รู้จักกับ Employee Effectiveness สิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง ที่นายจ้างต้องใส่ใจ
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา จากการนำเสนอของเรา คุณน่าจะได้คุ้นเคยกับศัพท์ที่ครั้งนึงเคยเป็นสิ่งแปลกประหลาดและยุ่งยากซับซ้อนในการทำความเข้าใจมาแล้ว อย่างเช่น Employee Engagement, Recognition, Employee Well-Being, Resilience เป็นต้น
วันนี้ Happily.ai ก็ได้มีความรู้ใหม่ๆ ที่จะมาอัพเดทให้คุณก้าวทัน การเปลี่ยนแปลงของโลกการบริหารธุรกิจ รวมไปถึง การก้าวเข้ามาของ Generation ใหม่ๆ ที่ทำให้หลักการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบเดิมๆ นั้น ต้องล้าหลังลงไป ทำให้ต้องแสวงหาหลักการใหม่ๆ เข้ามาช่วยสร้างธุรกิจที่มีประสิทธิภาพที่จะแข่งกับคู่แข่งต่างๆ ได้ ไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นั่นก็คือหลักการแห่งการสร้าง ประสิทธิผลที่เต็มเปี่ยมของพนักงาน หรือ Employee Effectiveness (โดยอันที่จริงคำนี้ ยังไม่มีคำนิยามเป็นภาษาไทยที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ทางเราจึงขอใช้คำแปลในรูปแบบนี้ไปพลางก่อน)
Employee Effectiveness คือ อะไรกันแน่?
Employee Effectiveness นั้นคือ การสร้างและเพิ่มพูนทักษะ และ ศักยภาพ ของพนักงาน ในการที่จะก้าวไปถึงการบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะเน้นไปที่ การเพิ่ม Productivity ให้มากยิ่งขึ้น อันจะนำมาถึงผลลัพธ์เชิงบวกในทางธุรกิจที่เป็นที่น่าพอใจสำหรับ stakeholders ทุกฝักฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น นายจ้าง พนักงาน ผู้ถือหุ้น รวมทั้งลูกค้าที่พอใจจากสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รวดเร็ว และข้อผิดพลาดน้อย
แต่การจะบรรลุการสร้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานการวัดผลในองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย
องค์ประกอบของการตรวจสอบ Employee Effectiveness
ในการสร้าง Employee Effectiveness นั้น มีหลายปัจจัยที่ผู้เป็นนายจ้างจะต้องคำนึงถึง เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสร้างให้เกิด Effectiveness ขึ้นในหมู่พนักงาน อันจะนำมาสู่ผลดีต่อองค์กร รวมถึงผลประกอบการในภาพรวม ตามที่ได้กล่าวมาไว้ข้างต้น จะต้องมีการตรวจวัดถึงความมี Effective ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
นิยามคำว่า Effectiveness ให้เรียบร้อย
การจะวัดว่าใคร Effective ในการทำงานมากน้อยแค่ไหนนั้น มักจะผันแปรไปตามหน้าที่ รวมทั้งตำแหน่งของแต่ละคนในหน่วยงาน อย่างเช่น คุณคงจะใช้มาตรฐานการวัดตัวเดียวกันระหว่างฝ่ายผลิต และฝ่ายการตลาด ไม่ได้ หรือแม้แต่จะเอาการวัดผลของผู้จัดการโรงงาน มาใช้กับพนักงานฝ่ายปฏิบัติบนไลน์การผลิตก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของคุณในการเซ็ตมาตรฐานความ effective ในแต่ละแผนก หน่วยงาน และระดับบัญชาการให้มีความชัดเจนเสียก่อน มิเช่นนั้นการวัดผลการพัฒนาจะไม่ได้ผลไปเสียหมด
ความสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ต้องมากกว่าการวัดชั่วโมงการทำงาน
