สุดยอดคู่มือวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร
ค่านิยมเป็นรากฐานของวัฒนธรรมองค์กรและหล่อหลอมพฤติกรรมและการตัดสินใจของพนักงาน ในฐานะผู้นำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดและสื่อสารค่านิยมหลักขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับทีมและขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ
ในบทความ Harvard Business Review เรื่อง "Make Your Values Mean Something" หรือ “จงทำให้ค่านิยมองค์กรมีความหมาย” ผู้เขียน Patrick M. Lencioni ให้เหตุผลว่ามีหลายบริษัทมากเกินไปที่ตกหลุมพรางของการสร้างค่านิยมหลักขององค์กรที่คลุมเครือและไม่มีความหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงหลุมพรางนี้ ผู้นำต้องใช้แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการออกแบบค่านิยมองค์กรที่มีความเชื่อมโยง สร้างแรงบันดาลใจ และนำไปปฏิบัติได้จริง
วัฒนธรรมองค์กรคืออะไร
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรม และการปฏิบัติที่มีร่วมกันซึ่งเป็นลักษณะบุคลิกขององค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร วิธีที่พนักงานมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน และที่มีต่อลูกค้า และวิธีที่องค์กรจัดการพันธกิจและกลยุทธ์ของตนเอง วัฒนธรรมองค์กรมักถูกอธิบายว่าเป็น "บุคลิกภาพ" ขององค์กร ซึ่งสะท้อนถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวและค่านิยมขององค์กร
ทำไมวัฒนธรรมองค์กรถึงสำคัญ
วัฒนธรรมองค์กรมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร วัฒนธรรมที่แข็งแกร่งสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ทำให้ทีมไปในทิศทางเดียวกัน และขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานผู้มีความสามารถระดับสูง ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า วัฒนธรรมที่แข็งแกร่งสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและช่วยให้องค์กรสามารถผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายไปได้อีกด้วย
ในทางกลับกัน วัฒนธรรมเชิงลบสามารถนำไปสู่ขวัญกำลังใจของพนักงานต่ำ การลาออกของพนักงานสูง และประสิทธิภาพในการทำงานที่ย่ำแย่ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นพิษซึ่งทำให้พนักงานที่มีความสามารถระดับสูงออกจากองค์กรและสร้างชื่อเสียงในทางลบให้กับองค์กรได้
เราจะพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างไร
วัฒนธรรมองค์กรได้รับการพัฒนาผ่านการผสมผสานระหว่างการกระทำ พฤติกรรม และนโยบาย ค่านิยมและความเชื่อของผู้นำของบริษัทมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างวัฒนธรรม แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่จะต้องรวบรวมข้อมูลจากพนักงานและให้พวกเขามีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรม บริษัทยังสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น โปรแกรมการ Onboarding พนักงานใหม่ แบบสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงาน และระบบการจัดการประสิทธิภาพการทำงานเพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้างวัฒนธรรมได้อีกด้วย
นอกจากนี้ บริษัทสามารถสร้างวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับพันธกิจและค่านิยมโดยสร้างการสื่อสารที่ชัดเจน สร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน และลงทุนในการพัฒนาพนักงาน วิธีที่บริษัทใช้ในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา และการแก้ไขข้อขัดแย้งก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมเช่นกัน
ทำไมเราต้องการค่านิยมองค์กร
ค่านิยมองค์กรทำหน้าที่เป็นเหมือนเข็มทิศที่ช่วยให้องค์กรก้าวข้ามความท้าทายและช่วยในการตัดสินใจ ค่านิยมเหล่านี้ทำให้มีความเข้าใจร่วมกันในสิ่งที่สำคัญและเป็นภาษาที่ใช้ร่วมกันซึ่งส่งเสริมความเหนียวแน่นและการไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อปฏิบัติตามค่านิยมองค์กรแล้ว จะช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมาย สร้างความไว้วางใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน
สำหรับพนักงาน ค่านิยมองค์กรช่วยกำหนดวัฒนธรรมและประเภทของสภาพแวดล้อมการทำงานที่พวกเขาจะเข้าไปทำงาน ค่านิยมเหล่านี้ช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวังและวิธีที่พวกเขาถูกคาดหวังให้ปฏิบัติในองค์กร ความชัดเจนนี้สนับสนุนความพึงพอใจของพนักงานและช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานผู้มีความสามารถระดับสูง
สำหรับลูกค้า ค่านิยมองค์กรจะสื่อสารถึงลำดับความสำคัญขององค์กรและให้ความรู้สึกไว้วางใจในแบรนด์ เมื่อลูกค้ารู้ว่าบริษัทยืนหยัดเพื่อสิ่งใด พวกเขามีแนวโน้มที่จะเลือกบริษัทนั้นมากกว่าคู่แข่ง
สำหรับองค์กรเอง ค่านิยมองค์กรช่วยสร้างวัฒนธรรมที่สอดคล้องและยั่งยืน ความสอดคล้องนี้สนับสนุนความสำเร็จทางธุรกิจในระยะยาวและช่วยให้องค์กรมีความเชื่อมโยงในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนในการสร้างค่านิยมองค์กรอย่างละเอียด
ส่วนนี้คือคำแนะนำทีละขั้นตอนเพื่อช่วยให้คุณสร้างค่านิยมองค์กรที่สำคัญต่อองค์กรของคุณอย่างแท้จริง
- เริ่มต้นด้วยวัตถุประสงค์ ถามตัวเองว่าบริษัทของคุณยืนหยัดเพื่อสิ่งใดและคุณต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องอะไร สิ่งนี้จะทำให้คุณมีทิศทางที่ชัดเจนในการออกแบบคุณค่าที่สอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของคุณ
- ทำให้ทีมของคุณมีส่วนร่วม กระตุ้นให้พนักงานแบ่งปันมุมมองและค่านิยมของพวกเขา สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่สำคัญต่อทีมของคุณดีขึ้น และช่วยให้คุณสร้างค่านิยมที่สอดคล้องกับพวกเขา
- ระบุค่านิยมที่สร้างความแตกต่าง เลือกค่านิยมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับองค์กรของคุณและสร้างผลกระทบอย่างแท้จริงต่อวิธีการทำธุรกิจของคุณ ค่านิยมเหล่านี้ควรมีความหมาย สร้างแรงบันดาลใจ และนำไปปฏิบัติได้
- สร้างค่านิยมที่นำไปใช้ได้จริง ระบุว่าแต่ละค่านิยมควรแปลงเป็นพฤติกรรมและการตัดสินใจในการทำงานในแต่ละวันอย่างไร สิ่งนี้จะทำให้ค่านิยมของคุณมีความหมายในเชิงปฏิบัติ และช่วยให้พนักงานเข้าใจวิธีการนำค่านิยมเหล่านั้นไปปฏิบัติ
- สื่อสารค่านิยมอย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสื่อสารค่านิยมของคุณอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอทั่วทั้งองค์กร ส่งเสริมการสนทนาแบบเปิดและเปิดโอกาสให้พนักงานถามคำถามและแบ่งปันความคิดเห็นปลูกฝังค่านิยมลงในวัฒนธรรมองค์กรของคุณ รวมค่านิยมเข้ากับวัฒนธรรมบริษัทของคุณโดยส่งเสริมค่านิยมเหล่านี้ลงไปในนโยบาย ขั้นตอน และกระบวนการการทำงาน ด้วยวิธีทำให้เห็นเป็นตัวอย่างและส่งเสริมค่านิยมของคุณผ่านการกระทำและการตัดสินใจของคุณ
เมื่อเปิดเผยถึงค่านิยมต่าง ๆ สิ่งสำคัญคือผู้นำจะต้องรวบรวมข้อมูลจากทีมของตนเพื่อให้แน่ใจว่าค่านิยมเหล่านี้สะท้อนถึงแรงบันดาลใจและลำดับความสำคัญขององค์กร และต่อไปนี้เป็นคำถามที่ผู้นำสามารถขอให้ทีมเปิดเผยถึงค่านิยมได้:
1. อะไรคือความเชื่อและพฤติกรรมที่คุณรู้สึกว่าสำคัญที่สุดในที่ทำงาน?
2. คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้บริษัทของเราแตกต่างจากบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
3. คุณรู้สึกว่าอะไรคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราเผชิญในฐานะทีม และค่านิยมใดที่สามารถช่วยให้เราเอาชนะสิ่งเหล่านั้นไปได้?
4. คุณเชื่อว่าบริษัทของเราสามารถให้บริการลูกค้าของเราให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?
5. คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้การทำงานที่นี่พิเศษหรือไม่เหมือนใคร?
6. คุณเชื่อว่าค่านิยมใดที่ควรเป็นแนวทางในกระบวนการตัดสินใจของเรา?
7. สิ่งใดที่คุณอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริษัทของเรา
เมื่อถามคำถามเหล่านี้ คุณสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าจากทีมของคุณได้ และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อออกแบบค่านิยมองค์กรที่มีความหมาย ที่เชื่อมโยง และนำไปปฏิบัติได้สำหรับองค์กร
การออกแบบค่านิยมองค์กรที่มีความหมายที่แท้จริงเป็นกระบวนการเชิงกลยุทธ์และกระบวนการที่ใช้ความตั้งใจ เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะสามารถสร้างค่านิยมที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมของคุณ สอดคล้องกับพันธกิจ และขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ
ให้ความสำคัญและส่งเสริมค่านิยมองค์กรของคุณ
ส่งเสริมทีมของคุณให้ตระหนักและส่งเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมของบริษัท
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการออกแบบค่านิยมองค์กร
การออกแบบค่านิยมองค์กรอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน แต่ด้วยการปฏิบัติตามข้อควรทำและไม่ควรทำดังต่อไปนี้ สามารถทำให้คุณแน่ใจได้ว่าค่านิยมองค์กรจะมีความหมายและส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างแท้จริง
สิ่งที่ควรทำ
- ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการนำเสนอและกำหนดค่านิยมองค์กร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าค่านิยมสะท้อนถึงแรงบันดาลใจและลำดับความสำคัญขององค์กร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าค่านิยมเหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้จริงและเกี่ยวข้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร
- สื่อสารค่านิยมให้พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ รับทราบกันอย่างชัดเจน
- ผสมผสานค่านิยมเข้ากับการตัดสินใจในการทำงานแต่ละวันและการดำเนินธุรกิจ
- ประเมินและส่งเสริมค่านิยมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าค่านิยมเหล่านี้ยังคงมีความเชื่อมโยงและมีความหมายต่อพนักงานทั่วทั้งองค์กร
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- อย่าสร้างค่านิยมองค์กรเพียงเพราะเป็นสิ่งที่อินเทรนด์หรือเป็นกระแสนิยม
- อย่าออกแบบค่านิยมที่คลุมเครือ ไร้ความหมาย หรือไม่สามารถดำเนินตามได้
- อย่าละเลยการป้อนข้อมูลของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในกระบวนการออกแบบ
- อย่าจำกัดค่านิยมไว้เพียงไม่กี่คำหรือวลี ตรวจสอบให้แน่ใจว่าค่านิยมมีความหมายและนำไปใช้ได้จริง
- อย่าลืมทำให้พนักงานปฏิบัติตามค่านิยมและแสดงให้เห็นถึงผลที่ตามมาจากการไม่ปฏิบัติตาม
- อย่าละเลยที่จะทบทวนและแก้ไขค่านิยมในขณะที่องค์กรมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง
เมื่อปฏิบัติตามสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเหล่านี้ คุณจะมั่นใจได้ว่าค่านิยมหลักของคุณมีความเชื่อมโยง สร้างแรงบันดาลใจ และนำไปปฏิบัติได้จริง และมีผลกระทบอย่างแท้จริงต่อวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทของคุณ
ค่านิยมพื้นฐาน (Permission-to-Play Values) กับ ค่านิยมองค์กร (Core Values)
เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ค่านิยมพื้นฐาน (Permission-to-Play Values)” และค่านิยมองค์กร (Core Values) เมื่อทำการออกแบบค่านิยมองค์กร
ค่านิยมพื้นฐาน (Permission-to-Play Values) เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมายขั้นพื้นฐานที่ทุกบริษัทต้องปฏิบัติตาม ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ การเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม ค่านิยมเหล่านี้มักถูกมองว่าเป็นสิ่งพื้นฐานขั้นต่ำที่ต้องมี ซึ่งจำเป็นสำหรับบริษัทในการเข้าร่วมในตลาด แต่ก็ไม่ได้ทำให้บริษัทแตกต่างจากคู่แข่งของตน
ตัวอย่างค่านิยมพื้นฐาน:
- การยึดถือหลักคุณธรรม Integrity
- ความซื่อสัตย์ Honesty
- ความเคารพ Respect
- ความมีสามัญสำนึกในหน้าที่ Accountability
- ความรับผิดชอบ Responsibility
- การทำงานเป็นทีม Teamwork
- ความร่วมมือ Collaboration
- คุณภาพ Quality
- ความยุติธรรม Fairness
- ความครอบคลุม Inclusiveness
ในทางกลับกัน ค่านิยมองค์กร (Core Values) คือค่านิยมเฉพาะที่กำหนดเอกลักษณ์ของบริษัทและหล่อหลอมวัฒนธรรมของบริษัท ค่านิยมเหล่านี้เป็นมากกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมายขั้นพื้นฐานและสะท้อนถึงวัตถุประสงค์ บุคลิกภาพ และลำดับความสำคัญของบริษัท ค่านิยมหลักเป็นแรงบันดาลใจให้พนักงาน การไปในทิศทางเดียวกันของทีม และขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจ
ตัวอย่างของค่านิยมองค์กร:
- การขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ Purpose-driven
- การมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง Human-centric
- ความคิดจากการฉีกกฎ Disruptive thinking
- ความหลงใหลที่จะทำสิ่งดี ๆ ให้ลูกค้า Customer obsession
- การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ Creative problem-solving
- การทดลองที่ชัดเจน Bold experimentation
- การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง Continuous learning
- ความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจกัน Empathy and understanding
- การมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ Entrepreneurial spirit
- ความโปร่งใสที่เป็นรากฐาน Radical transparency
- การมุ่งเน้นที่ผลงาน Results-oriented
- การเติบโตทางความคิด Growth-mindset
- ผลกระทบต่อสังคม Social impact
- ความหลงใหลในความเป็นเลิศ Passion for excellence
- การตัดสินใจอย่างมีศีลธรรม Ethical decision-making
- การมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน User-experience focus
- การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Continuous improvement
- ความคล่องตัวและรวดเร็ว Agility and speed
- ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data-driven insights
- การไขว่คว้าหาโอกาส Seizing opportunities
เมื่อออกแบบค่านิยมหลักขององค์กร สิ่งสำคัญคือต้องมุ่งเน้นไปที่ค่านิยมที่เชื่อมโยง สร้างแรงบันดาลใจ และนำไปปฏิบัติได้จริง หลีกเลี่ยงการสร้างคุณค่าที่คลุมเครือหรือไม่มีความหมายซึ่งไม่มีผลกระทบอย่างแท้จริงต่อวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทของคุณ คุณสามารถสร้างวัฒนธรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน ปรับทีมให้ไปในทิศทางเดียวกัน และขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจได้ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ค่านิยมองค์กรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับองค์กรของคุณ
ค่านิยมองค์กรคือหลักการที่ฝังลึกซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินการทั้งหมดของบริษัท — Patrick M. Lencioni
ให้ความสำคัญและให้รางวัลกับพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมของคุณ
เพื่อให้ค่านิยมองค์กรมีผลกระทบที่ยั่งยืนต่อวัฒนธรรมของบริษัท ค่านิยมเหล่านี้จำเป็นต้องเป็นมากกว่าแค่คำพูดบนกำแพง ผู้นำต้องสร้างระบบและกระบวนการที่ส่งเสริมและตระหนักถึงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมของบริษัท
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญและให้รางวัลแก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอสำหรับการแสดงพฤติกรรมตามค่านิยมองค์กรจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งกว่าและเพิ่มการมีส่วนร่วมและความผูกพันธ์ต่อองค์กรของพนักงาน ตัวอย่างเช่น การศึกษาที่จัดทำโดย Institute for Corporate Productivity พบว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมการยอมรับและขอบคุณ (Culture of Recognition) ที่เข้มแข็งมีอัตราการลาออกโดยสมัครใจต่ำกว่า 31% เมื่อเทียบกับองค์กรที่ไม่มีวัฒนธรรมนี้
