ทำอย่างไรให้พนักงานที่ต้องการลาออกกลับมา Engage อีกครั้ง?

ผู้นำจะต้องสร้างทางเลือกที่ดึงดูดพนักงานที่อยากลาออกเป็นการส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการให้อิสระในการทำงานกับพนักงานมากขึ้นเพื่อทำให้พวกเขากลับมามีส่วนร่วมกับงานและองค์กร หรือการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้พวกเขาอีกครั้ง
ทำอย่างไรให้พนักงานที่ต้องการลาออกกลับมา Engage อีกครั้ง?
วิธีในการทำให้พนักงานมา Engage ในงาน


ในปีที่ผ่านมา มีพนักงานลาออกจากงานเป็นจำนวนมาก โดยที่อัตราการลาออกโดยเฉลี่ยในปี 2564 สูงขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับปี 2563 พนักงานหลาย ๆ คนไม่มีความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่จนต้องยื่นใบลาออกทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้มีงานใหม่รองรับ เพราะเหตุนี้ทั้งการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถหรือการรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กรเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากมากขึ้นสำหรับผู้นำองค์กร

Laura Gassner Otting ผู้เขียนบทความใน Harvard Business Review  ได้ทำการสำรวจโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 5,600 คนจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึงธันวาคม 2564 จากการสำรวจนี้พบว่าความไม่พึงพอใจในงานของพนักงานเกิดขึ้นกับพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และความไม่พอใจนี้มีขึ้นตั้งแต่ก่อนที่โลกของเราจะประสบปัญหาโรคระบาดเสียอีก สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าปัญหาความไม่พึงพอใจในงานของพนักงานนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มพนักงานบางช่วงอายุหรือเป็นผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เท่านั้น

เมื่อพนักงานต้องการลาออกสิ่งแรกที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการทำเพื่อรักษาพนักงานเหล่านั้นไว้ก็คือการปรับเงินค่าจ้างให้สูงขึ้น แต่จากการสำรวจครั้งนี้พบว่าน้อยกว่า 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าค่าจ้างเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของความพึงพอใจในการทำงานของพวกเขา สรุปได้ว่าการเสนอการเพิ่มค่าตอบแทนให้กับพนักงานที่ต้องการลาออกนั้นเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพมากนัก พนักงานต้องการงานที่สร้างแรงบันดาลใจและมีความสอดคล้องระหว่างตัวตนของพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาทำ สิ่งนี้จะทำให้พนักงานมีส่วนร่วม มีประสิทธิผล และมีความภักดีในงานมากขึ้น พวกเขาอยากเข้าใจว่างานที่พวกเขาทำเป็นประจำทุกวันจะสามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นได้อย่างไรโดยที่พวกเขาต้องมีอิสระในการกำหนดบทบาทการทำงานของตัวพวกเขาเอง

วิธีในการทำให้พนักงานที่ไม่ Engage กลับมา Engage ในงานอีกครั้ง

จากบทความของ Laura Gassner Otting ใน Harvard Business Review  ได้นำเสนอสี่วิธีที่ผู้นำสามารถทำให้พนักงานที่ต้องการลาออกกลับมา Engage กับงานของพวกเขาอีกครั้งโดยให้สิ่งที่พวกเขาต้องการมากขึ้น เช่น ความสอดคล้อง แรงบันดาลใจ อิสระ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับงานของพวกเขา ด้วยการทำสิ่งเหล่านี้

ให้ความสำคัญกับความสอดคล้องระหว่างงานและชีวิตนอกเหนือการทำงาน (Work-life Alignment)

พนักงานในช่วงอายุ 25 ถึง 45 เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงที่เติบโตทางอาชีพการงานอย่างรวดเร็วที่สุด และในขณะเดียวกันพวกเขายังต้องประสบกับความรับผิดชอบส่วนตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงเป็นเรื่องยากที่พนักงานเหล่านี้จะบรรลุความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life Balance) ในขณะที่อาจจะต้องวุ่นวายกับการจัดงานแต่งงาน ดูแลลูก ๆ และพ่อแม่สูงอายุ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมและการประชุมพัฒนาวิชาชีพต่าง ๆ แทนที่จะมองหา Work-life Balance พนักงานงานเหล่านี้มักมองหาความสอดคล้องระหว่างการทำงานและชีวิตนอกเหนือการทำงาน ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเวลาที่พวกเขาต้องใช้ในการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับการที่งานของพวกเขาอาจจะเพิ่มหรือลดเวลาที่พวกเขามีนอกเหนือการทำงานเช่นกัน