การทำงานที่ Effective นั้น คุณควรจะต้องเซ็ตการวัดผลไว้ที่ว่า ผลงานที่ออกมานั้นตรงกับเป้าหมายทั้งในส่วนแผนก และในภาพรวม สอดคล้องตอบรับกันหรือไม่ เพราะนี่คือเป้าหมายที่สำคัญจริงๆ ในการส่งผลต่อผลประกอบการ
ไม่ใช่การวัดว่า ใครทำงานเยอะ ใครเลิกดึก ใครกลับบ้านช้ากว่ากัน เพราะการวัดในรูปแบบนี้คุณจะได้แต่เวลาที่พวกเขาทำไม่ใช่ผลลัพท์ รวมทั้งการที่พวกเขาทำงานนานเกินไปนั้น นอกจากบริษัทจะต้องสูญต้นทุนไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโอทียามที่ทำงานในหน้าที่ๆ เพิ่มขึ้นมา ตัวพนักงานและทีมยังต้องจ่ายต้นทุนเป็น สุขภาพกาย ใจ นำไปสู่ การสูญเสีย key playerในทีมได้ในอนาคตอันใกล้
การให้ Feedback อย่างต่อเนื่อง หรือ Continuous Feedback
การที่เรียกมาให้ Feedback ในแต่ละเดือน หรือในแบบรายปีนั้น ย่อมไม่เพียงพอและไม่ทันกาล หลายครั้งกลายเป็นการสรุปเรื่องไม่ดีมาด่ากันเสียมากกว่า ซึ่งมักจะแปรกลายเป็นผลเสียอย่างหนักหน่วง อย่างที่เห็นชัดคือ พนักงานเสียกำลังใจ มักคิดว่าบางอย่างผิดทำไมไม่บอกกันก่อน อีกทั้งเป็นแค่เหมือนกับพยายามสร้าง impact เป็นจังหวะ ไม่ได้มีความต่อเนื่องในการพัฒนาพนักงาน ทำให้พัฒนาการเกิดการขาดหาย ไม่สร้างความ effective ในการทำงานอย่างแท้จริง
การทำ continuous feedback นั้นอาจจะฟังเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเพราะต้องทำบ่อยๆ อาจจะเป็นรายวันเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ได้มีผู้ผลิตแอปพลิเคชันหลายเจ้าได้เห็นถึงความยุ่งยากในข้อนี้ จนออกมาเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย เช่น Happily.ai กับระบบ Daily Pulse Survey กับคำถามสั้นๆ ง่ายๆ และระบบคำถามปลายเปิดที่ช่วยให้ลูกจ้างและหัวหน้างานสามารถแลกเปลี่ยน feedback ซึ่งกันและกันได้เป็นประจำทุกวัน
ระบบ Peer Feedback ที่ต้องหมั่นเอาใจใส่
อย่าเพิ่งเข้าใจผิด เราไม่ได้ทำการสนับสนุนให้พนักงานนั้นด่า แทงข้างหลัง หรือ ทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกัน แต่คนที่ทำงานใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุด ก็คือ พนักงานในทีมเดียวกัน ที่จะมีความใกล้ชิดกันยิ่งกว่าหัวหน้ากับพนักงานเสียอีก ทำให้รู้ว่าจุดไหนที่ดี จุดไหนที่ควรปรับปรุง ในมุมมองเพื่อนร่วมทีมต่อเพื่อนร่วมทีม ผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปข้างหน้า ไม่ใช่เพียงแค่ความเห็นของหัวหน้าต่อลูกทีมเท่านั้น
ดังนั้น การที่ให้พนักงานนั้น สามารถมอบรีวิวให้แก่กันได้ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยทั้งการวัดผล และการเร่งการพัฒนาไปให้ได้ถึงขีดสุด โดยระบบการให้ peer feedback ที่ดีนั้นควรเปิดให้พนักงานนั้นสามารถพูดถึงข้อดี และข้อควรปรับปรุงซึ่งกันและกันได้ โดยคุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยระบบ Happily Monthly Peer Feedback ที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเลือกเพื่อนร่วมงาน 2 คน ที่เขาวางใจและพร้อมจะรับฟังความเห็น มาทำการประเมินให้พวกเขาได้
คุณเองก็สามารถเริ่มสร้างความ effective ได้แล้ววันนี้ เพียงลองนำเอา Happily.ai เข้าไปใช้ในองค์กรของคุณ เพียงลงทะเบียนบน Waiting List ของเรา เพื่อทดลองใช้งานจากเราฟรี!