การสื่อสารภายในทีม ที่ดีนั้นต้องมากกว่าการ Chat คุยกัน หรือใช้ Zoom
การสื่อสารภายในทีม หรือ Team Communication นั้น ได้กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ในช่วงปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การระบาดครั้งใหญ่ของโรค Covid-19 ที่ทำให้เกิดภาวะที่ห่างกัน อย่างการทำ Social Distancing และ การ Work From Home ซึ่งทำให้ในแต่ละที่ทำงานนั้นต้องหาทางออกในด้านการสื่อสาร ด้วยการนำเอา Application และ อุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือในการสื่อสารกันภายในทีม เช่น แอพในการแชทต่างๆ
แต่ กระนั้นก็ตาม สมาชิกในทีมจำนวนมากก็ยังคงรู้สึกว่า เหนื่อย อ่อนแรง เหงา รู้สึกถูกตัดขาดจากเพื่อนร่วมงาน รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ทำงานให้กับองค์กรอีกต่อไป เหมือนในเพลง ขอนไม้กับเรือ ของ บ่าววี ศิลปินลูกทุ่งชื่อดังในยุค 2000 จากค่าย RSiam ที่มีเนื้อร้องว่า
“โดดเดี่ยวเดียวดายในท้องเล ลมพัดลมเพไปตามกระแส”
เพราะอะไร ถึงได้เกิดปรากฎการณ์เช่นนี้ขึ้น
นั่นก็เพราะการสื่อสารนั้น เพียงแค่การแชทกัน การตั้งห้องแชทกลุ่ม การเปิดกล้อง ใช่แล้ว มันสามารถสื่อสารหากันได้ แต่มันยังไม่เพียงพอนั่นเอง
การสื่อสารนั้น มากกว่าแค่การเปิดกล้อง และพูดคุย
โดยปกติ เมื่อพูดถึงการสื่อสาร เรามักจะนึกถึงเพียงแค่ การพูดคุยกัน การเขียนจดหมายหากัน ดังนั้นจึงคิดว่า แค่การมีแอปพลิเตชั่นที่เปิดกล้องได้ แชทได้ พูดคุยเหมือนโทรศัพท์ได้ นั่นก็เพียงพอแล้ว
แต่ความจริงมันไม่ใช่
เพราะ การ communication นั้น มันต้องมี human interaction ที่แสดงให้เห็นถึง เรายังสื่อสารหากันแบบมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีต่อกัน มิเช่นนั้น ในออฟฟิสเราคงจะได้แค่เห็นแค่การพูดคุย และทำงาน เราคงจะไม่เห็นการสานสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น เช่น หัวหน้าชื้อขนมมาให้ลูกน้อง บริษัทพาทีมที่เก่งไปงานเลี้ยงที่ร้านอาหารอร่อยๆ ลูกน้องชื้อของขวัญให้หัวหน้าในวันเกิด เป็นต้น
ถ้าคุณทำงานเป็น HR หรือเป็นหัวหน้าที่ดูแลเรื่องงบประมาณ ก็น่าจะเห็นได้แล้วว่า บริษัทมักจะต้องจัดงบประมาณ สวัสดิการของพนักงาน รวมไปถึงกิจกรรมที่สร้างความเป็นทีม ความเป็นสังคม ชุมชนเล็กๆภายในบริษัทอย่างมากมาย
นั่นก็เพราะบริษัทไม่ต้องการให้แค่พนักงานนั้นมาทำงาน แต่ให้มีความรู้สึกว่า ตัวพนักงานเองนั้น เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคนทำงานแห่งนี้ มีความรู้สึกที่ดี และไม่รู้สึกว่าอยากจะลาออกพร้อมกับนำพาเอาความสามารถที่มี และ "ความลับภายใน" บางอย่างออกไปสู่บริษัทคู่แข่งด้วย ซึ่งนั่นย่อมส่งผลเสียอย่างหนัก ทั้งในเชิง Productivity และด้านความสามารถในการแข่งขันอย่างแน่นอน
อุดช่องว่างในการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างไร?
ถึงแม้ในช่วงปัจจุบันนั้น การทำงานแบบ Work From Home จะลดลงไปเพราะบริษัทเริ่มให้พนักงานได้กลับเข้าออฟฟิส แต่ก็ไม่เป็นไปดั่งเดิมอีกแล้วกับวิถีการทำงานแบบเก่าๆ พนักงานหลายภาคส่วนเริ่มเคยชิน เริ่มเกิดเสียงแตก
ถึงแม้พนักงานหลายคนจะอยากกลับเข้าออฟฟิส เพราะจะได้รู้สึกว่าตัวเองได้ไปทำงานแบบมีสังคมอีกครั้ง แต่พนักงานอีกหลายคนก็ยังคงอยากจะทำงานกับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นด้วยความรู้สึกที่ว่า การทำงานกับบ้านสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างคล่องตัวและมีคุณภาพดีกว่า หรือการที่มีภารกิจส่วนตัวหลายๆอย่างที่จำเป็นต้องทำอยู่กับบ้าน
นำมาสู่การเกิดขึ้นของ Hybrid Team หรือการทำงานที่ครึ่งนึงเข้าออฟฟิส อีกครึ่งทำอยู่กับบ้าน แต่ก็นำมาสู่ปัญหาของการสื่อสารอีกว่า จะทำอย่างไรถึงจะสามารถเติมเต็มทั้งการสื่อสาร และการมีมนุษย์สัมพันธ์ต่อกัน ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคุณสามารถศึกษาได้จากบทความจากแผนก People Science ของเรา 5 เทคนิคพัฒนาการสื่อสารของการทำงานใน Virtual Teams