ความสุขกับ Productivity: เมื่อพนักงานมีความสุข บริษัทก็เติบโต
“ความสุขทำให้เกิด Productivity”
- ชอว์น เอคอร์
งานวิจัยล่าสุดพบว่า Well-being และความสุขมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คนที่มีความสุขที่สุดจะทำงานได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุขถึง 4 เท่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นอีกว่า ประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มที่มี Well-being ระดับปานกลางเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มี Well-being ระดับต่ำ นอกจากนี้ประสิทธิภาพการทำงานยังมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) อีกด้วย ดังนั้นองค์กรจะได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อ Well-being ของพนักงานและความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำเป็นปานกลาง
ความสุขและ Well-being ของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งพนักงานมีความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาก็ยิ่งดีขึ้น นั่นคือ พนักงานและองค์กรได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
รายงาน World Happiness Report 2021 บอกว่า ช่วงก่อนเหตุการณ์โรคระบาด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของพนักงานอย่างมากคือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร ความยืดหยุ่นในการทำงาน การไม่กีดกันแบ่งแยก และเป้าหมายในการทำงาน แต่เพราะโควิด-19 สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้หัวหน้างานที่สนับสนุนและเอาใจใส่พนักงาน (Supportive Manager) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน
ณ ช่วงเวลานี้ ผู้นำและหัวหน้างานจึงมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อ Well-being และความสุขในที่ทำงานมากกว่าที่เคยเป็นมา
ผู้นำองค์กรสามารถทำอะไรกับความสุขในที่ทำงานได้บ้าง?
ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้ผู้นำสรรหา ส่งเสริม และพัฒนาความสุขของพนักงานในที่ทำงานของคุณ และกระตุ้นให้ผู้นำทำ 3 เรื่องดังต่อไปนี้
1. ประเมินความสุขของพนักงานและผู้สมัครงาน
ควรใช้มาตรวัดความสุขและการมองโลกในแง่ดีเป็นคุณสมบัติ หรือ “จุดชี้ขาด” ในกระบวนการสรรหาพนักงาน เนื่องจากการประเมินความสุขมีความเสี่ยงต่ำ แต่ให้ผลลัพธ์กลับมาอย่างมีนัยสำคัญ
กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบความสุขและ Well-being ของพนักงานคือ แบบสำรวจความสุข (Pulse Surveys) แบบสำรวจความสุขคือแบบสำรวจสั้น ๆ ที่ส่งออกไปเพื่อรวบรวม Feedback จากพนักงานในหัวข้อที่เกี่ยวกับการทำงาน ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ผู้นำและหัวหน้างานสามารถบริหารจัดการบุคลากรเชิงรุก เพื่อพัฒนาความสุขและ Well-being ของพนักงาน
2. พัฒนาความสุขในที่ทำงาน
“การเทรนนิ่งที่โฟกัสเรื่อง Well-being ของพนักงานและไม่จำเป็นต้องลงทุนเวลามากนักนั้น มีความคุ้มค่าและให้ผลตอบแทนสูง” เลสเตอร์ นักวิจัยด้านภาวะผู้นำและสุขภาพจิตกล่าว
เลสเตอร์แนะนำกิจกรรมที่ทำตามได้ง่าย ๆ 3 อย่าง (The Gratitude Visit, Three Good Things และ Using Signature Strengths in a New Way) ที่ช่วยให้พนักงานเรียนรู้การแสดงความขอบคุณและชื่นชมความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน กิจกรรมเหล่านี้ไม่มีต้นทุนอะไร และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกฝ่ายและทุกระดับในองค์กร และไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ทำได้เช่นกัน
เทรนนิ่งโปรแกรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมพนักงานสำหรับโอกาสการเติบโตในองค์กรก็เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เมื่อพนักงานมองไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ พวกเขาก็รู้สึกเครียดและท้อแท้ จากสถิติ ชี้ว่า 73% ของพนักงานจะไม่ลาออก หากพวกเขามีโอกาสได้พัฒนาทักษะและความสามารถ การมอบโอกาสพัฒนาทักษะแก่พนักงานช่วยรักษาความสุขและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และยังเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการรักษาพนักงานอีกด้วย
3. รักษาพนักงานที่มีความสุข
“องค์กรควรรักษาพนักงานที่มีความสุขเพราะพวกเขาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และองค์กรต้องการพนักงานที่มีความสุข เพราะความสุขแพร่กระจายและส่งต่อถึงกันได้” เซลิกแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาเชิงบวกและผู้เขียนหนังสือ Flourish กล่าว
นอกจากความก้าวหน้าในอาชีพแล้ว การสร้างวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback ก็เป็นกลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่สำคัญ องค์กรที่มีวัฒนธรรมเช่นนี้ช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะแชร์ความคิดเห็นและมุมมองของตนเอง และยังทำให้พวกเขารู้สึกว่า องค์กรให้คุณค่าและเคารพต่อความคิดเห็นของพวกเขา เมื่อไอเดียของพนักงานส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทและเป็นไปในแนวทางเดียวกับองค์กร พวกเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
สรุป
ท้ายที่สุดแล้ว หากพนักงานทำงานอย่างมีความสุข องค์กรก็จะประสบความสำเร็จ เมื่อพนักงานมีความขวัญกำลังใจที่ดี ความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือก็เกิดขึ้น พวกเขาจะผูกพันกับงานและทำให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและบริการ ยิ่งไปกว่านั้น หากเพิ่มระดับความสุขและ Well-being จากระดับต่ำเป็นปานกลางได้ จะยิ่งส่งผลดีต่อพนักงานและองค์กร องค์กรจึงควรตรวจวัดและพัฒนาความสุขของพนักงาน รวมทั้งรักษาพนักงานที่มีความสุขไว้ในองค์กร ด้วยการทำแบบสำรวจความสุข ส่งเสริมวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback และสร้างโปรแกรมเทรนนิ่งพัฒนาทักษะและความสามารถแก่พนักงาน เมื่อพนักงานมีความสุขกับการทำงาน Productivity ก็จะพุ่งสูงขึ้น
Happily.ai ช่วยคุณพัฒนาความสุขและ Well-being ของพนักงานได้
Happily.ai ช่วยองค์กรเสริมสร้างความสุขและ Well-being ของพนักงานด้วยข้อมูลแบบ Real-time และ Nudge ที่ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมอย่างถูกที่ถูกเวลา มีแบบสำรวจความสุขส่งแก่ทีมของคุณทุกวันและช่วยให้คุณมองเห็นพนักงานที่มีความเครียดสูงได้ ไม่มีทางลัดใดในการสร้างที่ทำงานที่มีความสุขและสุขภาพดี แต่เราช่วยคุณประกอบชิ้นส่วนสำคัญเข้าด้วยกัน (ภายในไม่กี่วัน ไม่ใช่หลักเดือน!) เราขอเชิญคุณเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดีในที่ทำงานของคุณ ทำให้ความสุขและ Well-being ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญได้ตั้งแต่วันนี้!
ข้อมูลอ้างอิง:
[1] Helliwell, John F., Richard Layard, Jeffrey Sachs, and Jan-Emmanuel De Neve, eds. 2021. World Happiness Report 2021. New York: Sustainable Development Solutions Network.
[2] Lester, P.B., Stewart, E.P., Vie, L.L. et al. Happy Soldiers are Highest Performers. J Happiness Stud 23, 1099–1120 (2022). https://doi.org/10.1007/s10902-021-00441-x
[3] https://sloanreview.mit.edu/article/top-performers-have-a-superpower-happiness/