The Great Resignation ปรากฎการณ์ลาออกยกแผง ที่นายจ้างทุกคนต้องระวัง

ทุกวันนี้ เวลที่คุณได้นั่งลงจิบกาแฟเพื่ออ่านข่าวเรื่องธุรกิจ เศรษฐกิจ ยามเช้า คุณก็น่าจะเริ่มคุ้นเคยกับคำนี้ ถึงปรากฎการณ์ที่พนักงานนั้นลาออกยกแผง หรือที่เรียกว่า The Great Resignation ที่กำลังเป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก

แต่ ศัพท์คำนี้จริงๆหมายถึงอะไรกันแน่ และมันจะเกี่ยวข้องกับคุณที่อยู่ในไทยไหม วันนี้เราขอชวนคุณมาร่วมศึกษากับเรา

The Great Resignation คือ อะไร?

สำหรับคำนี้นั้น แปลตรงตัวได้ว่า การลาออกครั้งยิ่งใหญ่

ยิ่งใหญ่มากแค่ไหน? ในกรณีนี้นั้น ปรากฎการณ์นี้ยังมีอีกคำจำกัดความหนึ่งนั่นก็คือ Turnover Tsunami

เป็นการลาออกที่พนักงานตั้งแต่ในระดับปฏิบัติการ ไปจนถึง พนักงานระดับบริหารจัดการ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษแห่งกันลาออก ในระดับที่ ลาออกชุดเดียวเป็นจำนวนมาก และลากันทีหลายละลอกติดกัน จนถ้าคุณเป็นนายจ้าง คุณจะไม่สามารถหาคนเข้ามาทดแทนได้ทันกับจำนวนที่ลาออกไป

จะส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไร?

คุณลองจินตนาการถึง รถยนต์ที่น้ำมันหมดกลางถนนเปลี่ยว หรือ เครื่องบินที่น้ำมันหมดกลางอากาศ

เท่านี้คุณก็น่าจะสามารถนึกภาพออกถึงความร้ายแรงของสถานการณ์นี้

โดยในช่วงที่ปรากฎการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นนั้น สำนักข่าว BBC ได้รายงานถึงความยากลำบากของธุรกิจร้านค้าต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่เครือร้านอาหารชื่อดังต่างๆนั้น ต่างขาดแคลนคนงาน เนื่องจากหลังโควิดจบลง พนักงานมากกว่าครึ่งร้านก็ได้ทำการลาออกพร้อมกัน ซึ่งทำให้บางสาขานั้นจำเป็นต้องปิดตัวลงชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถหาพนักงานทดแทนได้

แม้แต่ในไทยเองก็เริ่มมีข่าวแนวเดียวกันแล้วเช่นเดียวกัน รวมไปถึงเสียงจากพนักงานจำนวนมากบน Social Media ต่างๆ ที่เริ่มแสดงอาการและเตรียมพร้อมที่จะลาออกเมื่อสถานการณ์ดีมากขึ้นยิ่งกว่านี้ ขณะเดียวกัน บริษัทต่างๆก็เริ่มทยอยเสียพนักงานระดับคีย์แมนก็แล้ว โดยที่หลายคนที่ลาออกไปนั้น ก็ได้ออกจากงานยังไม่มีงานใหม่เสียด้วยซ้ำ

สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้หลายบริษัท หรือร้านค้าที่อยากจะกอบโกยกับช่วงฟื้นตัวนั้นไม่สามารถทำได้ ทำให้เสียโอกาสอย่างหนัก จากการขาดกำลังคน

ถ้าเท่านั้นยังไม่เพียงพอ เมื่อ บุคลากรสำคัญนั้นได้โยกย้ายถ่ายโอนเข้าไปทำงานในบริษัทคู่แข่ง ที่สามารถนำเสนอถึงเงินและสวัสดิการที่ดีกว่า ทำให้บริษัทอาจต้องสูญเสียซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากพนักงานที่ออกไปก็ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่มี เข้าสู่ที่ทำงานใหม่ไปด้วย

นอกจากนั้นการที่พนักงานที่เป็น Team Player ที่สำคัญลาออก ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อกำลังใจของลูกน้องที่เหลือ จนพาไปสู่ Chain of Reaction เป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ที่จากคนหนึ่งลาออก กลายเป็นทั้งทีมลาออก จนงานที่ค้างอยู่ต้องหยุดชะงักไปเลย ยิ่งถ้าเป็นทีมที่สำคัญมาก ยิ่งทำให้ธุรกิจทั้งระบบติดขัดอย่างหนักเข้าไปอีก อีกทั้งกว่าบริษัทจะสามารถหาคนเข้ามาทดแทน และทำการฝึกฝนจนเข้ากับระบบได้นั้น ยิ่งเสียทั้งเวลาและงบประมาณหนักไปกว่าเดิม จนทำให้หมดโอกาสแข่งขันในจังหวะที่เหมาะสมได้เลย

ทราบปัญหาและความเสี่ยง พร้อมทำการแก้ไขด้วยการวัดค่า eNPS อย่างสม่ำเสมอ

ปัญหาเรื่องการลาออกนั้น ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้เสียทีเดียว

โดยคุณจะสามารถป้องกันและแก้ไขได้ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น ด้วยการทำการวัดค่า eNPS หรือ Employee Net Promoter Score อย่างต่อเนื่อง

โดยการวัดค่านี้นั้นจะช่วยทำให้คุณเห็นทั้ง ความพอใจในตัวงานของพนักงาน และความรู้สึกภักดีต่อองค์กร ว่าในช่วงเวลานั้นมากน้อยเพียงใด

ถ้าค่าที่วัดได้นั้นเคยสูง คงตัว แต่ต่อมาลงมาตกต่ำกันเป็นจำนวนมากแล้ว คุณก็จะทราบได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรของคุณ ทำให้คุณสามารถ Take action ได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการลาออกแบบพร้อมๆกัน และทำให้บริษัทของคุณรอดพ้น หรือบาดเจ็บน้อยที่สุดจากปรากฎการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน stage ถัดไป

คุณสามารถศึกษาถึงรายละเอียดของการวัดค่านี้ พร้อมตัวอย่างแบบสอบถาม และการนำเอามาใช้ในองค์กรได้อย่างถูกวิธีจากหนังสือของเรา โดยกรอกแบบสอบถามของเราเพื่อทำการดาวน์โหลดฟรีได้จากแบบฟอร์มด้านล่าง: