สิ่งที่เราเรียนรู้จากความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

จากการศึกษาข้อมูล เราพบว่าองค์กรที่มีการสอบถามความเป็นไปกับพนักงานแบบรายวันและให้ feedback กับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ (จากการใช้ Happily.ai) พนักงานเหล่านี้จะมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีในช่วงระหว่างวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าพนักงานส่วนใหญ่จะมีปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากงานก็ตาม

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

“ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง คือการที่รู้ว่าคุณเท่านั้น ที่มีพลังและความรับผิดชอบมากพอจะฉุดตัวคุณเองให้ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง” — Mary Halloway

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงคืออะไร

วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญกับชีวิตและสภาพแวดล้อมของเรา ซึ่งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแสดงบทบาทที่สำคัญอย่างมากที่จะช่วยเราให้ก้าวข้ามผ่านความยากลำบากนี้ไปได้

ทักษะหรือความสามารถดังกล่าวนี้ คือความสามารถในการ “ลุกขึ้นยืน” อีกครั้งหลังจากผ่านพบความผิดหวังและความล้มเหลว และเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราฟื้นตัวจากปัญหาได้ [1] ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแห่งสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ระบุว่า ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงคือกระบวนการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อความยากลำบาก ความเศร้าหมอง การสูญเสีย ช่วงเวลาแห่งความอันตรายหรือความเครียดที่รุมล้อม [2]

เพราะเหตุใด ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร

เว็บไซต์หางานสัญชาติอังกฤษ (UK Job Board) เปิดเผยว่า ผู้ว่าจ้างงานกว่า 57 เปอร์เซ็นต์ มองว่าความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นทักษะที่สำคัญของผู้สมัคร

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้จะก่อให้เกิดแนวทางการทำงาน และมุมมองต่อชีวิตที่ดี นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และเเรงผลักดันในการทำงานที่เต็มเปี่ยม [3] พนักงานที่มีความสามารถนี้จะมีแรงผลักดันในการทำงานสูงกว่า พร้อมเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะหมดไฟในการทำงานน้อยกว่า และโดยรวมแล้ว มีสุขภาพที่ดีกว่าอีกด้วย ซึ่งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในองค์กร

Tugade และ Fredrickson เสนอข้อค้นพบในปี 2004 ว่า “กระบวนการทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับต่อการเปลี่ยนแปลงจะแสดงจากภายในออกมาทางร่างกายเช่นเดียวกัน” [4] Joshua Miles ซึ่งเป็นนักบำบัดโรคกล่าวว่า ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการลางานเนื่องจากอาการป่วย (การขาดงานเป็นประจำ) ที่น้อยลง ซึ่งรวมถึงอัตราการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงที่น้อยลงเช่นกัน ทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด อีกทั้งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยังส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตที่น้อยลง และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วย

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมีข้อดีมากมายต่อองค์กร ดังแสดงในแผนภาพด้านล่างนี้ [3], [4]

การศึกษาข้อมูลและผลลัพธ์

เราเก็บ feedback ของพนักงานที่ทำแบบสำรวจความสุขรายวัน Happily.ai จากพนักงานกว่า 1,500 คนจาก 10 บริษัท เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์กรในช่วงระหว่างวิกฤติการณ์โควิด-19 และเราใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยคำถามดังต่อไปนี้

คำถามที่ 1: คุณกลับสู่สภาวะปกติได้ไว แม้ล้มเหลวหรือเจอกับปัญหา ?

คำถามที่ 2: คนอื่นๆ ทำให้คุณหงุดหงิดรำคาญได้ง่าย (เพื่อนร่วมงาน/ลูกค้า) ?

คำถามที่ 3: คุณมักขอความช่วยเหลือ เมื่อต้องต่อสู้กับปัญหาอย่างยากลำบาก?

คำถามที่ 4: ในเวลาว่างหรือเวลาพักผ่อน คุณสามารถตัดเรื่องงานออกไปได้ (อีเมล โทรศัพท์ อื่นๆ) ?

คำถามที่ 5: เมื่องานมีปัญหา คุณมักรู้สึกกังวลจนนอนไม่หลับ ?

คำถามที่ 6: คุณมีเพื่อนหรือกลุ่มคน ที่สามารถคุยปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและเรื่องต่างๆ ที่ทำงานได้ ?

ผลลัพธ์จากชุดคำถามเชิงสำรวจตัวเองได้แสดงในรูปกราฟด้านล่างนี้

เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบใช่ และไม่ใช่ในคำถาม 6 ข้อนี้

ผลลัพธ์ดังกล่าวมีความน่าสนใจดังต่อไปนี้:

  • พนักงานส่วนใหญ่ (61%) มีความรู้สึกกังวลเรื่องงานจนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • พนักงาน 1 ใน 4 คน (25%) รู้สึกหงุดหงิดรำคาญผู้อื่นได้ง่าย (ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า)
  • พนักงาน 1 ใน 5 คน (20%) ไม่ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อตัวเองประสบกับปัญหา
  • พนักงานส่วนใหญ่ (68%) สามารถแยกเรื่องงานออกจากเวลาส่วนตัวได้ (เช่น การไม่ตอบอีเมล รับโทรศัพท์และอื่นๆ ในเวลาพักผ่อนส่วนตัว)
  • พนักงานโดยรวมมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่ของพนักงาน (93%) สามารถกลับมาตั้งหลักใหม่ได้ไวแม้ล้มเหลวหรือเจอกับปัญหา และ (95%) มีเพื่อนหรือกลุ่มคนที่พวกเขาสามารถปรึกษาหรือระบายเกี่ยวกับปัญหาและเรื่องต่างๆ ในที่ทำงานได้