วิธีหนึ่งในการให้ความสำคัญและให้รางวัลพฤติกรรมตามค่านิยมคือทำผ่านการประเมินประสิทธิภาพการทำงานเป็นประจำ ในระหว่างการประเมินเหล่านี้ ผู้นำสามารถหารือเกี่ยวกับกรณีเฉพาะที่พนักงานแสดงค่านิยมหลักของบริษัทและให้รางวัลที่มีความหมายและจับต้องได้ เช่น โบนัสหรือการเลื่อนตำแหน่ง เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเหล่านี้
อีกวิธีหนึ่งในการให้ความสำคัญกับพฤติกรรมตามค่านิยม คือทำผ่านโปรแกรม Recognition ที่เป็นทางการ โปรแกรมนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ เหมือนการทำผ่านกล่องข้อเสนอแนะ (Suggestion Box) ที่พนักงานสามารถเสนอชื่อเพื่อนร่วมงานของตนเองที่มีการแสดงพฤติกรรมตามค่านิยม หรือโปรแกรมที่มีระบบมากขึ้นที่มีการให้รางวัลแก่ความสำเร็จตามค่านิยมได้ประจำ และซอฟต์แวร์ที่ทำเรื่อง Recognition เช่น Happily.ai สามารถช่วยคุณได้
เพิ่มค่านิยมลงไปในการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน
การวัดและรวมค่านิยมองค์กรไปในการจัดการประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งและส่งเสริมพฤติกรรมตามค่านิยม ขั้นตอนแรกคือการระบุค่านิยมองค์กรแต่ละข้อของบริษัทให้ชัดเจนและค่านิยมเหล่านี้มีลักษณะอย่างไรในทางปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าพฤติกรรมใดที่สำคัญและถูกคาดหวังไว้
เมื่อกำหนดค่านิยมแล้ว ผู้นำสามารถใช้กระบวนการจัดการประสิทธิภาพ เช่น การพบปะพูดคุยหรือการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำ เพื่อวัดและติดตามพฤติกรรมตามค่านิยม ในระหว่างการประเมินเหล่านี้ ผู้นำสามารถถามคำถามเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมหลักของบริษัท และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องปรับปรุงต่อพนักงาน
นอกเหนือจากการรวมค่านิยมองค์กรเข้าไปในการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว ผู้นำยังสามารถรวมสิ่งที่ต้องการวัดที่สอดคล้องกับค่านิยมเข้าไปกับกระบวนการจัดการประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของพวกเขาได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น บริษัทด้านการดูแลสุขภาพอาจติดตามความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดความเห็นอกเห็นใจซึ่งเป็นค่านิยมหนึ่งขององค์กร หรือบริษัทเทคโนโลยีอาจติดตามจำนวนความคิดใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดค่านิยมในด้านนวัตกรรม
กระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
การรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมที่แข็งแกร่งต้องมีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง วิธีหนึ่งในการทำเช่นนี้คือผ่าน "การตรวจสอบสั้น ๆ (Pulse Checks)" เป็นประจำ ซึ่งผู้นำจะประเมินสถานะปัจจุบันของวัฒนธรรมและค่านิยมของบริษัทได้
ผลลัพธ์ของการตรวจสอบ Pulse Checks เหล่านี้สามารถใช้เพื่อระบุส่วนที่ค่านิยมของบริษัทได้รับการเสริมสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบ Pulse Checks ที่อาจเผยให้เห็นว่าพนักงานรู้สึกว่าค่านิยมของการทำงานเป็นทีมของบริษัทไม่ได้รับการยอมรับและส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้นำมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขปัญหานี้
ด้วยการทำการตรวจสอบ Pulse Checks เป็นประจำ ผู้นำสามารถมั่นใจได้ว่าวัฒนธรรมและค่านิยมของบริษัทยังคงแข็งแกร่งและมีความเชื่อมโยง และบริษัทสามารถปรับปรุงและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะไม่เพียงช่วยรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมที่แข็งแกร่ง แต่ยังปรับปรุงการมีส่วนร่วมของพนักงานและประสิทธิภาพทางธุรกิจโดยรวมอีกด้วย
ตัวอย่าง: ค่านิยมองค์กรสำหรับบริษัท Startup ทางด้านเทคโนโลยี
