ผู้นำสามารถเพิ่ม Well-being ของพนักงาน ด้วยการกำจัดพฤติกรรมที่ Toxic ในองค์กร

พฤติกรรมที่เป็นพิษ หรือ Toxic ส่งผลร้ายต่อคนในองค์กร ทั้งเกิดรอยร้าวและสร้างความขัดแย้ง และทำให้ผลิตภาพหรือ Productivity ลดลง หากผู้นำเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่เป็นพิษนี้ พนักงานที่ทำงานได้ดีมีผลงานโดดเด่นจะยื่นใบลาออกเป็นกลุ่มแรก (อย่าลืมว่าพวกเขามีทางเลือก) และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและผลิตภาพโดยรวมขององค์กร นอกจากนี้พฤติกรรมอัน Toxic ยังส่งผลร้ายซ้ำเติมสุขภาวะ หรือ Well-being ของพนักงาน ซึ่งอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลาอยู่แล้ว

แล้วพฤติกรรมแบบไหนที่จัดว่า Toxic ล่ะ?

พฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน คือ พฤติกรรมที่ส่งผลด้านลบต่อความรู้สึกและ Well-being ของพนักงาน รวมทั้งสวนทางกับค่านิยม (Values) ที่คนในองค์กรยึดถือ ตัวอย่างเช่น ภาวะผู้นำแบบโกรธและไม่พอใจแอบแฝง (Passive-aggressive leadership) การซุบซิบนินทา ข่าวลือ การข่มขู่ทางอารมณ์ และการกลั่นแกล้งหรือ Bully พฤติกรรมที่ Toxic อาจหลากหลายและเป็นปัจเจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรไม่กำหนดค่านิยมองค์กรให้ชัดเจน และไม่เสริมสร้างให้ค่านิยมองค์กรแข็งแรง


พฤติกรรมเหล่านี้ไม่เพียงทำร้ายจิตใจผู้ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้น แต่ผู้ที่รับรู้และเฝ้ามองเหตุการณ์อยู่รอบ ๆ ก็ได้รับผลกระทบทางอารมณ์ไปด้วย เพราะอดที่จะรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ถูกกระทำไม่ได้ มากไปกว่านั้น หากผู้กระทำลอยนวล ไร้คำบอกกล่าวตักเตือนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำนั้น โดยเฉพาะเมื่อผู้กระทำคือผู้นำเสียเอง เมื่อนั้นพฤติกรรมที่ Toxic จะกลายเป็นเรื่องปกติพบเห็นทั่วไปในที่ทำงาน


พฤติกรรมที่ Toxic กระทบต่อ Well-being ของพนักงาน

เราศึกษา Well-being ของพนักงาน โดยอ้างอิงตัวชี้วัด Well-being จากองค์การอนามัยโลก (WHO-5 Well-being Index) และประเมินการรับรู้ต่อพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานด้วยคำถามว่า “คุณรับรู้ถึงหรือกำลังประสบกับพฤติกรรมที่สร้างความรู้สึกแย่ๆ ให้กับคนอื่นในที่ทำงาน?”
กลุ่มตัวอย่างของเราประกอบด้วยพนักงานทั้งหมด 1,285 คน จาก 43 บริษัท สำหรับการศึกษา Well-being เราจัดพนักงานออกตามค่าดัชนี Well-being แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1. ระดับ Well-being ดี (ค่าดัชนี 76 - 100) 2. ระดับ Well-being ปานกลาง (ค่าดัชนี 53 - 75) และ 3. ระดับ Well-being ต่ำ (ค่าดัชนีต่ำกว่า 53)
ณ ช่วงเวลาที่เราศึกษาพบว่า 33% ของพนักงานมี Well-being ในเกณฑ์ดี 43% อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และ 23% มี Well-being ที่ต่ำ ขณะที่เพียง 38% ของพนักงานบอกว่า ไม่เคยประสบหรือพบเห็นพฤติกรรมที่ toxic ในที่ทำงานของตน

“พนักงานส่วนใหญ่รับรู้และประสบ หรืออาจจะพบเห็นพบเจอกับพฤติกรรมอัน Toxic ในที่ทำงาน”

