เมื่อองค์กรมี Core Value แล้ว ขั้นตอนต่อไปคืออะไร?

มาปลดล็อกศักยภาพค่านิยมหลัก (core value) ขององค์กร ถอดรหัสออกมาให้กลายเป็นพฤติกรรมจริงไปกับเรา ผ่านกลยุทธ์ที่ผ่านการรับรองทางวิทยาศาสตร์ และเป็นขั้นเป็นตอน มาดูกันว่าเครื่องมืออย่าง Happily.ai จะสามารถเปลี่ยนค่านิยมเหล่านี้ให้ทำได้จริงในชีวิตประจำวันได้ยังไงบ้าง
เมื่อองค์กรมี Core Value แล้ว ขั้นตอนต่อไปคืออะไร?
Photo by Walls.io / Unsplash

การกำหนดค่านิยมหลักขององค์กรในขั้นแรกเป็นกระบวนการที่สำคัญ แต่การผสานค่านิยมเหล่านั้นให้เป็นหนึ่งเดียวกับวัฒนธรรมองค์กรของคุณต่างหากที่เป็นจุดกำเนิดของการเปลี่ยนแปลง บทความนี้นำเสนอ roadmap ของการปรับพฤติกรรมที่มีวิทยาศาสตร์รองรับและสามารถนำไปประยุกต์ได้จริง เพื่อให้ core value ที่องค์กรของคุณตั้งใจรังสรรค์ กลายเป็นแบบอย่างพฤติกรรมสำหรับพนักงานในทุกๆ วัน

ศาสตร์เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนแต่ละคน ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่ต้องผ่านกระบวนการวางแผน เรียบเรียง และฝึกฝน จากโมเดลพฤติกรรมของ Fogg การเปลี่ยนพฤติกรรมมีสัญญาณ (prompts) เป็นตัวกระตุ้น และจะเกิดขึ้นได้ที่จุดตัดระหว่างแรงจูงใจ (motivation) และความสามารถ (ability) โดยงานวิจัยชี้ว่าพนักงานที่ได้รับการกระตุ้น (cues) อย่างสม่ำเสมอ มีสมรรถภาพและแรงผลักดันที่เพียงพอ มีแนวโน้มจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรได้ดีกว่า

หากพนักงานได้รับคำชม ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชมแบบทางการหรือไม่ทางการ ก็ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้พวกเขาพัฒนาผลงานได้ดีขึ้น และมีแรงจูงใจมากขึ้น นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Organizational Behavior, 2019)

เปลี่ยนค่านิยมให้กลายเป็นพฤติกรรมด้วย Happily.ai

Happily.ai ช่วยกระตุ้นและปรับค่านิยมองค์กรให้เข้ากับชีวิตการทำงานในแต่ละวัน เราพัฒนาเว็บไซต์จากงานวิจัย รวมถึงวิธีการที่ได้รับรางวัลและการยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดพฤติกรรมตามที่องค์กรต้องการ

พลังของ "ความสำคัญ"

McKinsey (2022) พบว่าการมีส่วนร่วมของพนักงานมากกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ถูกขับเคลื่อนด้วยการชื่นชมหรือให้ความสำคัญ ไม่ใช่การให้เงินหรือของรางวัล นับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนประสบการณ์ของพนักงานที่สำคัญอย่างยิ่ง Happily.ai จึงนำ insight นี้มาปรับใช้ สร้างกลไกเพื่อให้พนักงานปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับ core value มีระบบการชื่นชมและมอบรางวัลทันทีเมื่อพนักงานทำตามแบบอย่างนี้ เป็นการสร้างแรงขับเคลื่อนเชิงบวกให้พนักงานมีการกระทำสอดคล้องกับค่านิยมองค์กร

