รากฐานความสำเร็จในองค์กรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ความสามารถในการทำกำไรอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกตนเองมีคุณค่าและมีส่วนร่วมในงานของตัวเอง วิธีเพิ่มความผูกพันองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) อย่างได้ผล คือการสร้างค่านิยมองค์กรที่เสริมสร้างวัฒนธรรมและชี้นำพฤติกรรมของคนในองค์กร บทความนี้เน้นย้ำ 10 ตัวอย่างค่านิยมหลักที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถเพิ่ม Employee Engagement และเสริมสร้างความสำเร็จในองค์กร
ตัวอย่างค่านิยมองค์กร (Core Values)
- การสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
ความสามารถในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจะสามารถเป็นผู้นำเทรนด์และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะเผชิญช่วงเวลาที่มีความผันผวนและไม่แน่นอนก็ตาม - นวัตกรรม (Innovation)
องค์กรจะก้าวหน้าและเติบโตได้ก็ขึ้นอยู่กับนวัตกรรมที่องค์กรสร้างสรรค์ขึ้น เมื่อองค์กรสนับสนุนและให้รางวัลตอบแทนแก่นวัตกรรมหรือความคิดใหม่ ๆ ก็จะกระตุ้นให้พนักงานคิดอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่ความคิดใหม่ ๆ ก้าวหน้าและได้เปรียบคู่แข่งในตลาด - มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centricity)
ลูกค้าคือกระดูกสันหลังขององค์กร เมื่อองค์กรให้ความสำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้าและผลิตสินค้าและบริการที่เกินกว่าความคาดหวังของพวกเขา องค์กรก็จะพัฒนาวัฒนธรรมการให้บริการที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้าประทับใจและกลับมาใช้สินค้าและบริการอีก - การพัฒนาไม่รู้จบ (Continuous Improvement)
การดำเนินธุรกิจในโลกที่มีการแข่งขันสูง องค์กรจะต้องพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด หากองค์กรตั้งใจพัฒนากระบวนการทำงาน รวมทั้งสินค้าและบริการอยู่เสมอ ก็จะทำให้องค์กรสามารถแข่งขันและปรับตัวกับเงื่อนไขของตลาดและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ - ความคล่องแคล่ว (Agility)
ความคล่องแคล่วหมายถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การปรับตัวกับความท้าทายและการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว - การให้อำนาจในการทำงาน (Empowerment)
การปลดล็อกประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเกี่ยวข้องกับการให้อำนาจพนักงานในการทำงาน พนักงานที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ได้เสี่ยงทำอะไรบางอย่าง และได้คิดอย่างอิสระ พนักงานก็จะรู้สึกมีส่วนร่วมและมีแรงใจทำงาน - ความกล้าหาญ (Courage)
ความกล้าหาญช่วยให้พนักงานสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทาย การตัดสินใจในเรื่องที่ยาก และปฏิบัติตามความเชื่อของตัวเอง แม้กระทั่งในสถานการณ์ที่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือพบกับความล้มเหลว - สมดุลการทำงานและชีวิต (Work-Life Balance)
สมดุลการทำงานและชีวิตที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและความสามารถในการทำงาน องค์กรที่สนับสนุนพนักงานในการสร้างสมดุลนี้สามารถลดความเครียด อัตราการเปลี่ยนงาน และการขาดงาน พร้อมเสริมสร้างความสามารถและความพึงพอใจในงาน - ความโปร่งใส (Transparency)
การแบ่งปันข้อมูลอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์เป็นแกนหลักของความโปร่งใส องค์กรที่ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ จะสามารถสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือกับพนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งส่งเสริมวัฒนธรรมที่เปิดเผยและตรวจสอบได้ - การเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Development)
การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และทักษะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเติบโตทั้งส่วนบุคคลและองค์กร โดยการให้ความสำคัญในการเรียนรู้และการพัฒนา องค
Core Values ขับเคลื่อนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรได้อย่างไร?
เหตุการณ์ที่ 1 - ความกล้าหาญและการให้อำนาจในการทำงาน
หากทีมต้องทำโปรเจคที่มีความเสี่ยงสูง และทีมต้องจับเนื้องานที่ไม่เคยทำและไม่มีความรู้มาก่อน องค์กรที่ให้คุณค่ากับความกล้าหาญและให้อำนาจพนักงานในการทำงานเต็มที่ พนักงานจะตอบรับต่อความท้าทายอย่างแข็งขัน ตัดสินใจในเรื่องที่ยากลำบากด้วยตนเอง และประเมินความเสี่ยงเพื่อผลักดันให้โปรเจคสำเร็จ
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นคือ พนักงานนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่สดใหม่ สนับสนุนให้จัดหาเครื่องมือหรือทรัพยากรที่ช่วยในการทำงานเพิ่มเติม ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาจากภายนอกเพื่อปิดช่องว่างที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอ พฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของพนักงานต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งใหม่ ๆ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาและเติบโต รวมทั้งการตัดสินใจในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
เหตุการณ์ที่ 2 - ลูกค้าเป็นศูนย์กลางและความคล่องตัว
พนักงานที่ยึดค่านิยมการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางและมีความคล่องตัว จะสามารถตอบสนองต่อเรื่องต่าง ๆ อย่างว่องไว โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า รวบรวมความเห็นและฟีดแบ็กเพิ่มเติม และร่วมมือกันทำงานเพื่อปรับปรุงสินค้าให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การจัดการสนทนากลุ่ม การทดสอบคุณภาพ หรือประสานงานกับทีมพัฒนาเพื่อปรับปรุงสินค้า เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทขององค์กรที่มีต่อความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
สถานการณ์ที่ 3 - ความยอดเยี่ยมและการเรียนรู้และพัฒนา
สมมติว่า บริษัทประสบกัยยอดขายที่ลดลง และอยากทำความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พนักงานที่ให้คุณค่ากับความโปร่งใสและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็จะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหาจุดที่จะปรับปรุงแก้ไขโดยทันที ตัวอย่างเช่น จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูลการขาย และรวบรวมข้อมูลจากทีมที่ทำงานหน้างาน เป็นต้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า องค์กรให้ความสำคัญกับความโปร่งใส ดึงให้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของพนักงานที่มีต่อการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยการมองหาโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะความสามารถเพื่อยกระดับผลงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
บทสรุป
ค่านิยมองค์กรคือองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) ผลักดันนวัตกรรมให้เกิดขึ้น และสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร เมื่อส่งเสริมและให้ความสำคัญกับค่านิยมหลัก องค์กรก็สามารถสร้างที่ทำงานที่ดึงดูดและรักษาพนักงานที่เก่งไว้ได้ รวมทั้งจัดการและรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ท้ายที่สุดองค์กรก็สามารถบรรลุเป้าหมายด้วยผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม