แบบสำรวจความสุขรายวัน - หมากตัวสำคัญที่ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายบุคคลและผู้นำองค์กรไม่ควรมองข้าม

แบบสำรวจความสุขรายวันช่วยเปลี่ยนวิธีการใช้ข้อมูล จากการใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กลายเป็นใช้เพื่อมองเห็นปัญหาและแก้ไขมันอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการเชิงรุก
แบบสำรวจความสุขรายวัน - หมากตัวสำคัญที่ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายบุคคลและผู้นำองค์กรไม่ควรมองข้าม

แบบสำรวจความสุขพนักงานรายวัน

แบบสำรวจความสุขรายวันช่วยเปลี่ยนวิธีการใช้ข้อมูล จากการใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กลายเป็นใช้เพื่อมองเห็นปัญหาและแก้ไขมันอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการเชิงรุก

การสำรวจความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงปีละครั้งเพื่อรับฟังฟีดแบ็กจากพนักงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้องค์กรมองเห็นจุดที่สามารถพัฒนาได้ แต่บ่อยครั้งที่ความล่าช้าในการเก็บข้อมูลและการเริ่มต้นแก้ไขปัญหา (ซึ่งอาจกินเวลาถึง 4–6 เดือน) ก็กลายเป็นข้อจำกัดที่ผูกรั้งตัวข้อมูลเอาไว้ ถ้าหากเราเชื่อว่าแบบสำรวจจะก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร ผลจากแบบสำรวจเหล่านี้ก็ควรถูกอัพเดทให้เป็นปัจจุบันให้มากที่สุดเช่นกัน เพราะมันช่วยให้เราเห็นความต้องการของพนักงาน ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน

แบบสำรวจความสุขรายวันหรือ Daily Pulse Surveys คือแบบสำรวจความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานขนาดพอดีคำ ที่กลายเป็นวิธียอดนิยมในการเก็บรวบรวมฟีดแบ็กจากพนักงานที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด การเก็บข้อมูลในลักษณะนี้เป็นประจำหรือเป็นกิจวัตรจะช่วยให้องค์กรมีข้อมูลที่ทันสมัย ซึ่งมีรายละเอียดและความถูกต้องมากกว่าการเก็บข้อมูลแบบนานๆ ครั้ง อีกทั้งการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถใช้ชุดคำถามใหม่ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถถามพนักงานของเราว่า คุณรู้สึกอย่างไรในแต่ละวัน หรือ มีวันไหนในสัปดาห์ที่ผ่านมาที่คุณรู้สึกเครียดหรือเบื่อหน่ายจากการทำงานบ้างหรือไม่ คำถามเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนความพยายามในการประเมินความสุขขององค์กรแบบ กว้างๆ ในแต่ละปี ให้กลายเป็นความเข้าใจ ว่าความเครียดมีผลต่อพนักงานของเราอย่างไร เพื่อที่เราจะได้แก้ไขก่อนที่มันจะสายไป

พนักงานของเรารู้สึกอย่างไรในแต่ละวัน

ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำ มันสำคัญมากที่คุณจะต้องเข้าใจความรู้สึกและสภาพจิตใจของพนักงาน รวมถึงความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญและแน่นอน ทำอย่างไรคุณถึงจะช่วยเหลือพวกเขาได้ ในอดีตนั้นเราอาจต้องใช้การสังเกตหรือแม้กระทั่งสัญชาติญาณเพื่อประเมินสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวเอง แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้แบบสำรวจที่ปราศจากการคาดเดาเพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจในองค์กรได้

งานวิจัยของเรา

เราใช้แบบสำรวจความสุขรายวันของ Happily.ai เพื่อเก็บรวบรวมฟีดแบ็กจากพนักงานเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของพวกเขาในแต่ละวัน นอกเหนือจากคุณลักษณะอื่นๆ กว่า 200 รายการที่ครอบคลุมองค์ประกอบของชีวิตการทำงานตั้งแต่ความผ่อนคลายในการทำงาน (Wellness) และการได้รับความสำคัญหรือการชื่นชม (Recognition) ไปจนถึงการเป็นไปในแนวเดียวกันกับบริษัท (Company alignment) และการพัฒนาตนเอง (Personal growth)

ผลด้านล่างนี้คือฟีดแบ็กที่มาจากการถามคำถามเพียง 3 ข้อเท่านั้นซึ่งได้แก่

  1. วันนี้คุณรู้สึกอย่างไร (ถามทุกวัน)
  2. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณรู้สึกว่าได้รับการชื่นชมหรือได้รับความสำคัญหรือไม่ (ถามทุกสัปดาห์)
  3. ในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณรู้สึกเครียดหรือเบื่อหน่ายจากการทำงานหรือไม่ (ถามทุกสัปดาห์)

ผลลัพธ์จากพนักงานเพียงบางส่วนของเราสามารถบอกผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายบุคคลหรือผู้นำองค์กรได้ว่า 3 คำถามนี้จะช่วยพวกเราให้สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือพนักงานหรือตัดสินใจในบางเรื่องได้ดีขึ้นอย่างไร

ในแผนภาพข้อมูลด้านล่างนี้ แต่ละแถบหมายถึงสัปดาห์ โดยแถบสีเขียวและแดงหมายถึงจำนวนความสุขและความทุกข์ของพนักงานตามการรายงานในแต่ละสัปดาห์ ตัวอักษร W และ R จะแสดงขึ้นมาในสัปดาห์ที่มีการรายงานถึงความผ่อนคลายในการทำงานและ การได้รับความสำคัญหรือการชื่นชมของพนักงาน อยู่ในระดับต่ำ

พนักงาน A

พนักงานที่หมดไฟในการทำงาน

ฟีดแบ็กที่มาจากแบบสำรวจของพนักงาน A ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว เขาหรือเธอมีความสุขในการทำงาน อย่างไรก็ดี ความสุขในการทำงานถูกขัดจังหวะจากสัปดาห์ที่มีความผ่อนคลายในการทำงานต่ำ (เครียดหรือเบื่อหน่ายจากการทำงาน) ซึ่งเรียงต่อกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์

พนักงาน B

พนักงานที่หมดไฟในการทำงาน

ฟีดแบ็กจากพนักงาน B ชี้ให้เห็นว่าเขาหรือเธอขาดการได้รับความสำคัญหรือการชื่นชมแทบทุกสัปดาห์ที่มีการเก็บผลสำรวจ (ยกเว้น 1 สัปดาห์) แต่กระนั้นมันไม่ได้ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของเขาหรือเธอ อย่างไรก็ตาม ความสุขในการทำงานกลับลดลงเมื่อความผ่อนคลายในการทำงานลดต่ำลง ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรหลังจากปัญหาตรงนี้หมดไปที่พนักงานคนนี้จะกลับมามีความสุขในการทำงานอีกครั้ง

พนักงาน C

พนักงานที่ขับเคลื่อนด้วยการชื่นชมในที่ทำงาน

แม้พนักงานคนนี้จะมีความผ่อนคลายในการทำงานต่ำเป็นเวลาหลายสัปดาห์ติดต่อกัน แต่ปัจจัยดังกล่าวดูจะไม่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของเขาหรือเธอ กลับกัน การไม่ได้รับความสำคัญหรือการชื่นชมต่างหากที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานมากกว่าในกรณีนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดในสัปดาห์ที่พนักงานคนนี้ไม่ได้รับการให้ความสำคัญหรือการชื่นชม (นอกจากนี้ บางรายยังมีความทุกข์เพิ่มขึ้นสูงแทนอีกด้วย)

พนักงาน D

พนักงานที่อธิบายไม่ได้ด้วยปัจจัยที่พิจารณา

ฟีดแบ็กจากพนักงาน D ชี้ให้เห็นว่าทั้งความผ่อนคลายในการทำงานและการได้รับความสำคัญและการชื่นชมต่างไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม ความสุขในการทำงานที่ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงสัปดาห์หลังแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดจากองค์ประกอบอื่นๆ ในความผูกพันต่อองค์กร

ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ (Real-time insight)

แบบสำรวจความสุขรายวันทำให้เรารับรู้ถึงความรู้สึกของพนักงานในแต่ละแง่มุมของชีวิตการทำงาน ซึ่งช่วยให้หัวหน้าและผู้จัดการสามารถยื่นมือเข้าช่วยเหลือพนักงานได้อย่างเป็นประโยชน์ รวมถึงเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาและความท้าทายของพนักงานอีกด้วย แทนที่เราจะทำการแก้ไขปัญหาในตอนที่มันเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถเลือกวิธีการเชิงรุกเพื่อตัดสินใจและช่วยเหลือพนักงานของเราได้อย่างทันท่วงที

ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ (Real-time insight)

บทความจาก Wall Street Journal อธิบายถึงแบบสำรวจความสุขรายวันที่เปรียบเสมือนแหล่งน้ำทางอารมณ์ของทีม ที่เราสามารถใช้มันเพื่อดับไฟปัญหาก่อนที่มันจะลุกลามออกไปไกล [2] ผลลัพธ์จากงานวิจัยของเราก็ยังเป็นเครื่องยืนยันอีกด้วยว่าแบบสำรวจความสุขรายวันให้คำตอบที่ตรงไปตรงมาและน่าเชื่อถือกว่าการทำแบบสำรวจรายปี อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และจะยิ่งเป็นประโยชน์หากคุณฝึกฝนผู้จัดการให้เขาสามารถมองเห็น เข้าใจและประเมินผลลัพธ์จากการกระทำต่างๆ และหากเราสามารถตอบสนองต่อฟีดแบ็กของพนักงานได้อย่างรวดเร็วและตามด้วยการแก้ไขปัญหาเชิงรุกแล้ว เราก็จะสามารถลดการลาออกจากบริษัท และยังเพิ่มความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานได้อีกด้วย

หมากเปลี่ยนเกม

สำหรับผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายบุคคลหรือผู้นำองค์กร แบบสำรวจความสุขรายวันถือเป็นตัวเปลี่ยนเกมชั้นดี เพราะปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรมีวิธีการใช้ข้อมูลอย่างไร และมันเป็นสิ่งจำเป็นที่พนักงานที่ให้ข้อมูลเป็นประจำจะต้องมองกระบวนการเก็บข้อมูลนี้ในแง่บวกเข้าไว้ ข้อมูลเหล่านี้ควรนำไปสู่การพูดคุยและการพูดคุยนี้ควรนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จับต้องได้ [3]

การทำแบบสำรวจความสุขรายวันสามารถพลิกโฉมองค์กรของคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะคุณกำลังสร้างกระบวนการที่จะทำให้เกิดทั้งความผูกพันต่อองค์กร การเสริมสร้างการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การฝึกฝนพนักงานและการช่วยผู้จัดการและหัวหน้าทีมในการทำหน้าที่ของพวกเขาให้ดีและง่ายยิ่งขึ้น

Happily.ai ช่วยเหลือองค์กรของคุณผ่านการเริ่มต้นที่พนักงาน วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ผลลัพธ์ทางการลงทุนที่เป็นบวกและจับต้องได้ และหากคุณต้องการให้เราเปลี่ยนแปลงองค์กรของคุณ ติดต่อเราเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.hrtechnologist.com/articles/employee-engagement/pulse-surveys-vs-annual-surveys-which-is-a-better-measure-of-employee-engagement/

[2] Silverman, R. E. (2014, December 2). Are you happy at work? Bosses push weekly polls. Wall Street Journal, http://www.wsj.com/articles/more-bosses-use-shortfrequent-polls-to-measure-morale-1417550446

[3] Employment Relations Today 43(1):33–39 · April 2016, “The Potential of Pulse Surveys: Transforming Surveys into Leadership Tools” (https://www.researchgate.net/publication/301308146_The_Potential_of_Pulse_Surveys_Transforming_Surveys_into_Leadership_Tools)

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!