ทำไม วัฒนธรรมแบบ Performance Culture ถึงกลับส่งผลเสียต่อธุรกิจ?

Performance Culture ถึงแม้บริษัทดังๆจะใช้ แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กร และอาจส่งผลเสียให้กับธุรกิจในระยะยาวได้
ทัศนคติและวิธีการของหัวหน้านั้น มีผลในการทำ Performance Management

ในปัจจุบัน คุณจะเริ่มเห็นได้ชัดว่าได้มีการพูดถึงการทำงานที่เน้นการติดตามและวัดผล Performance มากขึ้น มีการค้นหาระบบจัดการผลงานที่เรียกว่า PMS หรือ Performance Management System อย่างมากมาย มีไลฟ์โค้ชสาย Motivation หยิบยกหัวข้อเรื่องการปลุกเร้าในการทำงานผลให้ก้าวล้ำ ขึ้นมาอย่างมากมาย

Performance Culture วัฒนธรรมการทำงานที่เน้นที่ประสิทธิภาพ (เพียงอย่างเดียว)

ความนิยมในวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นด้าน Performance นั้น คาดว่าจะมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัททั้งด้าน eCommerce และ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี่ ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Amazon, Tesla ต่างก็มีความมุ่งเน้นในด้านการทำงานที่หนักของพนักงาน มีระบบการประเมินที่แข็งแกร่งเข้มข้น และล้วนต่างเติบโตรวดเร็วจนเป็นจุดเด่น เป็นต้นแบบให้หลายองค์กร

แต่ในช่วงระยะหลังนั้น บริษัทดังกล่าวกลับได้มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับสภาพการทำงานของพนักงาน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ออกมาจำนวนมาก เช่น สุขภาพเสื่อมโทรม, การไร้ความสุขในการทำงานในระดับที่กล่าวว่า ดีใจที่ได้ออกมาเสียที  แม้กระทั่งบางบริษัทเจอการปราบปรามจากรัฐบาลในประเทศต้นกำเนิดอย่างหนัก เนื่องด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ปฏิบัติกับพนักงานอย่างย่ำแย่เกินไป

รวมไปถึงงานศึกษาวิจัยจากหลากองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Forbes, Gallup, Brightside People ต่างก็มีผลสรุปออกมาในทางเดียวกันว่า วัฒนธรรมการทำงานที่เน้นประสิทธิภาพ หรือ Performance Culture นั้นมักจะส่งผลเสียในระยะยาว

ในระดับที่เรียกว่า More Harm than Good เลยทีเดียว

ข้อเสียของการดำเนินกิจการด้วยการใช้ Performance Culture

โดยข้อเสียนั้นมีอย่างไรบ้าง ทางเรานั้นมี Infographic ที่เข้าใจง่าย มาให้คุณได้ศึกษาว่า ทำไมคุณถึงไม่ควรนำเอาวัฒนธรรมแบบ Performance Culture ไปใช้ในธุรกิจของคุณ ถ้าคุณต้องการที่จะให้พนักงานของคุณยังมีความต้องการในการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตขององค์กร และพร้อมที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายนั้น

Performance Culture Infographic from Happily.ai

ปรับปรุงวัฒนธรรมภายใน ให้ทีมมี Performance ดี แต่ไม่ฝืนใจ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางเราก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้คุณละทิ้งการสร้างและปรับปรุง Performance ภายในองค์กรแต่อย่างใด เพียงแต่การเน้น Performance เพียงอย่างเดียวจนลืมความเป็นมนุษย์ของพวกเขาไปนั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และเราสามารถทำได้ถ้าสามารถปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มี Empathy มีความเห็นอกเห็นใจกันที่มากขึ้น มีพลังความเป็นทีมที่แข็งแกร่ง และมีความกระตือรือล้น มีส่วนร่วมในงานสูง เพราะมี Employee Engagement ที่ดี ก็สามารถนำพาไปสู่การเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความสามารถในการแข่งขันสูง แทนที่จะนำไปสู่เรื่องเศร้า อย่างขัดแย้งกับองค์กรอย่างหนักจนลาออก, ทำงานด้วยความรู้สึกที่ไม่ดีต่อองค์กร, หรือ เสียชีวิตจากการพยายามทำงานอย่างหนักให้ถูกประเมิน performance ดีๆ อย่างที่ได้เป็น ข่าวโด่งดัง ในช่วงต้นปี 2023 นี้

พร้อมทีจะปรับวัฒนธรรมองค์กรของคุณให้เป็นมิตรกับพนักงาน ขจัดความ Toxic จากการเร่ง Performance ของพนักงานอย่างไม่ถูกวิธี แต่ก็สามารถสร้างความเป็น High-performing team ไปในเวลาเดียวกันใช่หรือไม่? Happily.ai พร้อมจะช่วยคุณ โดยเราสามารถช่วยคุณเสริมสร้างสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ ผ่านทางฟีเจอร์ต่างๆที่มีมากมายของเรา

ซึ่งถ้าคุณสนใจจะทราบรายละเอียดเพิ่มเติมในการนำไปใช้งานในองค์กรของคุณ คุณสามารถลงทะเบียนจากแบบฟอร์มด้านล่าง เพื่อรับการติดต่อจากทีมงานของเราในการทดลองเวอร์ชั่น Demo ได้เลย:

🛠️
Happily.ai ได้รวบรวมเครื่องมือสำหรับผู้นำและผู้ที่สนใจเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ตั้งแต่เริ่มสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยขั้นตอนการจ้างงาน กลยุทธ์ในการส่งเสริม ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ตลอดจนการรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งให้ยั่งยืนไว้ที่ Culture Toolkit

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!