บริษัท Startup ทางด้านเทคโนโลยีให้คุณค่าในการปรับปรุงพัฒนาและการทดลองที่ต่อเนื่องอาจมีค่านิยมได้ดังต่อไปนี้
- ความสามารถในการปรับตัว Adaptability: เรายอมรับการเปลี่ยนแปลงและรู้สึกสะดวกใจที่จะรับมือกับความไม่แน่นอน
- ความกล้าหาญ Boldness: เรารับความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้และไม่กลัวที่จะล้มเหลว
- ความคิดสร้างสรรค์ Creativity: เราส่งเสริมความคิดใหม่ ๆ และค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นนวัตกรรมใหม่
- การเติบโต Growth: เราเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงทั้งรายบุคคลและส่วนรวม
ค่านิยมเหล่านี้สะท้อนถึงแรงผลักดันของ Startup ในการประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนและแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ได้ด้วยการยอมรับความสามารถในการปรับตัวและความกล้าได้กล้าเสีย การเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันสนับสนุนนวัตกรรม ในขณะที่การเน้นที่การเติบโตสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง: ค่านิยมองค์กรสำหรับบริษัทด้านการดูแลสุขภาพ
บริษัทด้านการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าอาจมีค่านิยมหลักดังต่อไปนี้:
- ความเห็นอกเห็นใจ Compassion: เราปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าอกเข้าใจ
- ความเป็นเลิศ Excellence: เราให้การดูแลที่มีคุณภาพสูงสุดและพยายามปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- การเข้าถึง Accessibility: เราทำให้บริการด้านสุขภาพเข้าใจง่ายและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน
- นวัตกรรม Innovation: เรารวบรวมเทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้ป่วย
ค่านิยมเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทด้านการดูแลสุขภาพในการให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นอันดับแรก โดยให้ความสำคัญกับความเห็นอกเห็นใจและความเป็นเลิศ บริษัทจึงสร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและส่งเสริมช่วยเหลือผู้ป่วย การให้ความสำคัญกับการเข้าถึงและการทำงานเป็นทีมทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุด ในขณะที่การมุ่งเน้นที่นวัตกรรมจะขับเคลื่อนบริษัทให้ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมค่านิยมองค์กร
มาดูกันว่าบริษัทต่าง ๆ ใช้ Happily เพื่อทำให้ค่านิยมองค์กรของพวกเขาเข้าไปใช้ในชีวิตการทำงานร่วมกันในทุกวันได้อย่างไร
บทสรุป
การออกแบบค่านิยมองค์กรเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญสำหรับผู้นำองค์กร เป็นมากกว่าแค่การนิยามชุดคำหรือวลี มันเกี่ยวกับการสร้างกรอบสำหรับการตัดสินใจ การชี้นำพฤติกรรม และสร้างวัฒนธรรมองค์กร การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างค่านิยมพื้นฐาน (Permission-to-Play Values) และค่านิยมองค์กร (Core Values) เป็นสิ่งสำคัญ เช่นเดียวกับการเป็นคนที่ตั้งใจและจริงจังในการกำหนดสิ่งที่สำคัญต่อองค์กรอย่างแท้จริง
ผู้นำต้องเป็นเจ้าของกระบวนการในการออกแบบและนำค่านิยมองค์กรไปใช้ และไม่มอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือแผนกอื่น ๆ ให้ดำเนินการแทน ค่านิยมควรได้รับการถักทอในทุกด้านขององค์กร ตั้งแต่การสรรหาและการเริ่มต้นงานของพนักงานใหม่ ไปจนถึงการจัดการประสิทธิภาพในการทำงานและระบบการให้รางวัล เมื่อค่านิยมองค์กรมีความหมาย มีความเชื่อมโยง และนำไปปฏิบัติได้จริง สิ่งนี้จะสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ส่งเสริมวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง และสนับสนุนความสำเร็จทางธุรกิจ
โดยสรุป ผู้นำต้องใช้เวลาคิดอย่างรอบคอบในการออกแบบค่านิยมองค์กรที่สะท้อนถึงวัตถุประสงค์ บุคลิกภาพ และลำดับความสำคัญขององค์กร การทำเช่นนี้จะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้วัฒนธรรมองค์กร การตัดสินใจ และความสำเร็จที่จะคงอยู่ตลอดไปอย่างยั่งยืน