Well-being Tradeoffs: ผลกระทบที่ไม่คาดคิดของการจัดการ well-being ในที่ทำงาน

Well-being ที่ไม่ดีของพนักงานเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการขาดงานและการลาออก ผู้นำและผู้จัดการควรพิจารณาว่าการปฏิบัติของพวกเขาอาจส่งผลทั้งดีและไม่ดีต่อwell-being ในด้านต่างๆ ได้อย่างไร และจัดการกับ well-being tradeoffs อย่างถูกต้อง
Well-being Tradeoffs:  ผลกระทบที่ไม่คาดคิดของการจัดการ well-being ในที่ทำงาน

Well-being ของพนักงานเป็นประเด็นหลักที่องค์กรควรให้ความสำคัญ

จากงานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า 42% ของพนักงานทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการมีสุขภาพจิตที่แย่ลงตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 จากการสำรวจนายจ้างประจำปีของ McKinsey พบว่าพฤติกรรมสุขภาพ หรือ การปฏิบัติตัวของพนักงานที่ส่งผลต่อสุขภาพ เป็นหนึ่งในประเด็นที่เป็นที่กังวลอันดับต้นๆ สำหรับนายจ้าง และนายจ้างกว่า 90% กล่าวว่าโควิด-19 มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ well-being หรือ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความอยู่รอดขององค์กร

Well-being หรือ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานจะนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกมากมาย เช่น การเพิ่มพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและผลการปฏิบัติงานที่ดีของพนักงาน รวมไปถึงการช่วยลดอัตตราการขาดงานและการลาออกของพนักงานอีกด้วย คนส่วนใหญ่มักเห็นตรงกันว่าการทำให้พนักงานมีความสุขและมีสุขภาพที่ดีขึ้นนั้นจะเพิ่มความพยายามในการทำงาน และทำให้พนักงานผลิตผลงานที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม well-being ที่ดีไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง ผู้นำและผู้จัดการทุกคนจำเป็นต้องให้ความร่วมมือในการให้ความสำคัญกับ well-being ของพนักงาน

องค์ประกอบสามด้านของ Well-being

คำว่า 'well-being' มักถูกให้คำนิยามโดยนักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาจากองค์ประกอบสามด้านประกอบไปด้วย: well-being ทางอารมณ์ (psyhchological) ทางกาย (physical) และทางสังคม (social)

  1. Well-being ทางอารมณ์ประกอบไปด้วย ความพึงพอใจ ความเคารพในตนเอง และความสามารถของตนเอง
  2. Well-being ทางกายประกอบไปด้วย การบำรุงร่างกาย ที่อยู่อาศัย สุขภาพ เครื่องแต่งกาย และการเคลื่อนย้ายเคลื่อนไหว
  3. Well-being ทางสังคมประกอบไปด้วย การมีส่วนร่วมในสังคม การได้รับการยอมรับ และการช่วยเหลือ

โดยที่เราจะสามารถประเมินระดับ well-being ของพนักงานได้จากองค์ประกอบทั้งสามด้านนี้

ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ เราได้ทำการศึกษาว่าวัฒนธรรมและการชื่นชมยอมรับส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและ well-being ของพนักงานได้อย่างไรบ้าง ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าทั้งวัฒนธรรมองค์กร (well-being ทางสังคม) และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน (well-being ทางอารมณ์) มีส่วนทำให้พนักงานมี well-being ที่ดี และเป็นสิ่งสำคัญมากที่องค์กรจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สนับสนุน well-being ที่ดีของพนักงาน

การจัดการกับ well-being tradeoffs

ปัญหาหลักของการสร้าง well-being ที่ดีให้กับพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ผู้นำและผู้จัดการส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจใน well-being ของพนักงานมากพอ ผู้นำและผู้จัดการหลาย ๆ คนได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อปรับปรุง well-being ของพนักงานโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อ well-being ในทุก ๆ ด้าน การวิจัยแสดงให้เห็นว่าแนวปฏิบัติที่มีอยู่มักช่วยยกระดับ well-being ในด้านหนึ่ง ในขณะที่ลดระดับ well-being ในอีกด้านหนึ่ง ตัวอย่างเช่น:

  • Tradeoffs ระหว่าง well-being ทางอารมณ์และทางสังคม: โดยส่วนมากผู้จัดการจะให้รางวัลกับพนักงานเพื่อที่จะเพิ่ม well-being ทางอารมณ์ของพนักงาน รางวัลมักจะช่วยเพิ่ม well-being ทางอารมณ์โดยการทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า แต่อาจจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมและการเปรียบเทียบระหว่างเพื่อนร่วมงาน ซึ่งคุกคาม well-being ทางสังคมของพนักงาน
  • Tradeoffs ระหว่าง well-being ทางกาย ทางอารมณ์ และทางสังคม: เพื่อที่จะกระตุ้น well-being ทางสังคมผู้จัดการมักจะใช้การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ซึ่งรวมถึงการแก้ปัญหา การระดมความคิด และการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน แม้ว่ากิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน แต่ก็อาจลด well-being ทั้งทางกาย โดยที่พนักงานอาจคิดว่ากิจกรรมเหล่านี้ทำให้พวกเข้ารู้สึกเหนื่อยเกินไป และลด well-being ทางอารมณ์ โดยที่พนักงานบางคนอาจรู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมลดอิสระในการทำงานของเขาหรือทำให้เขาไม่สามารถกำหนดทิศทางการทำงานด้วยตัวเขาเอง
  • Tradeoffs ระหว่าง well-being ทางอารมณ์และทางกาย: ผู้จัดการมักจะสนับสนุนให้พนักงานมีความมั่นใจในศักยภาพของตัวเองโดยมอบหมายงานที่ท้าทายให้กับพนักงาน ซึ่งสิ่งนี้สามารถส่งเสริม well-being ทางอารมณ์ของพนักงานโดยให้ความรู้สึกถึงความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม งานที่ซับซ้อนมักต้องใช้เวลา พลังงาน และความพยายามอย่างมากจากพนักงาน ทำให้ well-being ทางกายของพวกเขาแย่ลง

ผู้นำจัดการกับ well-being tradeoffs ได้อย่างไรบ้าง

แนวทางการปฏิบัติด้านการจัดการ well-being ของพนักงานควรสร้างประโยชน์ให้กับ well-being ในทุก ๆ ด้านพร้อม ๆ กัน และผู้จัดการสามารถทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้โดยการพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการตัดสินใจและวิธีการของพวกเขาส่งผลต่อ well-being ในด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะมอบหมายงานที่ยากและซับซ้อนให้กับพนักงาน ผู้จัดการควรเลือกมอบหมายงานที่ท้าทายแต่ไม่ก่อให้เกิดความเครียดมากจนเกินไป หรือเมื่อบริษัทต้องการสร้างสรรค์นโยบายด้านความปลอดภัยใหม่ ๆ  ก็ควรที่จะให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริม well-being ทั้งสามด้านไปพร้อมๆ กัน พนักงานจะรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถและมีคุณค่า (ส่งเสริม well-being ทางอารมณ์) พวกเขาจะมีโอกาสในการทำงานและสื่อสารกับพนักงานคนอื่นๆ (ส่งเสริม well-being ทางสังคม) มากไปกว่านั้นนโยบายด้านความปลอดภัยยังจะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บและการขาดงานของพนักงานอีกด้วย (ส่งเสริม well-being ทางกาย)

เพื่อที่จะลด well-being tradeoffs เราขอสนับสนุนให้ผู้นำและผู้จัดการให้ความสนใจกับการปฏิบัติของพวกเขาว่ามีผลต่อ well-being ของพนักงานอย่างไรบ้าง โดยการทำสิ่งเหล่านี้:

  1. ตระหนักถึงความไม่สอดคล้องกันและความขัดแย้งในแนวทางการบริหารจัดการ
  2. คิดถึงผลที่ตามมาในระยะยาวของการปฏิบัติของผู้นำและผู้จัดการ
  3. ขอฟีดแบ็กจากพนักงานเกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของพวกเขา และดำเนินการตามฟีดแบ็กที่ได้รับ
  4. ให้ความสำคัญกับความต้องการของพนักงานมากกว่าผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
  5. พิจารณาความเป็นไปได้อื่น ๆ และมีความเต็มใจที่จะประเมินการตัดสินใจของตนเองอีกครั้ง

บทสรุป

สุขภาพจิตของพนักงานที่แย่ลงไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อความพยายาม การสร้างผลงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของตัวพนักงานเอง แต่ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อองค์กรอีกด้วย Well-being ที่ไม่ดีเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการขาดงานและการลาออกของพนักงาน เมื่อผู้นำและผู้จัดการมีความตั้งใจที่จะให้ความสำคัญกับ well-being ของพนักงานแล้ว ผู้นำและผู้จัดการควรตระหนักด้วยว่าการปฏิบัติของพวกเขาส่งผลต่อ well-being ในด้านต่าง ๆ ของพนักงานได้อย่างไรบ้าง

ที่ Happily.ai เราช่วยองค์กรเสริมสร้าง well-being ที่ดีโดยการให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจทีมของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เราประเมิน well-being ของพนักงานโดยใช้ดัชนี WHO-5 และตัวชี้วัด engagement อื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยการวิเคราะห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา เราจะแจ้งเตือนผู้นำเมื่อทีมของพวกเขาประสบกับความเครียดในระดับสูง หรือเมื่อสมาชิกในทีมตกอยู่ในความเสี่ยง เริ่มส่งเสริม well-being ที่ดีให้กับพนักงานของคุณในวันนี้ เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ Happily.ai

apple

เอกสารอ้างอิง

https://blog.happily.ai/th/organizational-culture-and-recognition-impacts-employee-well-being-th/

https://www.mckinsey.com/industries/life-sciences/our-insights/using-digital-tech-to-support-employees-mental-health-and-resilience

https://hbr.org/2020/08/8-ways-managers-can-support-employees-mental-health

https://www.mckinsey.com/industries/healthcare-systems-and-services/our-insights/national-employer-survey-reveals-behavioral-health-in-a-covid-19-era-as-a-major-concern

https://www.retreatbehavioralhealth.com/behavioral-health-vs-mental-health/

Danna, K., & Griffin, R. W. (1999). Health and well-being in the workplace: A review and synthesis of the literature. Journal of Management, 25(3), 357–384.

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!