แบบสอบถามความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement Survey) เป็นเครื่องมือช่วยองค์กรประเมินความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจ และความมุ่งมั่นของพนักงาน ผลการประเมินจะช่วยระบุแง่มุมที่ต้องปรับปรุงดูแล เพื่อพัฒนา Engagement ของพนักงานให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้างแบบสอบถามที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการวางแผนและการพิจารณาอย่างรอบด้าน บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการสร้างแบบสอบถาม Employee Engagement ที่องค์กรสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที

จะสร้างแบบสอบถาม Employee Engagement ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ?

1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์

เริ่มต้นจากสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ กำหนดเป้าหมายของการจัดทำแบบสอบถามให้ชัดเจน องค์กรต้องให้คำตอบได้ว่า จะจัดทำแบบสอบถามไปเพื่ออะไร เช่น เพื่อค้นหาและระบุจุดและประเด็นที่ต้องพัฒนา หรือเพื่อวัดผลของโปรแกรมการสร้างความผูกพันของพนักงาน เป็นต้น และที่สำคัญวัตถุประสงค์จะต้องสามารถวัดและประเมินผลได้ด้วย

2. สั้นและตรงประเด็น

โดยปกติแล้ว แบบสอบถามที่ไม่ยาวจนเกินไป จะได้รับผลตอบรับที่ดีมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามมากกว่า เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ องค์กรจำเป็นต้องออกแบบแบบสำรวจให้สั้นและเจาะไปที่ประเด็นที่สำคัญต่อผลลัพธ์ขององค์กรจริง ๆ แบบสอบถามไม่ควรถามคำถามเกิน 20 คำถาม และคำถามจะต้องเข้าใจได้ง่ายและไม่กำกวม

3. ประกอบด้วยคำถามหลายประเภท

แบบสอบถาม Employee Engagement ควรจะมีคำถามหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น คำถามปลายเปิด คำถามที่มีตัวเลือกให้เลือกตอบหลายตัวเลือก และคำถามที่ใช้สเกลหรือเลือกระดับคะแนน โดยแต่ละประเภทก็จะตอบโจทย์กับวัตถุประสงค์ของคำถามที่แตกต่างกันออกไป องค์กรจึงควรพิจารณาเลือกใช้อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ตอบโจทย์ตั้งต้นมากที่สุด

4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและได้ใจความ

ภาษาที่ใช้ในแบบสอบถามต้องกระชับและเข้าใจง่าย ควรหลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะ หรือศัพท์ทางเทคนิคต่าง ๆ ที่ไม่ได้พบเห็นได้ทั่วไป และภาษาที่ใช้ก็ต้องไม่โน้มน้าวให้พนักงานเลือกตอบไปในทางใดทางหนึ่งด้วย

5. ปกปิดข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม

องค์กรต้องทำให้พนักงานมั่นใจว่า จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามโดยเด็ดขาด การปกปิดตัวตนจะช่วยให้ได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด

6. ทดลองแบบสอบถามก่อนใช้งานจริง

หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว ก็ควรทดลองใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างเล็ก ๆ ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่า คำถามเข้าใจง่ายและได้ข้อมูลที่เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางเอาไว้ แล้วนำความคิดเห็นและฟีดแบ็กที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างมาพัฒนาปรับปรุงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้งานจริง

7. แชร์ผลที่ได้จากแบบสอบถามกับพนักงานและนำข้อมูลไปดำเนินงานต่อไป

การสื่อสารผลและข้อมูลจากแบบสำรวจเป็นเรื่องสำคัญ โดยมีช่องทางให้เลือกหลากหลาย เช่น การประชุมบริษัท อีเมล หรือระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) พนักงานควรได้รับรู้ถึงแผนพัฒนา Engagement ของพนักงานหรือการมีส่วนร่วมในองค์กร และการนำข้อมูลจากแบบสอบถามไปประมวลผลและดำเนินการต่อนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าองค์กรรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน และต้องการดูแลและพัฒนาพนักงานจริง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานได้เป็นอย่างดี

แบบสอบถาม Employee Engagement เป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรใช้เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานเชิงบวกและมี Productivity หรือก็คือช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร ดังนั้นเราจึงออกแบบและพัฒนาตัวอย่างแบบสอบถาม Employee Engagement ที่พร้อมนำไปใช้งานได้ทันที โดยที่แบบสอบถามของเราครอบคลุม 11 มิติชีวิตการทำงาน เช่น มิติความสุข ความพึงพอใจ การชื่นชมยอมรับ การผ่อนคลายในการทำงาน และการพัฒนาตนเอง เป็นต้น ช่วยให้องค์กรเพิ่ม Engagement ของพนักงานได้อย่างรอบด้าน

หากดำเนินการตามวิธีการข้างต้นและนำตัวอย่างแบบสอบถามของเราไปปรับใช้ด้วย องค์กรก็จะสามารถประเมินระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร และข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามก็จะบอกความต้องการและความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อองค์กรได้อย่างแท้จริง ดาวน์โหลดตัวอย่างแบบสอบถาม Employee Engagement เพื่อพัฒนา Engagement ในองค์กรของคุณได้ที่นี่

Share this post