวด์ (Cloud Computing)

การทำบัญชี (Accounting)

การทำอาหาร (Cooking)

การวางแผนเชิงธุรกิจ (Business Planning)

การต่อสู้ระยะประชิด (Close Quarter Combat)

เป็นต้น

ตัวอย่างของ Soft Skills

ในด้านความสามารถเชิง Soft Skills ที่ฟังดูแล้วจับต้องยาก และมีการดัดแปลงใช้ได้อย่างหลากหลาย ในหลากอาชีพกว่าความสามารถในเชิงเทคนิคนั้น อาจจะมีมากไม่เท่ากับความสามารถแบบ Hard Skills ที่ผันแปรไปตามสายงานต่าง ๆ แต่ความสามารถในแต่ละอย่างต่างมีรายละเอียดที่น่าสนใจ และผู้อ่านทุกคนควรใช้เวลาในการทำความเข้าใจ เรียนรู้ ซึมซับ และนำเอาไปใช้ในการทำงานจริง ๆ ซึ่งทางเราจะยกตัวอย่างของ Soft Skills ดังต่อไปนี้

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

คุณไม่จำเป็นต้องทำงานสาย Design หรือเป็นจิตรกร ความสามารถนี้ก็มีความจำเป็น เพราะจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงความคิด ประสบการณ์ และความสามารถในเชิง Hard Skills นำไปสู่การคิดค้นวิธีการทำงานใหม่ ๆ ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

หลายงานอาจทำคนเดียวได้ แต่ก็ต้องประสานงานกับผู้อื่นอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน นายจ้าง หรือลูกค้า ดังนั้น คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้การสอดประสานและรับส่งงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

การปรับตัวและฟื้นตัว (Resilience)

ชื่อความสามารถนี้อาจจะอ่านยาก เข้าใจยากสำหรับคนไทย แต่ยกตัวอย่างให้ง่ายกว่าเดิม คุณลองนึกถึงตุ๊กตาล้มลุก ที่ล้มแค่ไหนก็ลุกขึ้นมาได้ ทักษะนี้สำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก อย่างเช่น สถานการณ์โควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนโลก ทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน ซึ่งทักษะนี้ช่วยให้เราปรับตัวและฟื้นตัวผ่านสถานการณ์นี้มาได้ ถ้าคุณอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะ Resilience ในองค์กร คุณสามารถอ่าน หนังสือเล่มนี้ ของเราเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตและพัฒนาพนักงานในองค์กรในด้านนี้ต่อไป

ต้วอย่างทั้งสามทักษะนี้เป็นความสามารถเชิง Soft Skills เพียงส่วนหนึ่งจากที่มีมากมายที่กำลังมาแรงและจำเป็นในยุคป้จจุบัน และถ้าคุณสนใจว่า Soft Skills อะไรบ้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน คุณสามารถอ่านงานศึกษาข้อมูลของเราเพิ่มเติมในหัวข้อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Soft Skills ได้

ส่งเสริมการพัฒนา Soft Skills ของพนักงานในองค์กรได้ทุกวัน

มาดูวิธีการใช้งานกัน!

เป็นหัวหน้าต้องสร้าง Motivation ให้ลูกทีมพัฒนาตัวเอง

การเป็นหัวหน้านั้นสามารถ Motivate พนักงานได้มากมายหลากรูปแบบ

ในการทำงานนั้น สมาชิกในทีมล้วนแต่จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาความสามารถในทั้งสองแง่มุมนี้อย่างครบถ้วน สม่ำเสมอ และต้องตรงความต้องการของงานและองค์กร ซึ่งสิ่งที่หัวหน้าไม่ว่าจะระดับผู้จัดการ หรือผู้บริหารสามารถทำได้นั้น นอกจากจะเป็นการสรรหาทุนและความร่วมมือจากองค์กรเพื่อพัฒนาพนักงานภายในการดูแลของตนแล้ว อีกสิ่งที่สำคัญไม่ต่างกันคือ การสร้างแรงผลักดัน หรือ Motivation ให้กับพนักงาน โดยในการสร้าง Motivation อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้พนักงานนั้นมีทั้งความสามารถที่เพิ่มขึ้น มีพัฒนาการต่อเนื่อง และยังมีสุขภาวะ หรือ Well-being ที่ดีอีกด้วย ซึ่งจะเป็นการสร้างผลเชิงบวกในระยะยาว (หรือมี Sustainability) โดยคุณสามารถศึกษาถึงศาสตร์การสร้าง Motivation อย่างถูกต้องได้ เพียงแค่กรอกแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อดาวน์โหลดหนังสือฟรี!