ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement) กลายเป็นชิ้นส่วนสำคัญของความสำเร็จองค์กร งานศึกษาหลายชิ้นยืนยันว่า พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรสูงจะมี Productivity ที่ดี มีไอเดียใหม่ ๆ และตั้งใจทำงานอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม Gallup รายงานว่า มีพนักงานเพียง 21% เท่านั้นที่ผูกพันกับงานและองค์กร หรือคิดเป็นเงินหลักพันล้านดอลลาร์ที่หายไปใน 1 ปี ดังนั้นองค์กรต้องทำให้ความสำคัญกับ Engagement จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งเสริม Employee Engagement เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรักษาพนักงานที่เก่งไว้กับองค์กร
คู่มือสร้างแผนปฏิบัติการเพิ่มระดับ Employee Engagement
1. วัดระดับ Employee Engagement
อันดับแรกองค์กรจำเป็นต้องทราบระดับ Engagement ของพนักงานก่อน โดยสามารถรวบรวมความเห็นและ Feedback ของพนักงานได้จากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น แบบสอบถาม, การสนทนาแบบกลุ่ม, และการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว การเลือกสรรเครื่องมือและช่องทางก็ต้องพิจารณาจากทรัพยากรที่มีทั้ง เงินทุน เวลา และรูปแบบข้อมูลที่ต้องการ
ข้อมูลที่รวบรวมได้จะช่วยให้องค์กรมองเห็นเรื่องที่เป็นจุดแข็งและจุดที่ปรับปรุงแก้ไข และเพื่อให้การเริ่มต้นทำแผนปฏิบัติได้ง่ายขึ้น Happily.ai ได้พัฒนาตัวอย่างแบบสอบถามความผูกพันของพนักงานขึ้นมา โดยที่แบบสอบถามนี้ครอบคลุมทั้ง 11 มิติการทำงาน เช่น ความพึงพอใจในงาน ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า และสุขภาวะของพนักงาน เป็นต้น ดาวน์โหลดและนำแบบสอบถามไปใช้งานได้ทันทีที่นี่
2. สร้างการส่วนร่วมในองค์กร
ขั้นตอนถัดมาคือ ส่งเสริมวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในองค์กร หรือก็คือ สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก สร้างโอกาสในการพัฒนาและเติบโต รวมถึงส่งเสริมให้บทสนทนาเปิดกว้างและร่วมมือกันทำงาน
องค์กรสามารถจัดทำหรือหาโปรแกรมหรือเทรนนิ่งเพื่อพัฒนาบุคลากร โค้ช และให้คำปรึกษา เพื่อให้พนักงานฝึกและพัฒนาทักษะความสามารถที่จำเป็นในการเติบโตต่อไป
3. ให้ความชื่นชมยอมรับ (Recognition) และรางวัลแก่พนักงาน
การได้รับคำชื่นชมยอมรับและรางวัลตอบแทนในการทำงานและผลงานที่ทำ จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและทำให้พนักงานมีแรงใจทำงาน องค์กรสามารถพัฒนาโปรแกรมการชื่นชมยอมรับและให้รางวัลพฤติกรรมและการกระทำที่สอดคล้องกับค่านิยมองค์กรได้หลายวิธี เช่น ให้รางวัลพนักงานดีเด่นประจำเดือน หรือ วันชื่นชมขอบคุณพนักงาน เป็นต้น เพื่อทำให้พนักงานรู้สึกว่าการทำงานของพวกเขาได้รับการมองเห็นและมีคุณค่า
4. ให้ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของพนักงานสมดุลกัน (Work-Life Balance)
สมดุลของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้พนักงานรู็สึกได้รับการสนับสนุนและคงความผูกพันกับองค์กรและงานต่อไป ไม่ว่าจะให้ทางเลือกการทำงานที่ยืดหยุ่น เช่น นโยบายการทำงานแบบผสม หรือการทำงานที่บ้าน มีตารางการทำงานที่ยืดหยุ่น หรืออกระทั่งการแบ่งงานกันทำ (Job Sharing) เป็นต้น นอกจากนี้องค์กรสามารถให้การช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะพนักงาน ไม่ว่าจะโปรแกรมที่ช่วยเหลือด้ารการเงิน ให้คำปรึกษาและบริการด้านอื่น ๆ ที่ช่วยให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างชีวิตสองด้านนี้ได้ดียิ่งขึ้น
5. วัดผลและเฝ้ามองระหว่างดำเนินการตามแผน
คอยติดตามและเฝ้าดูแลระดับของความผูกพันหรือ Engagement ของพนักงานอยู่เสมอ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การติดตามผลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้องค์กรได้รับทราบความคิดเห็นหรือฟีดแบ็ก และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนแผนหรือกระบวนการ (หากจำเป็น) อย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น จัดทำแบบสอบถามรายไตรมาสเพื่อติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของ Engagement และนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามไปปรับแผนให้ดียิ่งขึ้น
บทสรุป
การนำแผนพัฒนาความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรไปใช้จะช่วยให้องค์กรเพิ่มความพึงพอใจในงาน ประสิทธิภาพการทำงานและรักษาพนักงานคนเก่งไว้ได้นานยิ่งขึ้น ส่งผลให้องค์กรมี Productivity และประสบความสำเร็จได้ เริ่มต้นจากประเมินและวัดระดับความผุกพันของพนักงาน สร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในองค์กร ให้การชื่นชมยอมรับและรางวัลแก่พนักงานที่ทำงานได้ดี ช่วยสร้างสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และคอยติดตามประเมินผลของแผนปฏิบัติการอยู่เสมอ หากองค์กรดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวก็จะสร้างบรรยากาศการทำงานเชิงบวก ที่ส่งเสริมความผูกพันของพนักงานและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