เพราะการทำงานในปัจจุปันนั้นเต็มไปด้วยความต้องการที่จะประสบความสำเร็จและความท้าทายที่มากกว่าเดิม ทำให้เกิดความเครียดและแรงกดดัน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อ Well-being ของพนักงาน ดังนั้นการเอาใจใส่ Well-being ของพนักงานเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อที่จะส่งเสริม Engagement ของพนักงาน และเมื่อพนักงานมี Well-being ที่ดีและระดับ Engagment ที่สูงขึ้นไปพร้อม ๆ กัน พนักงานเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

Well-being คืออะไร ?

Employee Well-Being หรือความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน มาจากประสบการณ์ที่ดีในการทำงานทางด้านต่าง ๆ ซึ่งสำหรับพนักงานแล้ว จะรวมไปถึงการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน การรู้ความหมายของการมีชีวิตอยู่ และความสามารถในการจัดการกับความเครียด

Well-being มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ Well-being ทางอารมณ์ (Psychological/Emotional Well-being) Well-being ทางกาย (Physical Well-being) และ Well-being ทางสังคม (Social Well-being)

  • Well-being ทางอารมณ์ประกอบไปด้วย ความพึงพอใจ ความเคารพในตนเอง และความสามารถของตนเอง
  • Well-being ทางกายประกอบไปด้วย สุขภาพร่างกาย ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย และการเคลื่อนย้ายเคลื่อนไหว
  • Well-being ทางสังคมประกอบไปด้วย การมีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ การได้รับการยอมรับ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ทำไม Well-being จึงสำคัญต่อองค์กร ?

Well-Being ที่ดีของพนักงานสามารถนําไปสู่การเพิ่มความยืดหยุ่นและปรับตัวในการทํางาน (Resilience) ช่วยให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น (Engagement) ลดการลาป่วยของพนักงานซึ่งจะช่วยเพิ่มการทำกำไรให้กับองค์กร ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและ Productivity ในการทํางานเพิ่มมากขึ้น ลดการลาออกของพนักงาน (Turnover) ที่ไม่พึงประสงค์ และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง

ในขณะเดียวกัน การมี Well-being ในระดับต่ำจะส่งผลในแง่ลบมากมายต่อองค์กร เช่น พนักงานใช้เหตุผลในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ระดับพลังงานที่มีในการทำงานลดลง องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และพนักงานจะขาดการเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

คำถามเพื่อวัดระดับ Well-being ของพนักงาน

จุดประสงค์ของการวัดค่า Well-Being ของพนักงานคือเพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานมีความปลอดภัยทางด้านร่างกายและจิตใจ มีสุขภาพที่ดี มีความพึงพอใจ และรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับองค์กร

การวัดระดับ Well-being ควรทำภายในองค์กรในทุก ๆ ไตรมาสโดยให้พนักงานบอกถึงระดับความเห็นของตนเองที่เกี่ยวกับ 5 ประโยคเชิงบวกต่อไปนี้:

ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา:

  1. ฉันรู้สึกเบิกบานและอารมณ์ดี
  2. ฉันรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
  3. ฉันรู้สึกกระฉับกระเฉงและมีพลัง
  4. ฉันตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกสดชื่น และได้พักเพียงพอ
  5. ชีวิตประจําวันของฉันเต็มไปด้วย สิ่งที่น่าสนใจ

ตัวเลือก: เห็นด้วยอย่างยิ่ง (5), เห็นด้วย (4), ค่อนข้างเห็นด้วย (3), ค่อนข้างไม่เห็นด้วย (2), ไม่เห็นด้วย (1), ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง d(0)

Well-Being Free E-book: วิธีวัดและพัฒนา Well-Being ของพนักงานในองค์กร

ผู้นำส่งเสริม Well-being ให้กับพนักงานได้อย่างไร

ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ เราได้ทำการศึกษาว่าวัฒนธรรมและการชื่นชมยอมรับ (Recognition) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและ Well-being ของพนักงานได้อย่างไรบ้าง ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าทั้งวัฒนธรรมองค์กร (Well-being ทางสังคม) และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน (Well-being ทางอารมณ์) มีส่วนทำให้พนักงานมี Well-being ที่ดี และเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้นำองค์กรจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สนับสนุน Well-being ที่ดีของพนักงาน

