5 ความท้าทายสำคัญ ที่ทำให้การ “Work From Home” ไม่ได้ผลอย่างที่คิดไว้

การเปลี่ยนสถานที่การทำงานจากที่ office ไปเป็นการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home: WFH) ถือเป็นความท้าทายสำหรับใครหลายๆ คน ซึ่งในช่วงสถานการณ์นี้ ความเครียดของคนทำงานกำลังอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมา (พนักงานกว่า 69 เปอร์เซ็นต์กำลังเผชิญกับสภาวะหมดไฟในการทำงาน)
5 ความท้าทายสำคัญ ที่ทำให้การ “Work From Home” ไม่ได้ผลอย่างที่คิดไว้

Work From Home (WFH) คือ การเปลี่ยนสถานที่การทำงานจากที่ office ไปเป็นการทำงานจากที่บ้านนั้น ถือเป็นความท้าทายสำหรับใครหลาย ๆ คน ซึ่งในช่วงสถานการณ์นี้ ความเครียดของคนทำงานกำลังอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมา (พนักงานกว่า 69 เปอร์เซ็นต์กำลังเผชิญกับสภาวะหมดไฟในการทำงาน) ได้ส่งผลต่อสุขภาพจิตและ Productivity ของการทำงานของพนักงานโดยตรง การทำงานที่บ้านนี้ไม่ใช่การทดลองระยะสั้นที่พนักงานจะขอสละสิทธิ์ออกไปเมื่อไรก็ได้ ซึ่งในขณะที่แต่ละองค์กรกำลังมองหาเครื่องมือและแพลตฟอร์มที่ดีเพื่อให้ความช่วยเหลือพนักงานของพวกเขา ทัศนคติของพนักงานกลับกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร็วที่สุด

“การทำงานที่บ้านนี้ไม่ใช่การทดลองระยะสั้นที่พนักงานจะขอสละสิทธิ์ออกไปเมื่อไรก็ได้”

ณ ตอนนี้ พนักงานหลายคนกำลังเผชิญกับความรู้สึกแปลกแยกและไม่สามารถจดจ่อกับการทำงานได้ดีพอ จริงอยู่ที่บางคนอาจสนุกกับการได้นั่งทำงานเพียงลำพัง แต่ยังมีอีกหลายคนที่รู้สึกเหมือนกำลังหลงทางและกระวนกระวายใจ เพราะการทำงานที่บ้านทำให้เส้นแบ่งระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวเริ่มเลือนลาง อีกทั้งพวกเขายังไม่สามารถ “กลับบ้านไปชาร์จพลัง” และกลับมาทำงานในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนที่เคยเป็นมา

ความท้าทายหลักที่องค์กรและพนักงานเผชิญอยู่นั้น ได้แก่:

  1. ความเข้าใจในแนวทางขององค์กร (Company Alignment)
  2. การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ (Building and Maintaining Relationships)
  3. ความผ่อนคลายในการทำงานของพนักงาน (Employee Wellness)
  4. การสร้างความเป็นทีม (Community Building)
  5. แรงจูงใจของพนักงาน (Motivation)
key challenges of work from home

เข้าใจในแนวทางขององค์กร (Company Alignment)

เรื่องของความเข้าใจในแนวทางขององค์กรถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมากพออยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติโรคระบาด เพราะการทำให้พนักงานเข้าใจถึงเป้าหมายขององค์กร, ของทีม, หรือของตัวเอง และประคับประคองให้พวกเขาเดินไปในทิศทางที่มีเป้าหมายเดียวกันนั้นถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง หลายองค์กรจึงเลือกใช้วิธีการแบบอไจล์ (Agile) หรือเครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและการกำหนดตัววัดผล (Objective and Key Results: OKRs) เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางขององค์กร

แล้วการทำเช่นนั้นได้ผลหรือไม่ คำตอบคือ ได้ผลแค่บางครั้งเท่านั้น เพราะสิ่งที่ขาดหายไปคือทัศนคติแห่งการเติบโต (Growth Mindset) รวมไปถึงความสมัครใจ และความสามารถในการให้และรับฟีดแบ็กนั่นเอง หากต้องการให้เกิดความเข้าใจในแนวทางขององค์กรร่วมกัน ทุกคนจำเป็นต้องสื่อสารให้เกิดภาพของกระบวนการทำงานที่บอกได้ถึงความก้าวหน้า, อุปสรรค, และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และในเวลาที่เหมาะสม

ในช่วงวิกฤติโรคระบาดนี้ยิ่งทำให้ปัญหาที่มีอยู่ซับซ้อนขึ้นไปอีก ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว พร้อมทั้งพิจารณาแผนการดำเนินธุรกิจของตัวเองอีกครั้ง เพื่อให้ได้วิธีการที่แตกต่างภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดมากขึ้น รวมไปถึงการสื่อสารที่ต้องทำให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งความคาดหวังของพนักงานก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจในแนวทางขององค์กรจึงสำคัญมากกว่าที่เคย

กรณีศึกษาจาก Happily.ai
บริษัทขนส่งสินค้าแห่งหนึ่งที่ใช้ Happily.ai สามารถแก้ไขปัญหาของความไม่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันได้ทันท่วงที เพราะเมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาด ผู้นำในองค์กรประกาศนโยบายใหม่อย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นการร้องขอให้พนักงาน (ในหลากหลายแผนก) ทำงานหนักขึ้นเพื่อฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ผู้นำพยายามที่จะหาโอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทไม่จำเป็นจะต้องปลดใครออกแม้แต่คนเดียว แต่ในขณะเดียวกัน พนักงานกลับไม่เข้าใจว่าทำไมการทำงานที่หนักขึ้นถึงไม่มาพร้อมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลเชิงลึกของ Happily.ai ช่วยให้ผู้นำเห็นถึงช่องว่างของความคาดหวังที่เกิดขึ้น และช่วยให้เกิดการปรึกษาหารือกันจนเกิดเป็นความเข้าใจร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในแนวทางขององค์กรนั่นเอง

ผลที่ได้: ประสิทธิผลในการทำงานเพิ่มขึ้น

การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ (Building and Maintaining Relationships)

การทำงานที่บ้านส่งผลให้เกิดช่องว่างทางการสื่อสารขนาดใหญ่ แต่นั่นไม่ได้เป็นเพราะว่าเราขาดเครื่องมือในการสื่อสารกัน แต่เป็นเพราะรูปแบบและพฤติกรรมการสื่อสารของเราได้เปลี่ยนไปแล้วต่างหาก ซึ่งใครหลายคนก็ยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับมันอย่างไร และแม้ว่าภาระงานกำลังเพิ่มมากขึ้น การสร้างความสัมพันธ์กลับเป็นองค์ประกอบแรกของชีวิตการทำงานที่ได้รับผลกระทบ เพราะเราไม่มีเวลามากพอจะทำมันนั่นเอง

ความสัมพันธ์สำคัญต่อประสิทธิผลในการทำงานและความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เราเข้าใจ หากปราศจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น พนักงานจะรู้สึกไม่สบายใจและไม่พร้อมที่จะแบ่งปันหรือรับฟีดแบ็กอย่างตรงไปตรงมา ลองถามตัวเองดูว่า เราอยากจะรับฟีดแบ็กที่ตรงไปตรงมาจากใครสักคนที่เราแทบไม่รู้จักเลยหรือเปล่าล่ะ

ความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้เราสามารถรับมือกับความผิดพลาดโดยไม่ตื่นตระหนกหรือก่อให้เกิดผลร้ายตามมาโดยที่เราไม่ตั้งใจ อีกทั้งผู้จัดการและลูกทีมจะสามารถให้ฟีดแบ็กกันอย่างตรงไปตรงมา การสื่อสารจะเป็นไปอย่างโปร่งใส เปี่ยมไปด้วยความหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กรณีศึกษาจาก Happily.ai
บริษัทผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ใช้ Happily.ai รับรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าพนักงานกำลังเผชิญกับความเครียด ความกดดันและความท้าทายมากมายจากการทำงานที่บ้าน การแลกเปลี่ยนฟีดแบ็กอย่างสม่ำเสมอระหว่างพนักงานและผู้จัดการของพวกเขาช่วยเสริมสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี อีกทั้งฟังก์ชัน Daily Check-in ของ Happily.ai ยังทำให้ผู้จัดการมีแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่มาจากบทสนทนาเชิงบวกและการสะท้อนตัวตนออกมา ซึ่งส่งผลให้ระดับความเครียดของพนักงานลดลงอย่างรวดเร็ว

ผลที่ได้: ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น

การสร้างความเป็นทีม (Community Building)

การสร้างความเป็นทีมคือจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือภายในที่ทำงาน เพราะผลงานชิ้นโบว์แดงไม่ได้เกิดจากคนเพียงคนเดียว อีกทั้งการทำงานร่วมกันยังจำเป็นต้องอาศัยกลุ่มคนที่มีความพร้อมและมีการมอบหมายงานให้กับคนกลุ่มนี้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมนอกสถานที่เป็นวิธีการโดยทั่วไปที่องค์กรใช้สร้างเครือข่าย (network) และพัฒนาความสัมพันธ์ของคนในทีม หรือในองค์กรให้เหนียวแน่นขึ้น  แต่ด้วยวิกฤติโรคระบาดนี้ทำให้กิจกรรมเหล่านั้นต้องยุติไปชั่วคราว การสร้างความเป็นทีมผ่านโลกออนไลน์จึงอาจเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาทดแทนกันได้ แต่กระนั้นก็ต้องอาศัยความพยายามและพลังงานจากหัวหน้าทีมที่ก็แทบจะหมดเรี่ยวแรงไปกับการรับมือเรื่องอื่นๆ แล้วเหมือนกัน

กรณีศึกษาจาก Happily.ai
กลุ่มบริษัทในเครือของบริษัทการตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทยมักใช้สถานที่ภายนอกบริษัทเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาทีมและการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยในส่วนของ Happily.ai เองมีบทบาทสำคัญที่เข้ามาต่อชีวิตให้กับกิจกรรมอันแสนสนุกเหล่านี้ จากการที่พนักงานมีโอกาสได้เข้าร่วมการแข่งขัน (จำลอง) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งแข่ง (Virtual run) ผ่านทาง Happily Running Track, จัดกิจกรรมผ่าน Happily Townhall , หรือจัดเซสชั่นการเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน Happily University ในช่วงระหว่างการล็อคดาวน์

ผลที่ได้: ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรเพิ่มมากขึ้น

ความผ่อนคลายในการทำงานของพนักงาน (Employee Wellness)

สุขภาพจิตของพนักงานกำลังตกต่ำลง และที่แย่ไปกว่านั้นคือ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าพวกเขาส่วนใหญ่ไม่กล้าเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ สภาวะหมดไฟในการทำงานเกิดขึ้นเป็นปกติกับคนเก่งที่มีพรสวรรค์อันโดดเด่น นั่นเป็นเพราะนอกเหนือจากการทำงานแล้ว พวกเขายังถูกตั้งความหวังให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย โดยอาการของผู้ที่มีสภาวะหมดไฟในการทำงานอาจมีได้ดังนี้

  • พลังงานและประสิทธิผลในการทำงานลดลง
  • แรงจูงใจในการทำงานน้อยลง
  • ความผิดพลาดในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
  • ความรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ความรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
burnout from work from home

