Employee Engagement คือ อะไรกันแน่? ทำไมหลายบริษัทถึงกำหนดว่าต้องทำ?

ในช่วงรอบ 4  - 5 ปีที่ผ่านมานี้ ในวงการ HR นั้นได้มีคำศัพท์หนึ่งที่เรียกได้ว่า เป็น Talk of the Town เป็นที่นิยมค้นหากัน รวมถึงบริษัทใหญ่ๆหลายที่ก็ได้มีบรรจุลงไว้ใน KPI ด้านพนักงานว่า เป็นสิ่งที่ต้องทำ นั้นก็คือ Employee Engagement ซึ่งเป็นคอนเสปต์ที่อยู่ในวงการ HR และด้านการบริหารจัดการในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา, ยุโรป, ออสเตรเลีย มาอย่างยาวนานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถหาคำจำกัดความเป็นภาษาไทยได้อย่างชัดเจนนัก โดยคำที่เป็นที่นิยมนั้นก็คือ ความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร, การมีส่วนร่วมของพนักงาน, และอื่นๆอีกหลากคำแปล ที่ยังคงหา consensus หรือ ข้อตกลงในคำนิยามไม่ได้ในปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจง่าย บทความของเราจะใช้คำว่า Employee Engagement ที่อ่านแล้วก็จะสามารถเข้าใจตรงกันได้เป็นหลัก

Employee Engagement คืออะไร?

อันที่จริงคอนเสปต์ของ Employee Engagement นั้น เป็นอะไรที่ค่อนข้างเรียบง่าย ถึงมีจะมีองค์ประกอบอย่างอื่นที่มากมายและซับซ้อนในการจะบรรลุถึงคอนเสปต์นี้ แต่ก็เป็นคอนเสปต์ที่สำคัญในการบริหารจัดการพนักงาน ที่ไม่เพียงแค่จะจำกัดอยู่แค่กับกลุ่มที่ทำงานด้าน HR เท่านั้น แต่รวมไปถึง ทุกคนที่ทำงานในด้านการจัดการ หรือการบริหาร ที่ต้องดูแลคนและทีมงาน

เพราะการมี Employee Engagement นั้น จะทำให้ พนักงาน ลูกทีม ทีมงาน นั้นมีความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือกับองค์กร กับธุรกิจ กิจการ ที่คุณทำอยู่ในทุกๆด้าน ซึ่งจะส่งผลดีในหลายด้าน ทั้งด้านการดำเนินนโยบาย ที่มั่นใจได้ว่าพนักงานทุกคนจะนำไปปฏิบัติให้ก่อเกิดผลจริง หรือแม้แต่ในสภาวะวิกฤติ องค์กรที่มีการวัดค่า Employee Engagement ที่สูงนั้น จะมี % การลาออกที่ต่ำกว่าที่อื่นอย่างมีนัยยะ และผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่า โอกาสการเสีย คีย์แมน ที่เป็นบุคคลสำคัญในการพลิกฟื้นองค์กรไปให้กับคู่แข่ง จะน้อยลงไปอย่างแน่นอน
(ศึกษาเพิ่มเติมว่า Employee Engagement นั้นเกี่ยวข้องกับการลาออกของพนักงานอย่างไร )

💡
Happily ช่วยบริษัทประกันภัยระดับโลกในการสร้างวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback และวัฒนธรรมการชื่นชมและขอบคุณกันหรือ Recognitionในองค์กรที่มีอัตราการเข้าร่วมถึง 92% ได้อย่างไร!

ทีม HR บริษัทประกันภัยระดับโลกกำลังมองหาวิธีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและเพิ่ม Employee Engagement โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการกับพนักงานในบางหน่วยธุรกิจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายคือริเริ่มการเข้าร่วมและทำกิจกรรมสำหรับพนักงานที่เมื่อก่อนพนักงานไม่เข้าร่วมและให้ความร่วมมือในกิจกรรม

หลังจากใช้งาน Happily เป็นระยะเวลา 6 เดือน ได้ผลลัพธ์ดังนี้
a) ความสุขของพนักงานในภาพรวมของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 22% หลังการใช้งานไป 6 เดือน
b) คะแนนความสำเร็จในด้าน Wellness หรือความผ่อนคลายในการทำงานเพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 63% ส่งผลให้อัตราการขาดงานลดลง 18%!
c) พนักงานถึง 94% เพิ่มการพูดคุยกับผู้จัดการหรือหัวหน้างานตนเองผ่านแอปพลิเคชัน
d) คะแนนความสำเร็จในด้าน Recognition เพิ่มขึ้นจาก 35% เป็น 78% โดยมีอัตราของผู้เข้าร่วม Peer-to-Peer Recogniton สูงถึง 92% และผู้จัดการถึง 80% ได้ชื่นชมและขอบคุณทีมทำงาน

เริ่มต้นสร้าง Employee Engagement ในบริษัทอย่างไร?

การสร้าง Employee Engagement นั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะเหมือนว่าเป็นอะไรง่ายๆ ก็แค่ทำให้พนักงานมีความประทับใจและรักในองค์กร ซึ่งหลายบริษัทก็ได้ลองพยายามทำอะไรที่ดูเหมือนว่าจะให้พนักงานนั้นชอบองค์กรมากขึ้น เช่น จัดทริปท่องเที่ยว หรือ เลี้ยงข้าวฟรี

แต่การไม่รู้ว่าพนักงานนั้นมีความคิดเห็นอย่างไร? ชอบอะไร? อยากได้อะไร? อารมณ์ตอนนี้เป็นยังไง?

นั้นถือว่า เป็นการกลัดกระดุมผิดเม็ดตั้งแต่เริ่ม เพราะสิ่งที่คุณพยายามทำให้นั้น ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาอยากได้จริง ๆ

แล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

ไม่ต้องแปลกใจว่า คุณจะได้ยินข่าวทำนองนี้บ่อย ๆ ที่ว่า พนักงานเมื่อวานยังกินข้าวยิ้มแย้ม บอกว่า Happy แต่อีกวันก็มาลาออกแล้ว

หรือบางคนนิ่งๆเงียบๆ ทำงานเรื่อยๆ ก็มาออกไปอย่างกระทันหันเสียอีก พร้อมพาเพื่อนร่วมทีมออกไปอย่างมากมายจนงานชะงัก ทั้ง ๆ ที่เราก็คิดว่าตัวเราดูแลเขาดีแล้ว

ดังนั้น ทางแรกสุดที่ควรต้องทำคือ คุณจะต้องมี การวัดค่าอย่างจับต้องได้ เสียก่อนว่า จริงๆแล้วพวกเขาคิดอย่างไรกันแน่ รวมไปถึงการวัดว่า ตอนนี้พวกเขานั้น มีความรู้สึกผูกพัน หรือ อิน กับการทำงานของเขาในบริษัทแห่งนี้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้มีการวางแผนขั้นต่อไปที่ถูกวิธี เนื่องมาจาก “คุณไม่สามารถอ่านใจพวกเขาได้”

เราขอแนะนำให้คุณศึกษาวิธีการวัดผลโดยใช้ระบบ Survey จากหนังสือของเรา โดยหนังสือเล่มนี้นั้น ทางเราแจกฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพียงกรอกข้อมูลที่แบบฟอร์มด้านล่างเพื่อทำการดาวน์โหลด: