5 กลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่ได้ผลที่สุดในปี 2022

ปัจจุบันการรักษาพนักงาน (Employee Retention) กลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดย 87% ของผู้บริหารฝ่ายบุคคลให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ
5 กลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่ได้ผลที่สุดในปี 2022
Photo by Daria Pimkina / Unsplash

ปัจจุบันการรักษาพนักงาน (Employee Retention) กลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดย 87% ของผู้บริหารฝ่ายบุคคลให้ความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จาก ปรากฎการณ์การลาออกครั้งใหญ่ (The Great Resignation) อัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover rate) ก็พุ่งสูงขึ้น รายงานของ Teamstage พบว่า พนักงาน 31% ลาออกภายใน 6 เดือนแรกและพนักงานเกินกว่าครึ่งไม่รู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับงาน (Disengage at work) เป็นผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การรักษาพนักงานไว้ เพื่อแข่งขันกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อการเติบโตของบริษัทเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า

  1. การรักษาพนักงานคืออะไร
  2. ทำไมความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) จึงจำเป็นต่อการรักษาพนักงาน
  3. กลยุทธ์การรักษาพนักงานหลังยุค COVID-19 คืออะไร

การรักษาพนักงานคืออะไร

การรักษาพนักงาน (Employee Retention) คือ เป้าหมายขององค์กรที่ต้องการรักษาพนักงานที่มีฝีมือและลดการลาออกของพนักงาน โดยการเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรหรือ Engagement  ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของพนักงาน และส่งเสริมสมดุลชีวิตและการทำงานของพนักงาน (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ การรักษาพนักงานและความสำคัญของเรื่องนี้) Happily ช่วยองค์กรเพิ่ม Engagement เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพผ่านเครื่องมือดังนี้

  • แบบสำรวจความสุขรายวัน (Daily Pulse Survey) : เสริมสร้างความไว้ใจและการทำงานในทิศทางเดียวกันระหว่างคนในทีม
  • การให้ Feedback และการชื่นชมขอบคุณกัน  (Recognition) อย่างต่อเนื่อง : การให้ Feedback และ Recognition กับพนักงานที่ขาดความต่อเนื่อง บวกกับการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพคือส่วนประกอบของการบริหารและภาวะผู้นำที่ไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุแรกของการลาออกของพนักงาน (Employee Turnover)
  • ส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการแบ่งปันความรู้ในองค์กร : 76% ของพนักงานใหม่ชอบการเรียนรู้จากหน้างานจริง ซึ่งองค์กรที่มีอัตรา Turnover สูงมักจะละเลยเรื่องนี้

ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงาน

เรียนรู้เพิ่มเติม

ทำไม Employee Engagement ถึงจำเป็นต่อการรักษาพนักงาน

Employee Engagement เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่บางครั้งพบว่า องค์กรเลือกใช้วิธีกดดันและบังคับให้เกิดการมีส่วนร่วมกับงานเสียมากกว่า

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน จึงขอนิยามว่า Employee Engagement คือการมีส่วนร่วมและความกระตือรือร้นของพนักงานต่อองค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลงานของพนักงานและขององค์กร และยังส่งผลดีต่อองค์กรในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การรักษาพนักงาน ความภักดีต่อองค์กร ผลิตภาพและผลกำไร ดังน้้นพนักงานที่มีส่วนร่วมและมีความผูกพันกับงาน (Engaged Employee) จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานในองค์กรนานขึ้น สร้างผลิตภาพสูงขึ้น และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้มากขึ้น

ในทางกลับกัน พนักงานที่ไม่มีส่วนร่วมกับงาน (Disengaged Employees) คือสาเหตุสำคัญของการลาออก พนักงานกลุ่มนี้จะขัดขวางการเติบโตของบริษัท เพราะพวกเขาทำให้ขวัญกำลังใจของเพื่อนร่วมงานลดลง และเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อคนในทีม นอกจากนี้ จากสถิติ พบว่า 73% ของพนักงานที่ยังคงอยู่ในบริษัทต่อ เพราะพวกเขามีโอกาสเพิ่มพูนทักษะมากกว่า และเพียง 12% ของพนักงานที่ชี้ว่า บริษัทสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่เขาในช่วงแรกของการทำงาน (Onboarding) ทั้งโอกาสในการเพิ่มทักษะและประสบการณ์ที่พบเจอในช่วงแรกของงานสะท้อนระดับของการมีหรือไม่มี Engagement ขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้นหากบริษัทไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมและความผูกพันต่องานจะส่งผลให้ขวัญกำลังใจในการทำงานลดลงและมีอัตราการลาออกสูงขึ้น  (ลองคำนวน Employee Engagement ROI calculator เพื่อดูว่าการลาออกของพนักงานที่ไม่ต้องการคิดเป็นต้นทุนขององค์กรคุณเท่าไหร่!)

แล้วจะสร้าง Engagement ของพนักงานอย่างไรละ?

💡
Happily ช่วยบริษัทประกันระดับโลกสร้างวัฒนธรรมการให้ Feedback และให้ความสำคัญกับพนักงาน ด้วยอัตราการเข้าร่วมสูงถึง 92% ได้อย่างไร?

ฝ่ายบุคคลของบริษัทประกันแห่งหนึ่งต้องการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและสร้าง Engagement ของพนักงาน โดยเจาะที่หน่วยธุรกิจที่มีความท้าทายมากที่สุดในช่วงเวลาสั้น ๆ บริษัทมีความคิดอยากสร้างกิจกรรมและการมีส่วนร่วมสำหรับพนักงานที่เมื่อก่อนพนักงานไม่เข้าร่วมและไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท โดยที่หลังจากใช้งาน Happily เป็นระยะเวลา 6 เดือน ได้ผลลัพธ์ดังนี้ คือ
1) ความสุขโดยรวมของคนในบริษัทเพิ่มขึ้น 22%
2) คะแนนความสำเร็จในมิติคุณภาพชีวิต (Wellness) เพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 63% ส่งผลให้การขาดงานแบบไม่พึงประสงค์ลดลงถึง 18%!
3) พนักงานถึง 94% เพิ่มการพูดคุยกับผู้จัดการหรือหัวหน้างานตนเองผ่านแอปพลิเคชัน
4) คะแนนความสำเร็จในด้าน Recognition เพิ่มขึ้นจาก 35% เป็น 78% โดยมีอัตราของผู้เข้าร่วม Peer-to-Peer Recogniton หรือการชื่นชมขอบคุณกันและกันระหว่างเพื่อนร่วมงานในบริษัทสูงถึง 92% และผู้จัดการถึง 80% ได้ชื่นชมและขอบคุณทีมงานของตนเอง

5 กลยุทธ์สำคัญเพื่อรักษาพนักงานไว้ในองค์กรสำหรับปี 2022 นี้

  1. ให้พนักงานเป็นส่วนหนึ่งกับวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback
    การมอบอำนาจให้ พนักงาน หรือ Employee Empowerment คือ การให้อิสระพนักงานในการตัดสินใจ จากความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่มี โดยที่ยังอยู่ในกรอบนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติขององค์กร นอกจากนี้ยังหมายถึงการเปิดพื้นที่ให้เติบโตในหน้าที่การงาน ผ่านโอกาสในเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมถึงการให้ Feedback สะท้อนประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาตนเองต่อไป วัฒนธรรมการให้และรับ Feedback จำเป็นต่อการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างครบวงจร  ทำให้พนักงานรู้สึกสามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระและความเห็นของพวกเขาถูกรับฟังจริง ๆ  และพนักงานจะอยากมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อเรื่องที่กระทบกับงานและทิศทางของบริษัทอีกด้วย
  2. ให้แรงจูงใจ (Incentives) และให้การชื่นชมและขอบคุณกับพนักงาน (Recognition)
    โดยทั่วไปแล้วพนักงานจะถูกกระตุ้นผ่านความรู้สึกที่ได้ทำงานสำเร็จ ได้การยอมรับและบริษัทให้ความสำคัญ รวมถึงรางวัลตอบแทน การให้ความสำคัญกับพนักงาน (Recognition) เป็นสิ่งที่ส่งผลดีกับคุณค่าหลักขององค์กร เพราะแทบจะไม่ต้องเสียเงินทุนในการสร้างและยังส่งผลอย่างมากต่อความกระตือรือร้นในการทำงาน ขวัญกำลังใจ และความเป็นอยู่ของพนักงาน จากงานศึกษาของเรา พบว่า หากเราได้รับการชื่นชมยอมรับจากผู้อื่น แล้วเราก็จะส่งต่อสิ่งนี้ให้คนอื่นเช่นกัน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับพนักงานจะช่วยเสริมคุณค่าขององค์กร ผลักดันพนักงาน และสร้างให้วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรง
  3. สร้างสมดุลชีวิตและการทำงาน (Work-life balance)
    การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตภายในและภายนอกที่ทำงานเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน หากองค์กรให้สิทธิพนักงานกำหนดชั่วโมงการทำงานเอง หรือแม้กระทั่งเลือกสถานที่ทำงานได้เอง จะช่วยพนักงานสร้างสมดุลได้ดีขึ้น หลังเกิดโรคระบาด COVID-19 นโยบายการทำงานนอกออฟฟิศจึงได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง แต่ยังมีคำถามตามมาว่า พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อทำงานนอกออฟฟิศจริงหรือ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการทำงานที่บ้านและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ที่บทความนี้)
    อย่างไรก็ตาม พนักงานไม่ได้ใช้ชีวิตเพื่อการทำงานอย่างเดียว ทุกคนมีชีวิตที่นอกเหนือจากงานด้วย และพวกเขาต้องการให้หัวหน้าตระหนักเรื่องนี้ หากบริษัทเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นนี้จะช่วยให้พนักงานมีความเครียดจากทำงานน้อยลงและลดโอกาสหมดไฟในการทำงานด้วย
  4. จัดโปรแกรมพัฒนาและฝึกฝน
    โครงการฝึกฝนและพัฒนาจะเปิดโอกาสให้พนักงานเพิ่มพูนทักษะการทำงาน ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการทำงานและเตรียมพร้อมพนักงานสำหรับความก้าวหน้าและเติบโตในองค์กร อย่างที่ได้พูดถึงไป 73% ของพนักงานที่เลือกอยู่ในองค์กรต่อไป เนื่องจากพวกเขาได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพของตนเองมากกว่า สำหรับหัวหน้าสามารถให้ feedback แก่พนักงานเรื่องเพิ่มศักยภาพและพัฒนาทักษะได้ด้วยเช่นกัน Achievers ระบุว่าการลงทุนในทรัพยากรบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับอัตราการหมุนเวียนพนักงาน จึงกล่าวได้ว่า กลยุทธ์การรักษาพนักงานจะต้องรวมการลงทุนในโปรแกรมพัฒนาบุคลากรเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพในการทำงาน เพื่อสร้างแรงจูงใจและรักษาพวกเขาให้คงอยู่ในองค์กรต่อไป
  5. จูงใจด้วยโปรแกรมดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน
    การดูแลสุขภาพกายใจและการเงินของพนักงานนั้นสำคัญ ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค COVID-19 อัตราการลาออกของพนักงานก็สูงขึ้น หลายบริษัททบทวนสวัสดิการการดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานเพื่อตอบรับและสนับสนุนการทำงานของพนักงาน จากผลการศึกษาของ McKinsey ยิ่งตอกย้ำว่าพนักงานทั่วโลกครึ่งหนึ่งประสบสภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) สวัสดิการที่ดูแลคุณภาพชีวิตพนักงานเหล่านี้จะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะหมดไฟได้ เช่น ส่วนลดสมาชิกฟิตเนส ค่าสมาชิกรายเดือนของบริการหรือสื่อบันเทิงที่พนักงานสนใจ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว กลยุทธ์เพื่อรักษาพนักงาน 5 ข้อข้างต้นนั้น เป็นไปเพื่อเพิ่มความพึงพอใจในงานและเสริมแรงผลักดันในการทำงานแก่พนักงาน หากองค์กรนำไปใช้ก็จะสร้างผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรได้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้าง Engagement ของพนักงาน เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพสูง เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี และทำให้องค์กรเติบโตไปในทิศทางที่วางเอาไว้ การให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงินอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์การรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพไว้ได้ ฉะนั้นผู้นำองค์กรจึงควรพิจารณาปรับใช้กลยุทธ์ข้างต้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการทำงานในปัจจุบัน


Happily.ai เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมทุกอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานที่ส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงบวกในที่ทำงาน องค์กรใช้ Happily เพื่อช่วยการ Check-in รายวันกับพนักงาน ช่วยสร้างบทสนทนาที่ดีขึ้น ช่วยพัฒนาเหล่าผู้จัดการขององค์กร และช่วยส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมเชิงบวกให้มากขึ้น เรายังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเรื่องความสุขและ Well-being ของพนักงานแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจทีมและคนของคุณให้ดียิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์เราหรือลงทะเบียนเพื่อรับฟังการ Demo และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการ Engage กับพนักงานของคุณ!

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!