จากการสำรวจที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ พบว่าพนักงานกว่า 65% ต้องการมีอำนาจในการควบคุมงานของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมทีมที่พวกเขาได้รับมอบหมาย โครงการที่พวกเขาทำ หรือชั่วโมงการทำงานของพวกเขาเอง แต่ถึงแม้พนักงานหลาย ๆ คนจะมีความคาดหวังว่าจะมีอำนาจในการควบคุมมากขึ้นเมื่อพวกเขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม โดยเฉพาะกับพนักงานที่เป็นผู้หญิง สิ่งนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมอัตตราการลาออกของพนักงานผู้หญิงจึงสูงกว่าพนักงานผู้ชาย

ในฐานะผู้นำคุณต้องถามพนักงานของคุณว่างานที่พวกเขาทำในแต่ละวันช่วยให้พวกเขาเกิดความก้าวหน้าในอาชีพการงานแบบที่พวกเขาต้องการหรือไม่ สามารถหล่อเลี้ยงครอบครัวของพวกเขาไหม หรือมีความสอดคล้องกับค่านิยมของพวกเขามากแค่ไหน เพื่อให้ผู้นำสามารถทำงานร่วมกับพนักงานในการแก้ไขปัญหาที่พวกเขากำลังพบเจอ

💡
How A Marketing firm used Happily to facilitate recognition, feedback, and engagement with an adoption rate of 100%

The HR and Development team was looking for a platform that would help them understand employees in real-time, facilitate feedback, and provide insights and reporting that enhances their workflow and people processes. Their main challenge was the generation gap in the company; management struggled to understand what can or would motivate junior level employees to perform better.

After working with Happily, here are some of the results they observed:
a) 89% participation rate for peer-to-peer recognition - team members more open to give appreciation and praise for job well done.
b) Encouraged a healthier lifestyle - a combined total of +450,000 km achieved in the Running Track

“The app has good potential for creating more feedback loops between staff and also to highlight who's good at what, etc. and I feel this can be utilized more. The biggest positive side to me is definitely that we're seeing a lot more recognition of other's work, which is great."
- Comment from an Employee at the Marketing Firm

ค้นหาว่าอะไรเป็นแรงผลักดันสำหรับพนักงานและกำหนดรูปแบบการทำงานงานร่วมกัน

ในการสำรวจนี้ยังพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้นำของพวกเขาเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงาน พนักงานเกือบทุกคนกล่าวว่าพวกเขาต้องการทำงานให้กับผู้นำที่เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขา แต่มีเพียง 36% เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขารู้สึกได้ทำเช่นนั้นจริง ๆ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณในฐานะหัวหน้างานกับพนักงานเป็นวิธีหนึ่งที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณกับพนักงาน และสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพวกเขา

ผู้นำต้องทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นแรงผลักดันในการทำงานสำหรับพนักงาน โดยการถามพวกเขาว่าอะไรทำให้พวกเขาอยากมาทำงาน ทีม? องค์กร? หรือเงินเดือน? และสิ่ง ๆ นั้นยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้พวกเขาอยากมาทำงานอยู่หรือไม่ ผู้นำต้องเปิดใจรับฟังคำตอบของพนักงาน ในบางครั้ง คำตอบของพวกเขาอาจทำให้คุณรู้สึกประหลาดใจ ตื่นเต้น หรือสับสน แต่สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจทีมของคุณมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้นำได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงผลักดันในการทำงานของพนักงาน ผู้นำจะสามารถมอบหมายงานที่มีความหมายต่อพวกเขามากขึ้นและกำหนดรูปแบบเป้าหมายทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายไตรมาสตามความต้องการเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ ผู้นำจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานของพนักงาน เพื่อที่จะได้สามารถนำทางให้พวกเขาได้ทำงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทและความต้องการส่วนตัวของพวกเขาในอนาคตได้ดีขึ้น

ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหาบุคลากร

สำหรับพนักงานหลาย ๆ คน การสรรหาบุคลากรเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับกับพวกเขาและทีมของพวกเขาโดยตรง แต่พวกเขากลับไม่มีไม่ส่วนร่วมในกระบวนการนี้ ทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมน้อยลง มีอิทธิพลน้อยลง และมีความสำคัญน้อยลง จริง ๆ แล้ว การสรรหาพนักงานใหม่ไม่เพียงแต่จะนำเสนอโอกาสในการดึงดูดผู้มีความสามารถและมุมมองใหม่ ๆ เข้ามาสู่องค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มีพื้นที่สำหรับการจุดประกายความตื่นเต้นอีกครั้งให้กับพนักงานในปัจจุบันของคุณด้วย

ตัวอย่างเช่น แทนที่ผู้นำหรือผู้จัดการจะโพสต์รายละเอียดงานแบบเดิม ๆ สำหรับบทบาทหน้าที่ที่กำลังว่างอยู่ ผู้จัดการควรใช้เวลาเพื่อพูดคุยกับพนักงานปัจจุบันว่ารายละเอียดงานเดิมนั้นยังคงมีความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของเขาอยู่หรือไม่ และขอความช่วยเหลือจากพวกเขาในการปรับปรุงรายละเอียดงานที่จะใช้ในการสรรหาบุคลากร กระบวนการนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรทั้งภายนอกและภายใน ไม่เพียงแต่ผู้สมัครงานเท่านั้นที่อ่านคำอธิบายรายละเอียดตำแหน่งงาน แต่พนักงานในปัจจุบันเองก็อ่านและรู้สึกสนใจ ( แบบไม่เปิดเผย ) ในสิ่งนี้ด้วยรายละเอียดงานที่ดีจะต้องเชื่อมโยงความรับผิดชอบของตำแหน่งหน้าที่กับวัตถุประสงค์ขององค์กร การอ่านรายละเอียดงานควรจะช่วยให้พนักงานปัจจุบันของคุณจุดประกายความสุขและรู้สึกตื่นเต้นที่จะมีพนักงานคนใหม่เข้ามาสู่องค์กรตั้งแต่แรกเริ่ม และเป็นสิ่งที่ต้องย้ำเตือนให้พนักงานก็คืองานที่ทำเป็นประจำของพวกเขามีความสอดคล้องกับภาพรวมขององค์กรอย่างไร

เชื่อมโยงงานของพนักงานกับภาพรวมความต้องการและเป้าหมายขององค์กร

ในการสำรวจครั้งนี้ ยังพบอีกว่ามีเพียงครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีอายุระหว่าง 25 ถึง 45 ปี ที่รู้สึกว่าพวกเขาสามารถเชื่อมโยงงานที่พวกเขาทำเป็นประจำทุกวันกับความต้องการเชิงกลยุทธ์ขององค์กรได้ 92.4% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดรายงานว่าพวกเขาสามารถทำงานได้ดีขึ้นหากเห็นว่าคุณภาพของงานที่พวกเขาทำมีความสำคัญต่อภาพรวมขององค์กรอย่างไร

ผู้นำสามารถใช้บทบาทที่มีในกระบวนการนี้ได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่าง ๆ ในการทำงานให้กับสมาชิกในทีมที่กำลังสงสัยว่า "ความต้องการขององค์กรเหล่านี้ส่งผลต่อฉันอย่างไร" ช่วยให้พวกเขาเห็นความเกี่ยวโยงที่ชัดเจนระหว่างงานที่พวกเขาทำในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน หรือแต่ละไตรมาส ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายโดยรวมขององค์กรในระยะยาวอย่างไร

หากคุณกำลังประสบปัญหาการลาออกของพนักงานที่มีความสามารถ คุณในฐานะผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่เสนออีกทางเลือกหนึ่งแทนการลาออกให้กับพวกเขา ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจะต้องสร้างทางเลือกที่ดึงดูดพวกเขาเป็นการส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการให้อิสระในการทำงานกับพนักงานมากขึ้นเพื่อทำให้พวกเขากลับมามีส่วนร่วมกับงานและองค์กร หรือการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้พวกเขาอีกครั้ง

โดยทางเรา Happily.ai ได้จัดทำคู่มือการสร้างแรงจูงใจหรือ The Motivation Guide คุณสามารถดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่ อย่าลืมว่าผู้นำคือบุคคลที่สำคัญที่สุดที่จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยสนับสนุนให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุด

happily.ai

เอกสารอ้างอิง

[1] https://hbr.org/2022/05/how-to-re-engage-a-dissatisfied-employee

[2] Photo by Rowen Smith on Unsplash

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!