กรณีศึกษา: แบรนด์สินค้าหรูรายใหญ่

มีตัวอย่างจากแบรนด์สินค้า hi-end อันดับต้นๆ ที่สร้างโปรแกรมการชื่นชมระหว่างเพื่อนพนักงาน ผลที่ตามมาคือพนักงานสามารถปฏิบัติตาม core value ขององค์กรได้สูงกว่า 70% คำชื่นชมที่พนักงานได้รับนั้นมีหลากหลายระดับ ตั้งแต่คำชมเล็กๆ จนถึงคำชมที่สามารถสร้าง impact ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้จริง

การปรับใช้ Core Values
Happily.ai's peer recognition เป็นโปรแกรมช่วยให้คุณใช้ core value ขององค์กรเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง เราจะทำให้ value บางอย่าง เช่น นวัตกรรม การบริการ ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นเจ้าของ สามารถจับต้องได้จริง ปรับใช้ในชีวิตได้ ไม่ใช่แค่การบอกเล่า แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นภาพรวมของ peer recognition จะมี % ลดลงเล็กน้อย แต่การยอมรับและชื่นชมจากเพื่อนร่วมงานซึ่งเกี่ยวข้องกับ core values ขององค์กรนั้นสูงถึง 80% และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา

Employees took very little time to adjust to recognizing their peers based on company values. The learning curve was quick to climb.

ให้หัวหน้างานและ Manager เป็นแบบอย่าง
สิ่งที่หัวหน้างานต้องทำไม่ใช่แค่การสอนด้วยคำพูด แต่เป็นการลงมือทำให้เห็นว่าเราจะปรับใช้ค่านิยมหลักในชีวิตจริงได้อย่างไร แต่ละการกระทำ การตัดสินใจ และทุกการสื่อสารเป็นส่วนประกอบเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่งขึ้น ดังเช่นตัวอย่างของแบรนด์ hi-end บรรดาผู้จัดการไม่ได้ทำหน้าที่แค่ประเมินผลงานลูกน้อง แต่เป็นแบบอย่างของการลงมือทำจริง ให้เห็นวิธีนำ value ไปใช้ในทุกการกระทำและการตัดสินใจ

กลยุทธ์สำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยน core value ขององค์กรให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้ ปฏิบัติได้ในทุกๆ วัน ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่จะช่วยเปลี่ยนหลักการพื้นฐานให้กลายเป็น action และประสบการณ์จริงสำหรับสมาชิกทุกคนในทีม

1. ผสาน Core Value เข้ากับหัวใจสำคัญของกระบวนการดำเนินงาน

การจ้างงาน: เริ่มต้นการประเมินความเข้ากันของวัฒนธรรม (cultural assessment) ในกระบวนการรับสมัครพนักงานใหม่ ใช้เครื่องมืออย่าง MyCulture.ai จะช่วยประเมินว่าตัวตนผู้สมัครและค่านิยมขององค์กรไปด้วยกันได้หรือไม่ คำถามสัมภาษณ์ที่ตรงจุดและแบบประเมินที่แม่นยำจะแสดง insights ว่าตัวตนผู้สมัครและค่านิยมหลักขององค์กรเข้ากันได้มากน้องเพียงใด

การประเมินผลงาน: รูปแบบการประเมินพนักงานต้องมองถึงค่านิยมขององค์กรด้วย ไม่ใช่แค่การมองจากชุดทักษะและผลงานที่ออกมาเท่านั้น แต่ยังต้องดูว่าพวกเขาปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กรได้หรือไม่ และต้องทำให้แง่มุมของค่านิยมเป็นมาตรฐานของกระบวนการประเมินผล

การตั้งเป้าหมาย: ทำให้เป้าหมายเฉพาะบุคคล เป้าหมายของทีม และเป้าหมายขององค์กรสอดคล้องกันด้วย core value เช่น ถ้า core value ขององค์กรคือนวัตกรรม (innovation) ให้ตั้งเป้าหมายของทุกภาคส่วนที่มีความเฉพาะเจาะจงและวัดผลได้ โดยเกี่ยวข้องกับไอเดียใหม่ๆ ของพนักงาน การพัฒนา รวมถึงการเริ่มต้นคิดและผลิตสิ่งใหม่

2. ปรับใช้ Recognition Program ที่มีประสิทธิภาพ

เริ่มต้นใช้ recognition program ผ่าน platform ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะอย่าง Happily.ai เพื่อการรับรู้และให้รางวัลกับพนักงานที่ปฏิบัติสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรได้เป็นอย่างดี ชื่นชมพนักงานเหล่านี้แบบเปิดเผย เพื่อสร้างแรงกระตุ้นเชิงบวกและเป็นการสนับสนุนให้คนอื่นๆ ในทีมปฏิบัติตามแบบอย่างที่ดี

3. ให้หัวหน้างานและผู้จัดการเป็นแบบอย่างทางวัฒนธรรม (Cultural Ambassador)

เป็นแบบอย่างให้เห็น: หัวหน้างานและผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างของพฤติกรรมที่เหมาะสม สะท้อนถึง core value ขององค์กร สิ่งที่ทำต้องเป็นตัวอย่างจริงให้ทุกคนในทีมนำไปทำตามในชีวิตประจำวันได้

สื่อสารออกมา: หัวหน้างานต้องสนับสนุนการสนทนาแบบเปิดกว้างและโปร่งใส สื่อสารอย่างชัดเจนว่าค่านิยมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นการกระทำและการตัดสินใจในชีวิตจริงได้อย่างไร

มีความรับผิดชอบ: ผู้จัดการต้องรับผิดชอบในการนำเสนอ ส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดค่านิยมขององค์กรภายในทีมที่ตนเองดูแล สร้างกลไกที่จะใช้วัดและประเมินเกี่ยวกับค่านิยม ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประเมินผลงานของพวกเขา

หากผู้นำองค์กรดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ องค์กรจะสามารถสร้างค่านิยม ไปจนถึงปรับใช้ค่านิยมเหล่านี้ในชีวิตจริงได้รวดเร็วขึ้น เป็นการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ใช่แค่ทำให้เสร็จ แต่เป็นการทำทุกวันอย่างจริงจัง ทุกขั้นตอนเป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อรวมกันจะกลายเป็นกระบวนการรากฐาน อันเป็นหัวใจขององค์กร ขับเคลื่อนผลงานในอนาคต การมีส่วนร่วมของพนักงาน นำไปสู่ไปความสำเร็จ

กล่าวโดยสรุป

การปรับใช้ค่านิยมหลักขององค์กรนั้นจำเป็นต้องทำสิ่งต่างๆ ที่มากกว่าแค่ให้คำนิยามค่านิยมนั้น และสื่อสารผ่านคำพูด กระบวนการนี้ต้องพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อผสานค่านิยมองค์กรเข้ากับการดำเนินงานขององค์กรในแต่ละวัน กระบวนการบริหาร และจริยธรรมการดำเนินงาน เมื่อปรับใช้โมเดลพฤติกรรม Fogg ที่มีวิทยาศาสตร์รองรับ บรรดาผู้นำก็จะสามารถเปลี่ยน core value ให้กลายเป็นพฤติกรรมที่ทำได้สม่ำเสมอ

การผสานค่านิยมองค์กรเข้ากับกระบวนการจ้างงาน การประเมินผลงาน และการตั้งเป้าหมาย ทำให้เรามั่นใจว่าค่านิยมเหล่านี้จะถูกปลูกฝังในชีวิตและทุกลมหายใจของพนักงาน รวมไปถึงการใช้ recognition program และการปฏิบัติตนให้เห็นเป็นแบบอย่างของบรรดาหัวหน้างานและผู้จัดการ จะทำให้องค์กรสามารถใช้ core value ให้เป็นบรรยากาศการทำงานในทุกวัน ผลักดัน performance ของพนักงาน และขับเคลื่อนทิศทางขององค์กรไปในเชิงบวก


Tareef (LinkedIn) is CEO and lead scientist at Happily.ai based in Bangkok, Thailand. He continues to explore and research human behavior in the workplace.

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!