ในการทำงานสิ่งที่คุณจะสามารถพบเห็นได้ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยามที่คุณได้ก้าวสู่ตำแหน่งผู้จัดการแล้วนั้นคือ Performance Management หรือแม้แต่ฝ่าย HR เอง ก็มักจะได้รับโจทย์ให้ต้องหาระบบ หรือ โปรแกรม ที่เรียกว่า Performance Management System (PMS) บ่อย ๆ

แต่คุณอาจจะมีคำถามคาใจว่า แล้วจริง ๆ Performance Management มันคืออะไรกันแน่?

เป็นสิ่งเดียวกับที่เขาเรียกว่า การประเมินผลงาน หรือเปล่า? แล้วมีวิธีอื่นที่ดีกว่าไหม?

วันนี้ Happily.ai จะมาช่วยคุณเฉลยข้อข้องใจบางประการเกี่ยวกับ Performance Management ยอดนิยมนี้ให้คุณได้หายคาใจ

การประเมินผลงาน Performance Management

คำว่าไม่ใช่ในที่นี่นั้น หมายถึง การประเมินผลงานเป็นเพียงแค่ ซับเซ็ต ส่วนปลีกย่อยส่วนหนึ่งของการทำ Performance Management เท่านั้น ซึ่งหมายถึงเมื่อคุณได้ทำ Performance Management ให้ครบเครื่อง ครบวงจร คุณก็ต้องทำการประเมินผล หรือ Performance Review ด้วย

ซึ่งจุดนี้คุณจะเห็นแล้วว่าความหมายของ Performance Management นั้นกว้างกว่าแค่การมานั่งประเมินลูกน้อง หรือตัวคุณเข้าไปรับการประเมินจากหัวหน้าของคุณอีกที

แล้ว Performance Management นั้น คืออะไร?

Performance Management แปลเป็นภาษาไทยที่ให้นิยามอย่างชัดเจน นั่นก็คือ การบริหารผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการบริหารอย่างครบวงจรในทุกปัจจัยที่จะนำไปสู่ผลปฏิบัติงานที่ดี ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น

การบริหารดังกล่าวนี้ นอกจากจะช่วยให้ผู้จัดการสามารถบริหารผลงานได้อย่างใกล้ชิด มีความต่อเนื่องแล้ว ยังจะช่วยให้ผู้บริหารมีความมั่นใจได้มากขึ้นว่า การปฎิบัติการทั้งหมดจะเป็นไปตามแนวทางที่วางไว้อย่างถูกต้องและได้ตัวเลขตามที่ต้องการ หรือผลอย่างที่วางแผนไว้ หากนำตัวอย่างการประเมินผลงานแบบ 360 องศาไปใช้ องค์กรจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้านเข้าสู่ Performance Management ต่อไป ดาวน์โหลดที่นี่

เนื่องด้วยการบริหารผลปฏิบัติงานนั้น มีความละเอียดอ่อน ขั้นตอนที่มากมาย รวมไปถึงความซับซ้อนในการปฎิบัติจริง โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มีพนักงานจำนวนมาก และมีขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนของแต่ละฝ่าย ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบการติดตามผลในรูปแบบเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาช่วย ซึ่งเรียกว่า Performance Management System ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยให้ การบริหารผลงานนั้นไม่ยุ่งยากมากเช่นเดิม เนื่องจากมีการรวมเครื่องมือ การติดตามผล รวมไปถึงการสื่อสารต่างๆเอาไว้บนชุดระบบเพียงชุดเดียว อย่างเช่นระบบ Performance Management จาก SAP เป็นต้น

ข้อเสีย จากการใช้ระบบ Performance Management

แน่นอนว่า ทุกสิ่งย่อมมีข้อเสีย โดยเฉพาะการทำ ซึ่งแม้แต่ในระบบที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานจากหลายบริษัท กลับมีข้อเสียที่ อาจจะไม่มากแต่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับในยุคแห่งการ Disrupt นี้ นั่นก็คือ

การทำให้พนักงานรู้สึกหวาดกลัว เสียกำลังใจ

Photo by Ethan Sykes / Unsplash

ซึ่งการตามติดผลงานอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการประเมินอย่างเข้มข้นนั้น ดูเผิน ๆ อาจจะดีต่อตัวเลขแต่ก็สร้างแรงกดดันให้กับพนักงานสูงมาก ๆ หลายครั้งเมื่อตัวเลขเริ่มลดน้อยถอยลงไม่ว่าจะปัจจัยภายนอกภายใน ก็จะนำไปสู่พฤติกรรมหลายอย่างที่ยากจะควบคุม เช่น Well-being พนักงานลดต่ำลง การอยู่แต่ใน Comfort Zone ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อการพัฒนาตัวงานให้ดีขึ้นเลย เพราะไม่มีการลองผิดลองถูก ทดลองอะไรใหม่ ๆ อีกต่อไป เพื่อที่จะรักษา Performance ของตัวเองไว้ ตลอดจน การทำลายความสัมพันธ์ภายในองค์กร เพราะทีมก็จะเริ่มหาคนผิด กำจัดจุดอ่อน กลายเป็น Toxic ในองค์กร ส่งผลร้ายต่อความเป็นทีมและประสิทธิภาพในการทำงานแทน เหมือนเป็น Adverse Effect

สร้างและจัดการ High-Performing Team อย่างแตกต่างด้วย Happily.ai

เมื่อคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของการทำ Performance Management แล้วนั้น เป้าหมายหลักจริง ๆ ไม่ใช่การจับผิดพนักงาน แต่เป็นการสนับสนุนให้พวกเขาทำงานได้ดี เต็มประสิทธิภาพ แก้ไขจุดอ่อนเสริมสร้างจุดแข็ง ให้หนุนองค์กรไปสู่เป้าหมายสูงสุดที่ได้วางเอาไว้ แต่การทำอย่างเย็นชาและขาดความระมัดระวังอาจส่งผลเสียต่อองค์กรอย่างใหญ่หลวงได้ อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

เพื่อการยกระดับของการบริหารประสิทธิภาพการทำงานและบรรยากาศการทำงานไปพร้อมกันอย่างแท้จริง ทาง Happily.ai ได้มีการพัฒนาเครื่องมือ ที่จะช่วยให้คุณยกระดับ Mindset ของพนักงาน, เสริมสร้างความเป็นทีมที่เข้มแข็ง, เชื่อมโยงผู้จัดการและพนักงาน, ลดความเหินห่าง ให้พนักงานและผู้จัดการมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้นผ่านระบบการให้ Feedback, พร้อมระบบวิเคราะห์ Insight ของพนักงาน ช่วยให้คุณสามารถลงมาแทรกแซงภาวะวิกฤติ หรือนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณสามารถทำการบริหารจัดการประสิทธิภาพในการทำงาน หรือ Performance Management ได้อย่างแตกต่างแต่ทรงพลัง นำพาความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมาสู่องค์กร

โดยคุณสามารถศึกษาฟีเจอร์ต่างๆของเราว่า เราสามารถช่วยคุณได้อย่างไรจากหน้าแนะนำบนเว็บไซต์ของเรา

หรือลงทะเบียนจากฟอร์มด้านล่าง เพื่อรับคำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมจากทีมงานของเรา พร้อมสิทธิในการทดลองใช้งานในเวอร์ชั่น Demo

นอกเหนือจากนั้นแล้ว ทาง Happily.ai ยังมีอีบุ๊กอีกมากมายให้ดาวน์โหลดฟรี ที่จะช่วยให้คุณจัดการ ทำความเข้าใจ และดูแลบุคลากรในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้าน Employee Engagement, Well-being, Resilience, Organizational Culture และอื่น ๆ สามารถเยี่ยมชมได้ที่นี่

Share this post