ผู้นำส่งเสริม Well-being ของพนักงานด้วยวิธีเหล่านี้

1. เริ่มวัด Well-being ของพนักงาน

หลาย ๆ องค์กรมีแบบสำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) อยู่แล้ว แต่การวัด Well-being ต้องถูกเพิ่มเข้าไปในแบบสำรวจนั้น คุณเพียงแค่ต้องใช้คำถามไม่กี่ข้อในการสำรวจ Well-being เพิ่มเติม แต่สิ่งนี้จะสามารถช่วยผู้นำในการมองเห็นประเด็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างทันเวลา

2. จัดการฝึกอบรมให้กับผู้จัดการเกี่ยวกับการสนทนาเรื่อง Well-being

เมื่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-life Balance) ลดน้อยลง ผู้จัดการต้องสามารถมีการสนทนาที่เหมาะสมกับพนักงานและแสดงความใส่ใจเกี่ยวกับชีวิตนอกเหนือการทำงานของพนักงาน เพื่อที่จะจัดการกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ใช้ประโยชน์จากงานทางไกลหรือแบบ Hybrid ที่ได้รับการจัดการอย่างดี

พนักงานที่ไม่เคยทำงานจากทางไกลหรือทำงานจากที่บ้านมาก่อนมักจะรู้สึก Engage กับงานเพราะพวกเขาได้รับความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พนักงานเหล่านี้ก็สามารถประสบกับภาวะหมดไฟ (Burnout) บ่อยขึ้นเช่นกัน ผู้จัดการจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ Well-being ของพนักงาน โดยการส่งเสริมตารางการทำงานที่ส่งเสริม Productivity และการทำงานแบบที่สามารถผสมผสานระหว่างงานกับการใช้ชีวิตเข้าด้วยกันได้อย่างดี

4. พิจารณาผลกระทบที่แตกต่างกันของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่มีผลต่อพนักงานบางคน

ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมและองค์กรที่จ้างพนักงานผู้หญิงจำนวนมากควรเตรียมพร้อมสำหรับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพนักงานผู้หญิงต้องพยายามรักษาประสิทธิภาพในการทำงาน ควบคู่ไปกับการดูแลลูกตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน ในกลุ่มพนักงานหน้างานอาจกำลังประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และพนักงานที่มีภูมิหลังทางเชื้อชาติที่ต่างกัน อาจต้องเผชิญกับข้อกังวลด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการเปิดรับความแตกต่าง (DEI) พนักงานต้องการวัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับและเคารพตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งเสริม DEI ได้ที่นี่

5. มองหาสัญญาณของภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ที่อาจเกิดขึ้น

การให้ "วันหยุด" กับพนักงานอาจไม่เพียงพอในสถานการณ์ปัจจุบันของเรา เมื่อพนักงานต้องการการสนับสนุนด้านการจัดการและการเชื่อมต่อทางสังคมมากกว่าเดิม ผู้จัดการควรมีส่วนร่วมกับทีมของตัวเอง แต่อย่ากดดันพวกเขาจนเกินไป เพราะในที่สุดผู้นำและผู้จัดการมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานมีความคาดหวังที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และได้รับปริมาณงานที่สามารถจัดการได้

ที่ Happily.ai เราช่วยองค์กรเสริมสร้าง Well-being ที่ดีโดยการให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจทีมของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เราประเมิน Well-being ของพนักงานโดยใช้ดัชนี WHO-5 และตัวชี้วัด Engagement อื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยการวิเคราะห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา เราจะแจ้งเตือนผู้นำเมื่อทีมของพวกเขาประสบกับความเครียดในระดับสูง หรือเมื่อสมาชิกในทีมตกอยู่ในความเสี่ยง เริ่มส่งเสริม Well-being ที่ดีให้กับพนักงานของคุณในวันนี้ เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.gallup.com/workplace/336941/wellbeing-engagement-paradox-2020.aspx

[2] https://blog.happily.ai/th/organizational-culture-and-recognition-impacts-employee-well-being-th/

[3] https://blog.happily.ai/th/well-being-tradeoffs-the-unintended-consequences-of-managing-wellbeing-in-the-workplace-th/

[4] https://blog.happily.ai/th/ceo-guide-in-creating-an-organization-that-promotes-dei/

[5] Photo by Priscilla Du Preez on Unsplash

Share this post