MyCulture คืออะไร? - แนะนำขั้นตอนการใช้เครื่องมือประเมินวัฒนธรรมองค์กร

MyCulture คืออะไร?

MyCulture คือเครื่องมือหนึ่งในการประเมินวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างโดย Happily.ai แพลตฟอร์มสร้างเสริมประสบการณ์พนักงานในองค์กรที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้วิทยาศาสตร์บุคคล และการวิเคราะห์ข้อมูล โดย Happily เปิดตัว MyCulture เพื่อให้องค์กรมีเครื่องมือในการประเมินทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม และค่านิยมองค์กรของตนเอง

ในบทความนี้จะเราแนะนำขั้นตอนการใช้งาน MyCulture อย่างละเอียด

คุณจะใช้งาน MyCulture อย่างไร?

หลังจากสร้างบัญชี และลงชื่อเข้าใช้งานกับ MyCulture แล้ว คุณจะสามารถสร้างแบบประเมินได้เลย โดยมี 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1: สร้างและตั้งชื่อแบบประเมิน

ขั้นตอนที่ 1 ตั้งชื่อแบบประเมิน และเลือกว่าสร้างแบบประเมินนี้สำหรับใคร

คุณต้องการใช้ MyCulture เพื่อประเมินพนักงานใหม่ เพื่อดูความเข้ากันได้ทางวัฒนธรรม (Culture Fit) หรือเปล่า?

หรือคุณต้องการใช้ MyCulture เพื่อประเมินความเข้ากันกับวัฒนธรรมองค์กรของสมาชิกในทีมปัจจุบันของคุณ?

หรือคุณต้องการใช้ประเมินผู้สมัครงานที่มีแนวโน้มจะเข้ามาร่วมงานที่คุณเลือกแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าพวกเขาเหมาะกับวัฒนธรรม และหลักปฏิบัติขององค์กรที่มีหรือไม่? ตัวอย่างเช่น บริษัท B2B ขนาดกลางต้องการใช้ MyCulture เพื่อประเมิน Culture Fit สำหรับการว่าจ้างผู้สมัครงาน

ขั้นตอนที่ 2 เลือกหมวดที่คุณต้องการทดสอบ

คุณต้องการประเมิน Culture Fit ในด้านใดบ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจในการจ้างงาน? MyCulture มีหมวดหมู่ให้คุณได้เลือกประเมินในหลายด้าน ประกอบไปด้วย

  1. ค่านิยมและลักษณะนิสัย - หมวดนี้จะวิเคราะห์การคาบเกี่ยวกันระหว่าง ค่านิยม และลักษณะนิสัยเด่นของผู้สมัครกับสิ่งที่บริษัทมองเห็นว่าสำคัญ

    ค่านิยมและลักษณะนิสัยที่กล่าวถึงกันทั่วไป ได้แก่ ความเคารพซึ่งกันและกัน (Respect), ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility), การทำงานหนัก (Hard-working), ความเห็นอกเห็นใจ (Empathetic), ความพยายามอุตสาหะ (Perseverance) และอื่น ๆ ถ้าค่านิยมและลักษณะนิสัยของผู้สมัครสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับค่านิยมของบริษัท จะทำให้ HR และผู้จัดการที่ทำการว่าจ้างมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นว่าผู้สมัครคนนี้จะได้รับการว่าจ้าง และช่วยลดความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลาออกของพนักงานในอนาคต
  2. รูปแบบวัฒนธรรมองค์กร - หมวดนี้เราใช้กรอบการแข่งขันทางค่านิยมจากเครื่องมือวัดวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture Assessment Instrument - OCAI) เพื่อวิเคราะห์การเข้ากันระหว่างรูปแบบองค์กรในอุดมคติของผู้สมัคร และรูปแบบที่องค์กรเป็นอยู่ โดยมีต้นแบบ 4 แบบด้วยกันคือรูปแบบที่เน้น การร่วมมือ (Collaborate), การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Create), การแข่งขัน (Compete) และการควบคุม (Control) โดยเราจะทำการประเมินใน 6 มิติด้านการทำงาน
  3. พฤติกรรมที่ยอมรับได้ - หมวดนี้เราจะทดสอบและวิเคราะห์สิ่งที่ผู้สมัครรู้สึกว่าเป็น “พฤติกรรมที่ยอมรับได้” ในสถานที่ทำงาน ตัวอย่างเช่น  ผู้สมัครรู้สึกอย่างไรกับ “การเข้าประชุมสายบ่อย ๆ ” หรือ “การส่งงานช้าโดยที่ไม่ได้มีการสื่อสารหรือการบอกล่วงหน้า” พฤติกรรมนี้ ยอมรับได้, ไม่พอใจ, ไม่สนับสนุน, ควรมีการตำหนิลงโทษ หรือ ยอมรับไม่ได้อย่างเด็ดขาด?