56% ของพนักงานที่มีระดับ Well-being ดี ตอบว่าเคยเจอหรืออาจจะเคยเจอพฤติกรรมที่ Toxic ในองค์กร ยิ่งไปกว่านั้น 72% ของพนักงานที่มี Well-being ต่ำเคยประสบหรืออาจจะเคยประสบกับพฤติกรรมเหล่านี้จากที่ทำงาน นอกจากนี้กลุ่มพนักงานที่มี Well-being ในเกณฑ์ดี มีโอกาส 54% ที่ไม่เคยพบเจอกับพฤติกรรม Toxic เลย เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มี Well-being ต่ำ


พฤติกรรม Toxic ที่พบได้บ่อยครั้งมีอะไรบ้าง

การกำจัดพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานค่อนข้างท้าทาย เพราะมีความหลากหลายตามแต่ละบุคคลและสถานการณ์ แถมยังสังเกตเห็นได้ยากอีกด้วย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับออฟฟิศที่หลีกเลี่ยงหรือไม่มีการเผชิญหน้ากันตรง ๆ) แม้จะมีพฤติกรรมที่เข้าข่าย Toxic เป็นจำนวนมาก แต่ก็พอจะมีบางพฤติกรรมที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ดังนี้

  • ต่อว่าไอเดียและความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
  • เผยแพร่คำลวงและข่าวลือ
  • ซุบซิบนินทา
  • กลั่นแกล้ง หรือ Bully
  • ไม่เห็นอกเห็นใจกัน
  • ไม่ทำตามที่สัญญาและตกลงกันไว้

ยิ่งไปกว่านั้น 15% ของพนักงานที่ตอบว่าเคยประสบกับพฤติกรรม Toxic ในออฟฟิศ ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงเหตุการณ์ที่เคยเจอ หากคนในที่ทำงานของคุณมีความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) ต่ำจะยิ่งเพิ่มพื้นที่ให้พฤติกรรม Toxic เติบโตและทำร้ายองค์กรของคุณ

ผู้นำองค์กรและหัวหน้างานจะรับมือและกำจัดพฤติกรรมที่ Toxic อย่างไร

ผู้นำและหัวหน้างานต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและกำจัดหรือบรรเทาวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ (Toxic Culture) โดยมีวิธีและเครื่องมือที่แนะนำ ดังนี้

1. สรรหาและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับคน (Soft skills) ในตัวพนักงาน

Soft skill (โดยเฉพาะการสื่อสาร ความฉลาดทางอารมณ์ และความเห็นอกเห็นใจ) บ่งบอกความสามารถในการควบคุมตนเองและทำงานกับผู้อื่นในภาวะกดดัน พนักงานที่มี Well-being ต่ำจะมีความอดทนและความเข้าใจต่ำ รวมทั้งอ่อนไหวจนทำร้ายจิตใจผู้อื่นได้ง่าย

รายงานของ The State of Business Communication ชี้ว่า การสื่อสารที่ไร้ประสิทธิภาพ บ่อยครั้งก่อผลลัพธ์คือพนักงานมีความเครียดสูง ทีมต้องสูญเสียเวลา 7.5 ชม.ต่อสัปดาห์ไป เพราะการสื่อสารที่ย่ำแย่ ผู้นำองค์กรและหัวหน้างานทีมต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องแสดงให้เห็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่องค์กรแวดล้อมด้วยความท้าทายและมีความเครียดสูง

2. สื่อสารค่านิยมขององค์กร (Core values) ซ้ำ ๆ

ค่านิยมขององค์กรคือเครื่องมือสำคัญของคุณในฐานะผู้นำและผู้บริหาร สิ่งเหล่านี้บอกกล่าวการทำงานและวิธีแก้ปัญหาในรูปแบบที่องค์กรยึดถือให้แก่พนักงานได้รับรู้และปฏิบัติตาม ทุกครั้งที่นำค่านิยมเหล่านี้ไปใช้ ก็ยิ่งเสริมสร้างให้ค่านิยมขององค์กรแข็งแกร่ง

ผู้นำองค์กรควรเน้นย้ำถึงค่านิยมองค์กรทุกครั้งที่มีโอกาส และลงมือทำทันทีเพื่อรักษาค่านิยมองค์กรไว้เสมอ

3. ส่งเสริมความปลอดภัยทางใจ (Psychological safety) ในที่ทำงาน

ภาวะผู้นำและการบริหารงานของคุณยังต้องปรับปรุงหากองค์กรปราศจาก Psychological safety เมื่อพนักงานไม่กล้าส่งเสียงและเผชิญกับปัญหาที่ยากลำบาก พฤติกรรม Toxic ก็จะเติบโต

กระนั้นก็ไม่ใช่ความผิดของคุณเสมอไป ถ้าบรรทัดฐานทางสังคมมีความปลอดภัยทางใจต่ำอยู่แล้วและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผู้นำองค์กรและระดับหัวหน้างานต้องช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางใจ เพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจและไม่กลัวที่จะส่งเสียงออกมา ด้วยการชื่นชมและขอบคุณพนักงานที่พูดถึงประเด็นสำคัญและยึดถือค่านิยมองค์กรไว้ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่ปลอดภัยทางใจและเรียนรู้ 5 ขั้นตอนในสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจ จากบทความของเรา)

ผู้นำและผู้บริหารสามารถช่วยให้ Well-being ของพนักงานดีขึ้นได้ด้วยการกำจัดพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน จากการศึกษาพบว่า พนักงานที่มี Well-being ดี พบเจอพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานน้อยกว่ากลุ่มที่มี Well-being ต่ำ BMC Public Health รายงานว่า ความเสี่ยงทางจิตใจในที่ทำงาน เช่น ความเครียด การมีทางเลือกในการตัดสินใจน้อย และการ Bully เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า

สนับสนุนให้พนักงานพัฒนา Soft skill โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร เน้นย้ำค่านิยมขององค์กร และเสริมสร้างความปลอดภัยทางใจช่วยคุณกำจัดพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน เครื่องมือเหล่านี้อาจต้องใช้เวลาในการสร้างและทำให้เกิดผลลัพธ์ แต่การมีตัวอย่างที่ดีในที่ทำงานก็จะช่วยให้องค์กรของคุณปราศจากพฤติกรรม Toxic และทำให้พนักงานมี Well-being ที่ดีต่อไป


เราช่วยคุณได้นะ

Happily.ai ช่วยให้ผู้นำสร้างบทสนทนาที่มีประสิทธิภาพกับพนักงาน เสริมสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงานด้วยการชื่นชมและขอบคุณกันระหว่างคนในทีม พร้อมทั้งเน้นย้ำค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ทำความรู้จักกับ Happily.ai หรือลงทะเบียนรับ Demo เพื่อเรียนรู้วิธีสร้างความปลอดภัยทางใจ หรือ Psycological Safety ในที่ทำงานของคุณ!

ข้อมูลอ้างอิง

[1]https://www.leadersedgeinc.com/blog/managing-toxicity-in-the-workplace#:~:text=In%20the%20end%2C%20toxicity%20in,their%20toxicity%20like%20negative%20sunshine.

[2]https://www.researchgate.net/publication/318196603_Toxic_Workplace_Environment_In_Search_for_the_Toxic_Behaviours_in_Organizations_with_a_Research_in_Healthcare_Sector

[3]https://www.researchgate.net/publication/242349375_Toxins_in_the_workplace_Affect_on_organizations_and_employees

[4]https://supportroom.com/2022/02/11/how-does-a-toxic-workplace-impact-employee-wellbeing/

[5]https://bmjopen.bmj.com/content/11/6/e044133

[6]https://www.forbes.com/sites/forbesbusinesscouncil/2021/08/23/14-ways-leaders-can-boost-empathy-in-the-workplace/?sh=1a766cb94731

[7]https://firstup.io/blog/communicating-company-core-values/#:~:text=As%20a%20definition%2C%20company%20core,the%20definition%20of%20company%20culture.