การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์
ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกเราปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูลและการนําข้อมูลมาใช้ในงานทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่องค์กรต่างให้ความสําคัญโดยเฉพาะเมื่อองค์กรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น องกรค์จะมีข้อมูลจํานวนมากและองค์กรเองสามารถนําข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ คาดการณ์ปัญหาและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรบุคคล และผลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้จะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้องค์กรสามารถนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ
จากผลการสํารวจเรื่อง Digital transformation ในประเทศไทยปี 2020 ของ Deloitte เปิดเผยว่าบริษัทต่าง ๆ ได้เริ่มมีการทํา Digital transformation ในองค์กรแล้วถึง 52% และถึง 60% ของผู้ร่วมทําแบบสอบถามมีจุดประสงค์หลักของการทํา Digital transformation ในองค์กรเพื่อที่จะใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานนั้น 80% ของ HR เชื่อว่าการรวมเทคโนโลยีเข้าไปในกระบวนการทํางานของ HR จะช่วยพัฒนาทัศนคติของพนักงานในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
ความท้าทายของการทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ขององค์กรในส่วนงานทรัพยากรบุคคล
● ส่วนงานทรัพยากรบุคคลต้องการคนที่มีทักษะในด้านการพัฒนาคุณภาพข้อมูลของหน่วยงาน, โครงงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลและข้อมูลเพื่อทําความเข้าใจในพนักงาน
● การจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลกับพนักงานในองค์กร และเหมาะสมกับข้อมูลที่ใช้ในส่วนงานทรัพยากรบุคคลในองค์กร
เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลด้วย AI
ในส่วนของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันนี้ก็จะมีตั้งแต่เครื่องมือสํารวจและเก็บฟีดแบ็กจากพนักงานแบบง่าย ๆ ไปจนถึงแพลตฟอร์มที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน เทรนด์ที่โดดเด่นอันหนึ่งก็คือ Augmented Analytics ซึ่งก็คือการทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Machine Learning และการสร้างภาษาธรรมชาติ หรือ Natural Language Generation (NLG)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI มีส่วนช่วยในงานด้านทรัพยากรบุคคลหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็น
● การสรรหาบุคคลที่มีความสามารถ เหมาะกับตําแหน่งที่หน่วยงานกําลังมองหา เช่น Skillate, GetLinks
● การประเมินแบบสอบถามภายในองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI เช่น aiSurvey
● การรักษาและพัฒนาพนักงานที่เป็น talent ขององค์กร และมองเห็นพนักงานที่เป็น hidden talent ในองค์กร และมีศักยภาพที่จะขึ้นเป็นผู้นําต่อไป เช่น Happily.ai
ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ในเรื่องการมองเห็นพนักงานที่เป็น hidden talent ในองค์กร และมีศักยภาพที่จะขึ้นเป็นผู้นําต่อไปก็คือ แพลตฟอร์ม Happily.ai ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประเภทของ talent ในองค์กรและให้ข้อมูลพนักงานที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นํา และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Organizational Network Analysis (ONA) ในการแสดงแผนภาพการสื่อสารของพนักงานในองค์กรว่าใครเป็น talent ประเภทไหน หรือเป็น connector ที่ดีในทีมและองค์กร และโครงข่ายนี้สามารถบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์ในระดับต่าง ๆ ได้อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่