ตัวชี้วัดและเครื่องมือสำคัญสำหรับประเมิน Employee Engagement
Employee Engagement หรือความมีส่วนร่วมในองค์กรเป็นเรื่องที่องค์กรหลายแห่งทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะพนักงานที่ Engaged สร้าง Productivity ได้มากกว่า พึงพอใจในงานที่ทำงานมากกว่า และทำงานกับองค์กรได้นานกว่า ดังนั้นการวัดและประเมินระดับ Employee Engagement จึงสำคัญ เพราะจะทำให้องค์กรเข้าใจความเป็นไปและดำเนินการแก้ไขได้ถูกจุด ถูกที่ และทันท่วงที
ตัวชี้วัดสำคัญสำหรับ Employee Engagement
- ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS): ค่า eNPS จะวัดแนวโน้มที่พนักงานคนหนึ่งจะแนะนําบริษัทของตนเองว่าเป็นที่ที่น่าทำงานให้กับผู้อื่น โดยคำนวณจากการนำเปอร์เซ็นของพนักงานที่ไม่พอใจในองค์กร(Detractor) ที่มีคะแนนอยู่ระหว่าง 0-6 คะแนน ออกจากสัดส่วนของพนักงานที่สนับสนุนองค์กร (Promoter) ซึ่งมีคะแนนอยู่ระหว่าง 9-10 คะแนน ถ้าค่า eNPS ขององค์กรสูงแสดงว่า พนักงานมีใจทำงาน ลงมือทำอย่างเต็มที่ และพึงพอใจในงานของตน
- ค่าคะแนนความพึงพอใจต่องานของพนักงาน (Employee Satisfaction Score): ตัวชี้วัดนี้จะบอกถึงความพึงพอใจของพนักงานต่องานและสภาพแวดล้อมการทำงาน วิธีการเก็บข้อมูลมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำแบบสำรวจหรือการสัมภาษณ์ ซึ่งผลที่ได้รับจะช่วยให้องค์กรเห็นภาพและเข้าใจว่า จะต้องพัฒนาและแก้ไขเรื่องใดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพนักงานและเพิ่มความพึงพอใจของพวกเขาได้
- อัตราการลาออกจากงาน (Turnover Rate): เป็นดัชนีชี้วัดจำนวนพนักงานที่ลาออกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากมีค่าที่สูงนั่นแสดงว่า พนักงานไม่พึงพอใจในงานและไม่ Engaged กับงาน ส่งสัญญาณถึงองค์กรว่า ต้องเข้ามาจัดการดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่ม Employee Engagement
- อัตราการรักษาพนักงาน (Retention Rate): ตัวชี้วัดนี้จะประเมินจำนวนพนักงานที่ทำงานในองค์กรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากมีค่าที่สูง แสดงว่า Employee Engagement ก็สูงตามไปด้วย เพราะพนักงานที่ Engaged สูง หรือตั้งใจและมุ่งมั่นทำงาน มีแนวโน้มที่จะอยู่กับบริษัทนานกว่าพนักงานที่ Engaged ต่ำ หากใช้ตัวชี้วัดนี้ร่วมกันกับ Turnover Rate ก็จะช่วยทำให้มองเห็นภาพการโยกย้ายเข้าออกของพนักงานได้ชัดเจนและรอบด้านยิ่งขึ้น
- Well-being ของพนักงาน: Well-being ของพนักงานจะบอกถึงสุขภาพกายใจ ความสมดุลของชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน (Work-Life Balance) และคุณภาพชีวิตในองค์รวม ค่า Well-being ที่ดีสัมพันธ์กับ Employee Engagement ที่สูง องค์กรสามารถประเมิน Well-being ของพนักงานได้ผ่านแบบสำรวจหรือแบบประเมินสุขภาพ
- วัฒนธรรม (Culture) และค่านิยมองค์กร (Core Values): หากพนักงานรู้สึกได้ว่าสองสิ่งนี้ต้องสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พวกเขามีแนวโน้มจะ Engaged กับงานมากกว่า โดยองค์กรสามารถประเมิน Culture และ Core Values ขององค์กรได้จากการทำแบบสำรวจและการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม
งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ตัวชี้วัดข้างต้นมีความสัมพันธ์กับ Employee Engagement เช่น ผลการศึกษาของ World Economic Forum กล่าวว่า องค์กรที่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังและจัดการดูแล Well-being พนักงานอย่างแข็งขันมี Employee Engagement และ Productivity ที่สูง นอกจากนี้งานของ Harvard Business Review ยังระบุว่า องค์กรที่มี Culture ที่แข็งแรง จะมี Turnover Rate ต่ำและพนักงานมีความพึงพอใจในงานสูง
เครื่องมือสำหรับประเมิน Employee Engagement
- Pulse Surveys: Pulse Survey คือแบบสอบถามที่สั้น กระชับ แต่มีความถี่ที่ส่งบ่อยกว่า ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาคำถามเกี่ยวกับ ความพึงพอใจในงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน และระดับของ Employee Engagement เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ระบุเรื่องที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงเพื่อเพิ่ม Employee Engagement และ ความพึงพอใจในงาน
- เครื่องมือรวบรวม Feedback จากพนักงาน: เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยรวบรวม Feedback พนักงาน เช่น Happily.ai, 15Five และ Officevibe เป็นเครื่องมือที่ทำให้พนักงานให้ Feedback และคำแนะนำต่อองค์กรได้ง่ายและสะดวก เช่นเดียวกัน องค์กรสามารถมองเห็นเรื่องที่ต้องพัฒนาเพื่อเพิ่มระดับ Employee Engagement ได้ผ่านเครื่องมือเหล่านี้
- การประเมินผลงานของพนักงาน: ในช่วงเวลาการประเมินผลงานนี้ หัวหน้างานและพนักงานจะมีโอกาสได้พูดคุยกันเรื่องผลการทำงาน เป้าหมาย และเรื่องที่ต้องพัฒนา Feedback เกี่ยวกับ Employee Engagement และความพึงพอใจในงานก็สามารถพูดคุยผ่านบทสนทนานี้ได้เช่นกัน จึงเป็นโอกาสให้องค์กรได้รับรู้ความคิดเห็นของพนักงานต่อเรื่องต่าง ๆ ในองค์กร
- Employee Engagement Survey: Employee Engagement Survey คือแบบสำรวจที่ประเมินระดับ Engagement ความพึงพอใจในงาน และความภักดีต่อองค์กร สามารถถามคำถามที่ครอบคลุมหลายประเด็น เช่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร และ Work-Life Balance เป็นต้น ผลที่ได้ก็ช่วยให้องค์กรเข้าใจและรับรู้ถึงรากสาเหตุของปัญหาของ Employee Engagement เพื่อที่จะได้นำไปทำแผนพัฒนาต่อไป
กรณีศึกษาสำหรับ Employee Engagement
การมีส่วนร่วมของพนักงานหรือ Employee Engagement ไม่ได้เป็นเพียงตัวชี้วัดที่ทำแล้วรู้สึกดีเท่านั้น เพราะสิ่งนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กร โดยพนักงานที่รู้สึก Engaged มีแนวโน้มที่จะทำงานมากกว่าหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ส่งผลให้มี Productivity เพิ่มขึ้น งานมีคุณภาพสูงขึ้น และมีความพึงพอใจของลูกค้าที่ดีขึ้น พวกเขายังมีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรเป็นเวลานานขึ้น ซึ่งทำให้องค์กรลดต้นทุนการลาออกของพนักงาน (Turnover) และพวกเขายังช่วยเพิ่มองค์ความรู้ในองค์กรอีกด้วย นอกจากนี้ พนักงานที่รู้สึก Engaged จะเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การทำงานเป็นทีมและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น ในทางกลับกัน พนักงานที่รู้สึก Disengaged หรือไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในที่ทำงานอาจส่งผลเสียอย่างมากต่อองค์กร ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง การขาดงานที่เพิ่มมากขึ้น และอัตราการลาออกที่สูงขึ้น ดังนั้น การวัดและปรับปรุงความผูกพันของพนักงานหรือ Employee Engagement จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร
การวัด Employee Engagement เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการทำความเข้าใจระดับความรู้สึก Engaged ของพนักงาน และสามารถนำไปดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อพัฒนาปรับปรุงระดับ Engagement ให้ดีขึ้นได้ โดยเมตริกหรือตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น eNPS, ESS, อัตราการลาออกของพนักงาน, อัตราการรักษาพนักงาน, Well-being ของพนักงาน, วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบสำรวจ Pulse Survey, แพลตฟอร์มสำหรับให้และรับ Feedback ของพนักงาน และการทำ Performance Review ตัวชี้วัดเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ Employee Engagment ที่องค์กรสามารถนำไปเพิ่ม Productivity ลดการ Turnover และปรับปรุงความพึงพอใจในงานโดยรวมของพนักงาน ด้วยการวัดและปรับปรุง Employee Engagement ของพนักงาน ลงทุนในการพัฒนา Employee Engagement และดูผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จขององค์กรของคุณ เริ่มการวัดและปรับปรุง Engagement ของพนักงานกันวันนี้