    มาดูว่าระหว่างองค์กรของคุณและผู้สมัคร ยังมีช่องว่างอะไรบ้างในแง่ของพฤติกรรมไหนที่ยอมรับได้ และไม่ได้ เพื่อหาหนทางในการขจัดพฤติกรรมที่จะเป็นพิษกับองค์กรตั้งแต่เริ่มต้น เพราะ คุณคงไม่ต้องการได้ยินผู้สมัครพูดว่า “อืม ก็ฉันทำได้ในงานที่เก่าของฉัน” หรือ “หัวหน้าเก่าไม่สนใจเรื่องนี้หรอก”
  4. ค้นหาสไตล์การทำงาน - หมวดนี้จะช่วยให้องค์กรระบุสไตล์การทำงานของผู้สมัครจากการใช้กรอบแนวคิด 3P: People - ผู้คน, Product - ผลลัพธ์, หรือ Process - ขั้นตอน ซึ่งการทำความเข้าใจกับสไตล์การทำงานของแต่ละคน นั้น จะทำให้เราเข้าใจแนวโน้มในการทำงาน และสามารถสร้างความหลากหลายภายในทีมได้ และนี่คือความแตกต่างของทั้ง 3P:
  • Product - ผลลัพธ์: ผู้สมัครเป็นนักปฏิบัติและบริหารหรือไม่?  พวกเขาขับเคลื่อนด้วยการสร้างผลลัพธ์หรือไม่?
  • Process - ขั้นตอน: ผู้สมัครเป็นนักคิด เรียนรู้ และวางแผนหรือไม่? จุดแข็งของพวกเขาคือการคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน และเน้นย้ำรายละเอียดใช่หรือไม่?
  • People - ผู้คน: ผู้สมัครเป็นนักสร้างความสัมพันธ์หรือไม่? พวกเขาเข้าใจผู้คนและรู้ว่าจะดึงส่วนที่ดีที่สุดจากคนอื่น ๆ มาได้อย่างไรใช่หรือไม่?


โดยเราจะแบ่งสไตล์การทำงานในแต่ละด้านของผู้สมัครออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์: เพื่อบอกว่าผู้สมัครมีสไตล์การทำงานเป็น Product, People, หรือ Process มากน้อยเพียงใด

ขั้นตอนที่ 2: เลือกหมวดลงในแบบสอบถาม

ขั้นตอนที่ 3: กำหนดวัฒนธรรมการทำงานของคุณ

เมื่อคุณเลือกหมวดที่ต้องการในแบบทดสอบได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องตั้งค่า กำหนดค่านิยมองค์กร ลักษณะนิสัย รูปแบบวัฒนธรรม และพฤติกรรมที่ยอมรับได้

นี่คือตัวอย่างว่า MyCulture จะช่วยให้คุณกำหนดค่านิยมองค์กร และรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร กรอกรายละเอียดในส่วนนี้เพื่อแสดงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรคุณ

ขั้นตอนที่ 3: กำหนดค่านิยมองค์กรและลักษณะนิสัย
ขั้นตอนที่ 3: กำหนดรูปแบบวัฒนธรรมองค์กร

ขั้นตอนที่ 4: ตรวจสอบและเผยแพร่

เมื่อคุณได้สร้างแบบประเมินวัฒนธรรมที่ปรับให้เหมาะกับองค์กรของคุณสำเร็จแล้ว คุณสามารถส่งแบบประเมินนี้ไปยังพนักงานใหม่ ผู้สมัครที่มีแนวโน้มจะเข้ามาร่วมงาน หรือแม้แต่สมาชิกภายในทีมของคุณได้เลย

ขั้นตอนที่ 4: ตรวจสอบและเผยแพร่แบบประเมิน

คุณสามารถส่งคำเชิญไปยังผู้สมัครเพื่อให้พวกเขาทำแบบประเมินที่คุณเพิ่งสร้างขึ้นมาได้เลยในตอนนี้

นี่คือตัวอย่างของผู้สมัครที่ทำแบบประเมินเสร็จ และคุณจะสามารถประเมินความเหมาะสมได้อย่างไร โดย MyCulture จะแสดงตัวเลขจากคะแนนเต็ม 100% เพื่อทำให้สามารถวัดค่าได้ และง่ายต่อการประเมิน Culture Fit

ตัวอย่างรายงานแบบประเมิน Culture Fit

จากตัวอย่างข้างต้น ผู้สมัครมีความเหมาะสม กับค่านิยมองค์กรและลักษณะนิสัยที่องค์กรมองหาถึง 87%เข้ากันได้กับรูปแบบวัฒนธรรมองค์กร 73%   และมีความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมที่ยอมรับได้ 67% ในกรณีนี้ผู้จัดการที่ทำการว่าจ้างหรือ HR อาจจะใช้โอกาสนี้เพื่อพูดคุยถึงบรรทัดฐานทางพฤติกรรมที่ยอมรับได้ภายในองค์กรก่อนการจ้างงานผู้สมัคร เพื่อทำให้แน่ใจอีกครั้งว่าผู้สมัครจะเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมเหล่านั้นได้นอกจากนี้ รูปแบบวัฒนธรรมสามารถนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ได้อีกด้วย

  1. ผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับรูปแบบความเป็นผู้นำที่องค์กรอย่างไร?
  2. ผู้สมัครมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการบริหารจัดการอย่างไร?
  3. อะไรคือความคาบเกี่ยวกันระหว่างสิ่งที่ผู้สมัครต้องการให้องค์กรเน้นย้ำกับกลยุทธ์ที่องค์กรเน้นย้ำ?

ปัจจัยเหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความเกี่ยวข้องและมีคุณค่าอย่างมากสำหรับผู้จัดการที่ทำการว่าจ้างหรือสำหรับองค์กรที่ต้องการ

  1. ลดอัตราการลาออกของพนักงาน
  2. เพิ่มความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน
  4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงและมีความร่วมไม้ร่วมมือกัน
ตัวอย่างรูปแบบวัฒนธรรมในรายงานแบบประเมิน