ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับองค์กรในการคิดทบทวนวัฒนธรรมองค์กรอีกครั้ง ในปี 2021 หลาย ๆ องค์กรต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน การจ้างงานและการรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กรนั้นเป็นเรื่องยาก และความท้าทายนี้จะยังคงอยู่ต่อไป นี่คือเหตุผลที่วัฒนธรรมองค์กรต้องการการปรับเปลี่ยนและการคิดทบทวน ความสามารถในการปรับตัวของวัฒนธรรม หรือ Cultural Adaptibility คือความสามารถขององค์กรในการทดลอง สร้างสรรค์ และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การศึกษาของ Jennifer และเพื่อนร่วมงานในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ปรับตัวได้มีรายได้มากกว่าถึง 15% เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ไม่ยืดหยุ่น
วัฒนธรรมที่แข็งแรงและปรับตัวได้จะเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับการแข่งขันแย่งชิงบุคลากรที่มีความสามารถ (Talent War) ที่กำลังดำเนินอยู่ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าพนักงานกว่า 70% จะสมัครเข้าทำงานในบริษัทก็ต่อเมื่อค่านิยมของพวกเขาสอดคล้องกับค่านิยมของบริษัทเท่านั้น เมื่อมีพนักงานจำนวนมากขึ้นที่ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมขององค์กรเมื่อต้องเลือกสถานที่ทำงาน ผู้นำจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการทบทวนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ว่าสิ่งไหนที่เป็นไปด้วยดี และสิ่งไหนที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่าวัฒนธรรมมีจุดมุ่งหมายในการนำบริษัทไปสู่ความสำเร็จ และนี่คือแนวโน้มวัฒนธรรมที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2022
ความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexibility)
การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ความยืดหยุ่นในการทำงานกลายมาเป็นที่สนใจมากขึ้น และความคาดหวังของพนักงานก็เปลี่ยนไปพร้อม ๆ กัน จากการสำรวจโดย Harvard Business School แสดงให้เห็นว่าพนักงานกว่า 80% ไม่ต้องการกลับไปทำงานในที่ทำงานหรือชอบการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid) มากกว่า การให้ความยืดหยุ่นในการทำงานกับพนักงานมีมากขึ้นนั้น จะสามารถช่วยให้พวกเขารักษาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life Balance) และมีความพึงพอใจในการทำงานที่สูงขึ้น
การชื่นชมยอมรับ (Recognition)
เป็นสิ่งสำคัญมากที่บริษัทจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการชื่นชมยอมรับกัน เมื่อพนักงานทำงานจากระยะไกล ผู้จัดการจะมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินการของทีมน้อยลง การสำรวจโดย Gartner แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการมักจะเชื่อว่าพนักงานที่เข้าไปทำงานที่บริษัทมีผลงานที่ดีกว่าและมีโอกาสได้รับการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าพนักงานที่ทำงานแบบระยะไกลหรือแบบผสมผสาน แต่นั่นไม่เป็นความจริงเสมอไป หากพนักงานไม่ได้รับการชื่นชมยอมรับอย่างเหมาะสม พนักงานจะรู้สึกไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน สิ่งนี้จะทำให้พนักงานมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการทำงานลดลง ซึ่งจะนำไปสู่การลาออกของพนักงาน
การพัฒนาพนักงาน (Employee Development)
ประชากรรุ่นมิลเลนเนียลจะเป็นแรงงานกลุ่มสำคัญในโลกแห่งการทำงานในปีต่อ ๆ ไป และสำหรับคนกลุ่มนี้ การให้แค่ผลประโยชน์นั้นไม่เพียงพอ คนรุ่นมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองมากขึ้น เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงยินดีที่จะอยู่กับองค์กรที่ทำให้พวกเขามีความก้าวหน้า และในขณะเดียวกัน พวกเขาไม่ลังเลที่จะลาออกจากบริษัทเมื่อรู้สึกว่าตนไม่ได้เติบโตในการทำงานหรือเมื่องานที่ทำไม่เป็นไปตามความที่คาดหวังไว้ องค์กรควรลงทุนในพนักงานของตนเองโดยจัดให้มีโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพของพนักงานและเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้าทางด้านการทำงาน
ความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)
การสร้างความปลอดภัยทางจิตใจเป็นก้าวแรกในการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อสมาชิกในทีมทำงานในที่ที่ต่างกัน ทีมจะมีความเป็นทีมน้อยลง เพื่อให้สมาชิกในทีมของคุณมีส่วนร่วม ผู้นำต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาในการสื่อสาร โต้ตอบ และทดลองสิ่งใหม่ ๆ สมาชิกในทีมจะเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่สร้างสรรค์มากขึ้นถ้าพวกเขารู้สึกสบายใจและปลอดภัยทางจิตใจเมื่อทำงานร่วมกัน
เทคโนโลยี (Technology)
เนื่องจากการทำงานแบบระยะไกลทำให้พนักงานมีระยะห่างระหว่างกันมากกว่าที่เคย เทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในวัฒนธรรมการทำงาน จากการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่เชื่อว่าเทคโนโลยีช่วยปรับปรุงประสบการณ์การทำงานของพวกเขา โดยช่วยให้พวกเขาเชื่อมต่อกับองค์กรและเพื่อนร่วมงานได้ง่ายยิ่งขึ้น องค์กรจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการโต้ตอบเสมือนจริงและเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน และการมีส่วนร่วมของพนักงานอีกด้วย
การสร้างวัฒนธรรมที่มีการปรับตัว (Adaptive Organizational Culture)
ในปี 2021 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านแรงงาน และในสภาพแวดล้อมที่เร่งรีบในปัจจุบัน การสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแรงเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือการมุ่งเน้นในการสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน เพื่อที่จะสรรหาและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถระดับสูงไว้กับองค์กร ผู้นำจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวัฒนธรรมองค์กรของพวกเขายังคงปรับตัวได้และมีจุดมุ่งหมายอยู่หรือไม่ โดยที่
- จ้างและสนับสนุนพนักงานที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้
- พิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับอุปสรรคระหว่างวัฒนธรรมที่มีอยู่กับวัฒนธรรมที่ต้องการและจัดการกับอุปสรรคนั้น ๆ
- คิดไตร่ตรองถึงองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ควรเก็บรักษาไว้และที่ควรขจัดออกไป
- สื่อสารความสำคัญของค่านิยมทางวัฒนธรรมผ่านแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ
- เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงานในการส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม
การหันกลับมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมจะทำให้บริษัทได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ การมี "วัฒนธรรมที่ถูกต้อง" และปรับตัวได้แบบเรียลไทม์จะช่วยให้บริษัทสามารถดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ได้ หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสร้างวัฒนธรรมที่สร้างความผูกพัน ความร่วมมือ และสร้างแรงบันดาลใจ คุณสามารถเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราที่ Happily.ai
เอกสารอ้างอิง
[1]http://faculty.haas.berkeley.edu/chatman/papers/Chatman-2014-JOB.pdf
[3]https://blog.vantagecircle.com/corporate-culture/
[4]https://builtin.com/company-culture/why-is-organizational-culture-important
[6]https://www.platypus.io/blog/how-to-transform-your-culture-in-2022
[7]https://hbr.org/2020/08/dont-let-the-pandemic-sink-your-company-culture
[9]https://hbr.org/2022/01/11-trends-that-will-shape-work-in-2022-and-beyond
[10]https://blog.vantagecircle.com/psychological-safety/
[11]Photo by Diego PH on Unsplash