สร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานได้อย่างไร

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด หากแต่เป็นความสามารถที่มาจากการฝึกฝน, การมีทัศนคติแห่งการเติบโต, และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยองค์กรควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อเสริมสร้างความสามารถดังกล่าว

  1. ชี้แจงเป้าหมายและแนวทางการทำงานให้ชัดเจน: ผู้นำควรตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และสื่อสารเป้าหมายดังกล่าวให้ทีมรับรู้และเข้าใจ เพราะแนวทางและการคำนึงถึงเป้าหมายจะช่วยสร้างทิศทางที่ทำให้พนักงานสามารถเอาชนะอุปสรรค และพยุงตัวเองออกมาจากความล้มเหลวได้
  2. สื่อสารและรับฟังให้บ่อยครั้ง: การคอยถามไถ่ความเป็นไป รวมถึงการประชุมตัวต่อตัวถือเป็นหนทางการรักษาแนวทางการทำงานและการแก้ไขปัญหาเชิงรุกที่ดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างกรอบการให้ feedback ภายในองค์กรของคุณอีกด้วย การมีปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอจะเป็นตัวกระตุ้นไอเดียใหม่ๆ และการนำไอเดียนั้นๆ ไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ (ไอเดียที่รวมเข้ากับการปฏิบัติ จะได้นวัตกรรมเป็นผลลัพธ์)
  3. สร้างพื้นที่การทำงานที่ยืดหยุ่นภายในองค์กร: สภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่นช่วยให้พนักงานมีการปรับเปลี่ยนและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามที่พวกเขาตั้งใจไว้ เพราะรูปแบบการทำงานในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบการทำงานที่องค์กรวางไว้จะต้องเป็นตัวช่วยไม่ใช่อุปสรรคการทำงานของพนักงาน และการไม่ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจะยิ่งส่งผลให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น
  4. ให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับงานที่ทำ: ความรู้สึกของความเป็นส่วนหนึ่งส่งผลต่อความตั้งใจและแรงผลักดันในการลงมือทำของพนักงาน อีกทั้งยังช่วยให้พนักงานรู้สึกมีความแน่วแน่และมีความเป็นส่วนหนึ่งกับบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่
  5. ลบอุปสรรคในความร่วมมือ: ระบบแบบเดิมๆ (Legacy systems) ได้รับการออกแบบมาเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน แต่ก็แลกมาด้วยระยะเวลาที่นานขึ้นและโอกาสปรับตัวที่น้อยลง อีกทั้งยังกำจัดการริเริ่มทดลองและการประยุกต์ใช้สิ่งใหม่ๆ ในการทำงานอีกด้วย ซึ่งนี่เองที่เป็นอุปสรรคในความร่วมมือ
  6. ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน: พนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องพร้อมเผชิญหน้ากับความรับผิดชอบที่ท้าทายตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องมีการปรับเปลี่ยนและยอมรับในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งความพร้อมในส่วนนี้จะลดน้อยลง หากพวกเขาตกอยู่ในสภาวะความเครียด หรือสุมด้วยภาระงานที่หนักอึ้ง สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย คำนึงถึงคุณค่าของตนเอง และทุ่มเทต่อองค์กรมากขึ้น

บทสรุป

รายงานเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของ Qualtrics [6] ระบุว่า พนักงานกว่า 74 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกประเมินค่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตนเองไปในทางบวก และจากศึกษาในบทความนี้พบว่าองค์กรที่ใช้ Happily.ai มีพนักงานกว่า 93–95 เปอร์เซ็นต์ที่มีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ดี

ท่ามกลางวิกฤติการณ์และก้าวย่างสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ความต่อเนื่องทางธุรกิจและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นองค์กรจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและลุกขึ้นยืนอีกครั้งท่ามกลางปัญหาที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ พนักงานในองค์กรจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี รวมถึงการมีแนวทางความเป็นผู้นำและแนวทางปฏิบัติที่รัดกุมจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ

Happily.ai คือแพลตฟอร์มเพื่อประสบการณ์อันครบครันของพนักงาน เราพร้อมช่วยให้องค์กรของคุณเต็มไปด้วยพนักงานที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ หลายองค์กรใช้ Happily.ai เพื่อเป็นเครื่องมือสอบถามความเป็นไปของพนักงานแบบรายวัน, สร้างเสริมบทสนทนาที่ดี, และพัฒนาบุคลากรผู้จัดการ อีกทั้งเรามีข้อมูลเรียลไทม์เชิงลึกที่จะช่วยให้คุณเข้าใจทีมและพนักงานของคุณมากยิ่งขึ้น ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของเรา หรือทดลองใช้งานฟรีได้ที่นี่

เอกสารอ้างอิง:

[1] https://positivepsychology.com/what-is-resilience/

[2] https://www.onrec.com/news/statistics-and-trends/employers-favour-workers-that-are-adaptable-resilient-and-willing-to

[3] https://www.highspeedtraining.co.uk/hub/resilience-in-the-workplace/

[4] https://positivepsychology.com/resilience-in-the-workplace/

[5] https://www.bluebeyondconsulting.com/2020/08/6-ways-to-build-a-resilient-company-culture/

[6] https://www.qualtrics.com/ebooks-guides/ex-workforce-resilience-study/

[7] Girl photo created by pressfoto - www.freepik.com