เสริมสร้าง Growth Mindset ด้วยการริเริ่มวัฒนธรรมแห่งการให้ Feedback ในองค์กร

พนักงานทุกคนในองค์กรต้องการฟีดแบ็ก  - การศึกษาชิ้นนี้ยืนยันถึงการให้ฟีดแบ็ก (Feedback Giving) มีความเชื่อมโยงกับความสุขและการเป็นตัวแทนองค์กรของพนักงาน (Ambassadorship)
เสริมสร้าง Growth Mindset ด้วยการริเริ่มวัฒนธรรมแห่งการให้ Feedback ในองค์กร

พนักงานทุกคนในองค์กรต้องการ Feedback  — การศึกษาชิ้นนี้ยืนยันถึงการให้ฟีดแบ็ก (Feedback Giving) มีความเชื่อมโยงกับความสุขและการเป็นตัวแทนองค์กรของพนักงาน (Ambassadorship)

Feedback (ฟีดแบ็ก) คืออะไร

การให้ Feedback คือการตอบสนองต่อกระบวนการหรือกิจกรรม (หรือข้อมูลที่ได้จากการตอบสนองดังกล่าว) Feedbackสามารถมาในรูปแบบของความเห็นสั้นๆ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย หรือการปรึกษาหารืออย่างละเอียดและมีหลักการถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในองค์กร และสิ่งใดที่องค์กรสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในอนาคต [1]

ทำไมการให้ Feedback จึงสำคัญ

การให้ Feedbackจึงเป็นสิ่งจำเป็น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญของชุดทักษะที่ผู้นำทุกคนควรมีติดตัว [2] เพราะการให้  Feedback จะช่วยในเรื่องต่อไปนี้ [3],[4]

  • ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
  • ช่วยให้การสื่อสารภายในทีมลื่นไหลและมีความต่อเนื่อง
  • ช่วยให้การทำงานของพนักงานไปในทิศทางที่ถูกต้อง
  • ช่วยให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจนร่วมกัน
  • ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพราะการให้ Feedback ที่ดีที่สุดคือการติชมเพื่อนำไปปรับปรุงหรือต่อยอดได้ (Constructive Feedback) อีกทั้งยังช่วยให้พนักงานมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย
  • เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด เพราะ Feedback จะเป็นรากฐานของกลยุทธ์, การพัฒนาตัวสินค้า, และการปรับปรุงบริการ รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ในองค์กร
เราต่างถวิลหาใครสักคนที่สามารถให้ Feedback กับเราได้ เพราะมันคือหนทางที่เราจะพัฒนา — Bill Gates

Feedback ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อผู้นำหรือหัวหน้าในองค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในองค์กร โดยองค์กรเองควรริเริ่มวัฒนธรรมแห่งการให้ Feedback อย่างจริงจัง เพราะ Feedback อยู่ใกล้เรามากกว่าที่คิดและเราสามารถใช้มันเพื่อพัฒนาศักยภาพและการทำงานของเรา อีกทั้งฟีดแบ็กยังช่วยกระตุ้นให้เราเกิดไอเดียดีๆ สร้างการตัดสินใจทางธุรกิจ และขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

รูปแบบของการให้ Feedback ที่ดี

เมื่อผู้คนเป็นฝ่ายตัดสินใจที่จะรับฟังฟีดแบ็ก พวกเขาจะไม่พยายามปกป้องตัวเองจากมันอีก — Adam Grant นักจิตวิทยาองค์กรและนักเขียนหนังสือขายดี

ผู้คนจะรับ Feedback ได้ดีที่สุดเมื่อพวกเขาเป็นฝ่ายขอ Feedback นั้นด้วยตนเอง เพราะพวกเขาพร้อมที่จะรับฟังและนำ Feedback ที่ได้มาพิจารณาอย่างจริงจังเพื่อปรับปรุงพัฒนาตนเอง ซึ่งองค์ประกอบนี้ถือเป็นรากฐานในการเสริมสร้างทัศนคติแห่งการเติบโต (Growth Mindset)

ดังนั้นการขอ Feedback จึงเป็นการตัดสินใจในการออกแบบที่สำคัญอย่างมากในการสร้างประสบการณ์การแลกเปลี่ยน Feedback ในแอพพลิเคชัน Happily.ai เพราะปัญหาของการให้ Feedback ในองค์กรทุกวันนี้คือ การที่เรารับ Feedback จากการประเมินผลการทำงาน (Performance Reviews) ซึ่งมีความโอนเอียงและไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงอย่างแท้จริง เราจึงต้องการให้ Feedback ที่สามารถต่อยอดได้ออกมาในรูปแบบที่เหมาะสมและถูกเวลา มีการวางโครงสร้างและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ เราจึงออกแบบประสบการณ์การแลกเปลี่ยน Feedback โดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญต่อไปนี้

  1. การซักถาม — การแลกเปลี่ยน Feedback เป็นไปด้วยความสมัครใจ เริ่มต้นด้วยการขอ Feedback จากใครก็ตามในองค์กรสูงสุด 2 คน (CEO หรือเพื่อนร่วมงาน ทั้งในแผนกเดียวกันและแผนกอื่นๆ)
  2. ถูกเวลา — มีการขอ Feedback ในทุกๆ ต้นเดือน (ขอ Feedback เดือนละครั้ง)
  3. มีการวางโครงสร้าง — โครงสร้างของ Feedback ที่ได้รับจะประกอบไปด้วย “อะไรคือสิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว” และ “อะไรคือสิ่งที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้”
  4. เข้าใจง่าย — มีการให้ Feedback เป็นข้อๆ (Bullet points) ในช่องว่างที่มีให้อย่างจำกัดเพื่อความกระชับ
  5. เสริมแรงบวก — มีการเลือกลักษณะเด่นของผู้ที่ได้รับ Feedback ขึ้นมาเพื่อเสริมจุดเด่นดังกล่าว
  6. ชัดเจน — มีการให้คะแนนเพื่อให้ผู้ที่ได้รับ Feedback เข้าใจว่าตนเองสามารถทำตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด (ควรได้รับการปรับปรุง, ตรงตามความคาดหมาย, เกินความคาดหมาย, หรือ โดดเด่นเป็นอย่างมาก)

สร้างวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback ด้วย Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

การศึกษาการแลกเปลี่ยน Feedback ของพนักงานในองค์กร

เราทำการเก็บข้อมูลการแลกเปลี่ยน Feedback จากพนักงานจำนวน 1,629 คน (จาก 15 บริษัท) ในช่วงเวลา 3 เดือน โดยมีพนักงาน 1,039 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมการขอและให้ Feedback ผ่านฟีเจอร์ Peer Feedback บนแพลตฟอร์ม Happily.ai ซึ่งในพนักงานที่ร่วมกิจกรรมนี้ มีพนักงาน 826 คนเป็นฝ่ายขอ Feedback ในขณะที่พนักงานอีก 853 คนเป็นฝ่ายให้ Feedback

ทั้งนี้ พนักงานแต่ละคนสามารถขอ Feedback จากเพื่อนร่วมงานได้สูงสุด 2 คนต่อเดือน และมีการแลกเปลี่ยน Feedback ระหว่างกันไม่เกิน 6 ครั้ง โดยความถี่ของการให้ Feedback ที่พบเจอบ่อยที่สุดคือ 1 ครั้ง และจำนวนการขอ Feedback เฉลี่ยคือ 3 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน

apple

พนักงานจากทั้ง 15 บริษัทที่เข้าร่วมงานวิจัยครั้งนี้มีอัตราการเข้าร่วมกิจกรรมการขอและให้ Feedback ผ่านฟีเจอร์ Peer Feedback ตั้งแต่ 31% ถึง 85% โดยพนักงาน 51% จากพนักงานทั้งหมดนี้มีการขอ Feedback จากเพื่อนร่วมงานของตนเองด้วยความสมัครใจ จากผลที่แสดงข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นที่จะได้รับ Feedback จากผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนาตนเองต่อไป

apple

กรณีศึกษา

เราทำการสำรวจ 2 บริษัทที่มีแนวทางการให้ Feedback ที่แตกต่างกันเพื่อศึกษาผลลัพธ์เชิงบวกของวัฒนธรรมการให้ Feedback โดยมีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ไปพร้อมๆ กับความสุขของพนักงาน รวมถึงแนวโน้มที่พวกเขาจะแนะนำองค์กรของตนเองกับผู้อื่น (ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานที่บ่งบอกถึงความพึงพอใจและการเป็นตัวแทนองค์กรของพนักงาน)

บริษัท A และ B มีจำนวนพนักงานใกล้เคียงกัน คือที่ 192 และ 198 คนตามลำดับ บริษัท B เป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมการให้ Feedback มากกว่า โดยมีอัตราการเข้าร่วมการแลกเปลี่ยน Feedback ของพนักงานที่ 68% ในขณะที่บริษัท A มีเพียง 43%

  • พนักงาน 50% ของบริษัท A ได้รับการประเมินว่ามีความสุข ในขณะที่บริษัท B มีมากถึง 73%
  • คะแนนดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) ของบริษัท A อยู่ที่ 14 คะแนน ส่วนบริษัท B อยู่ที่ 27 คะแนน จะเห็นได้ว่าคะแนนดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) ของบริษัท B สูงเป็น 2 เท่าของบริษัท A
  • พิจารณาคะแนนดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) เชิงลึกทำให้เราพบว่า บริษัท B มีผู้สนับสนุน (Promoter) มากกว่า (37% ต่อ 30%) และผู้ที่ไม่พอใจ (Detractor) มีจำนวนน้อยกว่า (10% ต่อ 16%) หากเทียบกับบริษัท A
apple

วัฒนธรรมการให้ Feedback ส่งผลต่อผลลัพธ์เชิงบวกอย่างเห็นได้ชัด และยังแสดงให้เห็นว่าพนักงานที่พร้อมเปิดรับ Feedback จากผู้อื่นจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความสุขได้มากกว่า

ทำอย่างไรให้พนักงานเปิดใจรับฟัง Feedback: สร้างวัฒนธรรมฟีดแบ็กในองค์กรอย่างไร

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการมีทัศนคติแห่งการเติบโต หรือความเชื่อที่ว่าทักษะสามารถต่อเติมและก่อร่างได้ด้วยเวลาและความทุ่มเท จะช่วยให้เราสามารถเปิดรับ Feedback ที่เป็นแรงผลักดันและมีความหมายแก่เรา [5] สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงในการให้ Feedback คือการที่ Feedback นั้นจะต้องผ่านการให้อย่างเหมาะสม ซึ่งเรามีหลากหลายวิธีของการให้ Feedback มานำเสนอ

  1. ชื่นชมในความทุ่มเท ความไม่ย่อท้อ หรือชื่นชมการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ แทนที่จะเป็นพรสวรรค์หรือความสามารถที่ติดตัวมาอยู่แล้ว
  2. ส่งเสริมช่วงเวลาของการพัฒนาและเรียนรู้ แทนที่จะให้ความสนใจเฉพาะผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว
  3. เลือกใช้ภาษาที่สื่อถึงการพัฒนาปรับปรุง เช่นเปลี่ยนจากใช้คำว่า Feedback เชิงลบ มาเป็น Feedback เพื่อการพัฒนา หรือการถามพนักงานถึงวิธีการก้าวข้ามความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่

และในฐานะผู้นำหรือหัวหน้าในองค์กร คุณสามารถเสริมสร้างวัฒนธรรมของการให้ Feedback และทัศนคติแห่งการเติบโตด้วยวิธีการเหล่านี้ [6]

  1. กระตุ้นให้พนักงานเป็นฝ่ายขอ Feedback มากกว่าที่คุณจะเป็นฝ่ายเริ่มก่อน สอนให้พนักงานรู้จักสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของพวกเขาขึ้นมาเอง ด้วยการเข้าหาคุณเพื่อขอ Feedback
  2. ตระหนักถึงความพยายามและขั้นตอนการดำเนินงานที่พนักงานทำ แน่นอนว่าผลลัพธ์เชิงบวกจากการทำงานคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่ผู้นำหรือหัวหน้าควรเข้าใจถึงการกระทำ รวมถึงขั้นตอนระหว่างทางที่นำพาไปสู่ความสำเร็จนั้นด้วยเช่นกัน
  3. ส่งเสริมการเลือกใช้ภาษาที่แสดงถึงทัศนคติแห่งการเติบโต สร้างภาษาของคุณเพื่อสื่อสารให้ทีมของคุณเข้าใจถึงการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

ข้อสรุป

เมื่อเรามี Growth Mindset สมองของเราจะตอบสนองต่อ Feedback ในรูปที่ต่างออกไปจากเดิม เราพร้อมจะเปิดรับ Feedback รวมถึงสร้างแรงจูงใจจากภายในเพื่อการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ในที่ทำงานมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น พนักงานมีความสุขมากขึ้น และองค์กรยังสามารถดึงดูดคนมีฝีมือให้มาร่วมงาน และยังรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพไว้ได้อีกด้วย เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่าการลงทุนสร้างวัฒนธรรมของการให้ Feedback และทัศนคติแห่งการเติบโตนั้นมีประโยชน์เพียงใด

Happily.ai จะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถสร้างวัฒนธรรมของการให้ Feedback และทัศนคติแห่งการเติบโตด้วยการแลกเปลี่ยน Feedback ระหว่างกัน รวมถึงประสบการณ์อื่นๆ อีกมากมายที่จะพัฒนาพนักงานของคุณ หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ของเราเพื่อทดลองใช้งานและเริ่มต้นเส้นทางสู่ผลลัพธ์เชิงบวก ด้วยองค์กรที่มีความสุขมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.cmtedd.act.gov.au/__data/assets/pdf_file/0003/463728/art_feedback.pdf

[2] https://www.actitime.com/project-management/importance-of-feedback/

[3] https://www.snapsurveys.com/blog/5-reasons-feedback-important/

[4]https://emxcelsolutions.com/resources/blog/why-feedback-is-important-in-an-organization/

[5] https://neuroleadership.com/your-brain-at-work/feedback-strategies-growth-mindset/

[6] “Transforming Performance Management with a Growth Mindset Approach,” white paper from the NeuroLeadership Institute

[7] https://www.freepik.com/photos/business-card'-Business card photo created by rawpixel.com - www.freepik.com

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!