ชุดตัวอย่างแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน Employee Engagement Survey

เครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานคือ แบบสำรวจความคิดเห็นของพนักงานในด้านต่าง ๆ ของชีวิตการทำงาน หรือที่รู้จักกันดีว่า Employee Engagement Survey
ชุดตัวอย่างแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน Employee Engagement Survey
Photo by Windows / Unsplash

Employee Engagement คืออะไร ?

Employee engagement หรือความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน คือศาสตร์และศิลป์ที่ยึดโยงผู้คนเอาไว้เพื่อการจัดกลยุทธ์ การวางตําแหน่ง การทํางาน องค์กร สังคมการทํางาน ความสัมพันธ์ ลูกค้า การพัฒนา รวมไปถึงพลังและความสุข องค์ประกอบทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนผลักดันและดํารงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการทํางานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร— David Zinger

หรืออาจกล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่าความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานคือ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและพนักงานในองค์กรนั้น ซึ่งความผูกพันนี้จะช่วยอธิบายขอบเขตที่พนักงานมีความกระตือรือล้นในการทํางานของพวกเขา

ความผูกพันต่อองค์กรสร้างแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตการทํางานที่สร้างสภาวะที่ถูกต้องเหมาะสมที่ทําให้พนักงานสามารถทํางานได้เต็มที่ และที่ Happily.ai เราพิจารณา 11 มิติหรือแง่มุมที่ช่วยให้คุณเข้าใจธรรมชาติของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานแต่ละคนในทีม ซึ่งในหัวข้อถัดไปจะเป็นคํานิยามและตัวอย่างคำถามในแต่ละมิติที่คุณสามารถเริ่มต้นใช้ในการทําแบบสอบถามกับพนักงานของคุณได้ โดยมีมิติดังนี้

  • ความสุข (Happiness)
  • ความพึงพอใจ (Satisfaction)
  • การได้รับความสําคัญหรือการชื่นชม (Recognition)
  • การผ่อนคลายในการทํางาน (Wellness)
  • ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน (Relationship with Colleagues)
  • การให้ฟีดแบ็ก (Feedback)
  • ความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างาน (Relationship with Manager)
  • การพัฒนาตนเอง (Personal Growth)
  • การเป็นตัวแทนขององค์กร (Ambassadorship)
  • การเป็นไปในแนวทางเดียวกับบริษัท (Company Alignment)
  • การตรวจสอบตนเอง(Introspection)

ความสุข (Happiness)

ความสุข เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงความรู้สึกผูกพัน และการรักษาพนักงานไว้กับองค์กร

นักวิจัยพบว่าพนักงานที่มีความสุขจะมีประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้นถึง 12% พนักงานเหล่านี้จะมองเห็นความท้าทายเป็นโอกาสมากกว่าที่จะมองเห็นเป็นปัญหา และเขาเหล่านี้ยังมีทักษะในการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ได้ดีกว่าด้วย

ตัวอย่างคำถาม

ความพึงพอใจ (Satisfaction)

พนักงานที่รู้สึกว่างานของตัวเองมีความท้าทายไม่น่าเบื่อ จะรู้สึกผูกพันกับที่ทํางาน รวมถึงมีความพึงพอใจกับงานของตัวเองสูงขึ้น

งานวิจัยของ Adam Grant ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของพนักงานที่สนุกกับการทํางาน โดยที่ความพึงพอใจในการทํางานนี้จะรวมไปถึงพนักงานรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับค่าตอบแทน, สวัสดิการ, ประสบการณ์ทํางาน, สิ่งแวดล้อมในการทํางาน และอื่น ๆ อีกมากมาย

ตัวอย่างคำถาม

การได้รับความสําคัญหรือการชื่นชม (Recognition)

การชื่นชม/การให้ความสําคัญ คือแรงจูงใจที่ดีที่สุดสําหรับ top performance ในองค์กร

การศึกษาจาก Deloitte พบว่า “องค์กรที่มีโปรแกรมการชื่นชมหรือให้ความสําคัญต่อพนักงาน (recognition) ที่มีประสิทธิภาพสูงที่ทําให้พนักงานมีความผูกพันในองค์กรนี้ มีอัตราการลาออกจากงานโดยสมัครใจของพนักงานตํ่ากว่าองค์กรที่มีโปรแกรมการ recognition ที่ไม่มีประสิทธิภาพถึง 31%”

ตัวอย่างคำถาม

การผ่อนคลายในการทํางาน (Wellness)

พนักงานที่ความตึงเครียด มีแนวโน้มที่จะทํางานผิดพลาดและเสี่ยงที่จะรู้สึกหมดไฟกับงานที่ทํา

พนักงานต้องการ Work-life Balance เพื่อที่จะรักษาประสิทธิภาพและความผูกพันกับงานของพวกเขา จากการศึกษา แสดงให้เห็นว่าความเครียดในที่ทํางานและการหมดไฟในการทํางาน (Burnout) มีผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โดยจะพิจารณาทั้งความผ่อนคลายทางกายภาพและทางใจ

ตัวอย่างคำถาม

ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน (Relationship with Colleagues)

ที่ทํางานที่ทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสําคัญในการทํางานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

การสนับสนุนที่พนักงานได้รับจากเพื่อนร่วมงานมีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสามารถในการการบริหารความเครียด การศึกษาพบว่าความพึงพอใจต่อเพื่อนร่วมงานหนึ่งคนมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสําคัญ

ตัวอย่างคำถาม

การให้ฟีดแบ็ก (Feedback)

Feedback คือสิ่งสําคัญที่จะช่วยให้ทีมได้เรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Feedback มีศักยภาพอย่างมากต่อประโยชน์ของพนักงานในเทอมของประสิทธิภาพของพนักงานแต่ละคนเองและของทีม พนักงานต้องการความเข้าใจที่ชัดเจนว่าพวกเขาควรปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองอย่างไร ซึ่งการสื่อสารที่ชัดเจนและต่อเนื่องเป็นเรื่องที่สําคัญ

ตัวอย่างคำถาม

ความสัมพันธ์ต่อหัวหน้างาน (Relationship with Manager)

การพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับทีม ช่วยให้คุณมีโอกาสได้แก้ปัญหาก่อนจะสายเกินไป คนในทีมก็รู้สึกมีคนรับฟังและรู้สึกว่าความเห็นของตัวเองมีคุณค่า

“คนมักลาออกจากหัวหน้างาน ไม่ใช่บริษัท” จากข้อมูลของ Gallup ผู้จัดการมีส่วนถึง 70% ในการเปลี่บนแปลงของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และในบริษัทที่ดีหัวงานจะมีส่วนทําให้เกิดความแตกต่างนี้ขึ้น

ตัวอย่างคำถาม

การพัฒนาตนเอง (Personal Growth)

โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ช่วยให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและมีแรงจูงใจ โดยเฉพาะในช่วงที่เครียดมากหรืองานล้นมือ

การศึกษา Why People Really Quit Their Jobs ของ Adam Grant และทีมของเขา พบว่าพนักงานลาออกเพราะงานของพวกเขาไม่สนุก ความสามารถไม่ได้ถูกนํามาใช้เลย และพวกเขาไม่ได้เติบโตในหน้าที่การงานพนักงานต้องการรู้สึกว่าพวกเขากําลังเติบโตและได้เรียนรู้ตลอดเวลาทั้งทางด้านส่วนตัวและด้านการงาน ในส่วนนี้หัวหน้าสามารถแสดงบทบาทที่สําคัญโดยการเป็นโค้ชและให้โอกาสในการเรียนรู้โดยตรงแก่ทีมของตนเอง

ตัวอย่างคำถาม

การเป็นตัวแทนขององค์กร (Ambassadorship)

พนักงานที่คิดว่าตัวเองจะไม่แนะนําบริษัทให้คนอื่นเข้ามาทํางาน มักเป็นคนที่ขาดความรู้สึกผูกพันกับองค์กร และรู้สึกขาดแรงจูงใจที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า

หนึ่งในวิธีที่มีความนิยมมากที่สุดในการวัดค่าความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานก็คือการใช้ค่า eNPS (employee Net Promotor Score) ซึ่งหลักการนี้ริเริ่มพัฒนามาจาก Bain & Co. ที่นําวิธีนี้มาวัดค่าความจงรักภักดีของลูกค้า

พนักงานที่จงรักภักดีผู้ที่รู้สึกภูมิใจที่ได้ทํางานอยู่กับองค์กรจะเป็นสินทรัพย์ที่ดีที่สุดขององค์กรที่จะช่วยดึงดูดคนที่มีความสามารถและช่วยเหลือองค์กรในการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในช่วงวิกฤต

ตัวอย่างคำถาม

การเป็นไปในแนวทางเดียวกับบริษัท (Company Alignment)

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรและให้งานสําเร็จลุล่วง การทํางานของทีมต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การเป็นไปในแนวทางเดียวกับบริษัท (Company alignment) ช่วยให้หัวหน้างานและเหล่าผู้นําในองค์กรมีความเข้าใจถึงพนักงานในทีมหรือองค์กรของตนมีส่วนในการสร้างผลงานได้ตรงตามจุดประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรได้มากน้อยเพียงใด ส่วนผลงานที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรคือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่น้อยเกินไปที่กีดขวางการเติบโต การพัฒนา และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน

ตัวอย่างคำถาม

การตรวจสอบตนเอง(Introspection)

การศึกษาในปัจจุบันพุ่งความสนใจไปที่ แนวคิดที่มีผลต่อพฤติกรรม (Mindset) ว่าแสดงบทบาทที่สําคัญอย่างไรต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน

จิตวิทยาทางสังคม, ทางการศึกษา, และทางองค์กร ชี้แจงว่า แนวคิดที่มีผลต่อพฤติกรรม (Mindset) เป็นทรัพยากรส่วนบุคคลอย่างไรที่อาจส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานผ่านทางความกระตือรือล้นในการพัฒนา, การตีความเรื่องความพยายาม, การพุ่งความสนใจไปที่ความใส่ใจ, การรับรู้ถึงการถอยหลังหรือความล้มเหลว, และการทํางานร่วมกันระหว่างบุคคล

ตัวอย่างคำถาม

จากข้างต้นคือตัวอย่างคำถามในทั้ง 11 มิติที่เกี่ยวข้องกับชีวิตการทำงาน เมื่อเราทำการพัฒนาทุก ๆ มิติที่กล่าวมานี้จะสร้าง Employee Engagement และสิ่งนี้ก็จะขับเคลื่อนพนักงานทำงานเต็มกำลังความสามารถช่วยให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!