การที่พนักงานจะมีความผ่อนคลายในการทำงาน (Wellness) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการเฝ้าสังเกตและคอยสำรวจอย่างสม่ำเสมอ และผู้จัดการคือคนที่อยู่ในจุดที่ดีที่สุดในการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือพวกเขา ผ่านการทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น (เช่นอุปสรรคในการทำงาน หรือจากชีวิตส่วนตัว) และจัดแจงทรัพยากรที่จำเป็น รวมถึงเรียงลำดับภาระงานให้พวกเขาใหม่อีกครั้ง

กรณีศึกษาจาก Happily.ai
โรงงานผลิตสินค้าแห่งหนึ่งใช้ Happily.ai เพื่อทำความเข้าใจถึงผลการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกลยุทธ์ที่มีต่อขวัญกำลังใจและความผ่อนคลายในการทำงานของพนักงานในแต่ละทีม พร้อมกันนี้ ผู้นำในองค์กรยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้กับทีมที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

ผลที่ได้: ความผ่อนคลายในการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้น

แรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน (Motivation)

วิธีการเดิมๆ ที่ผู้นำใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคนเก่งที่มีพรสวรรค์อาจไม่ได้ผลอีกต่อไป ซึ่งหลายองค์กรมักใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานผ่านปัจจัยภายนอก (Extrinsic Motivation) (ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน, เงินจูงใจผลงาน (incentive) , หรือเงินโบนัส) แต่เมื่อวิกฤติโรคระบาดทำให้องค์กรไม่สามารถจ่ายเงินจูงใจหรือโบนัสเพิ่มให้กับพนักงานได้ จะเกิดอะไรขึ้นกับแรงจูงใจในการทำงานของพวกเขากันล่ะ

แรงจูงใจที่มาจากปัจจัยภายใน (Intrinsic Motivation) อย่างเช่นการชื่นชมและการให้ความสำคัญถือเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะคำชมและการเห็นคุณค่าคือปัจจัยหลักที่ผลักดันคนเก่งที่มีพรสวรรค์ให้มีส่วนร่วมกับองค์กร และอาจมากกว่าที่ขอบเขตภาระงานของพวกเขากำหนดไว้เสียอีก การให้ความสำคัญและคำชมที่มีความหมายไม่จำเป็นต้องใช้เงิน แต่หลายองค์กรก็ยังขาดแบบแผนและรูปแบบพฤติกรรมที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นสิ่งที่ควรหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างจริงจัง

กรณีศึกษาจาก Happily.ai
บริษัทและองค์กรที่ใช้ Happily.ai สามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานผ่านการชื่นชมและให้ความสำคัญระหว่างกัน อีกทั้งผู้จัดการสามารถกล่าวชื่นชมลูกทีมของพวกเขาได้ในแต่ละเดือน และผู้นำองค์กรยังสามารถให้เหรียญชมเชยที่สามารถออกแบบ (Customizable) ให้สอดคล้องกับค่านิยมหรือจุดยืนขององค์กร (Company Core Values) แก่พนักงานอีกด้วย

ผลที่ได้: วัฒนธรรมองค์กรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่ดี

การทดลองทำงานที่บ้านในครั้งนี้ก็เหมือนกับการทดลองอื่นๆ กล่าวคือต้องอาศัยการวัดผลและการลงมือทำเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ และเราจำเป็นที่จะต้องได้ผลตามที่ต้องการนี้ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าต่อไป เพราะแรงจูงใจและความสามารถของพนักงานจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรโดยตรง และภาวะผู้นำที่ให้ความสำคัญกับผู้คน (People-First Leadership) จะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในโลกแห่งวิถีใหม่ที่เต็มไปด้วยไปความเปลี่ยนแปลง

บริหารพนักงานด้วยข้อมูลเชิงลึกจาก Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

Happily.ai ช่วยสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรด้วยการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ผ่านการวัดผลแบบเรียลไทม์และวิธีการจัดการคนในองค์กรด้วยข้อมูล (People Analytics) หากคุณต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือให้ฟีดแบ็กเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา โปรดอย่ารีรอที่จะติดต่อเรา!

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารจากเรา

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!