เมื่อเราพูดถึงความผ่อนคลายในการทํางานของพนักงานหรือ Employee Wellness เรามักจะนึกถึงเรื่องสุขภาพกายเป็นหลัก แต่แท้ที่จริงแล้วความผ่อนคลายในการทํางานของพนักงานเป็นสภาวะที่แสดงถึงความสุขสมบูรณ์ของพนักงานในองค์รวม (ร่างกาย ความคิด อารมณ์ สังคม และจิตใจ ซึ่งในที่นี้หมายถึงความเชื่อ ความศรัทธา รวมไปจนถึงความผูกพัน)

ปัญหาสุขภาพจิตที่พนักงานในองค์กรกําลังเผชิญอยู่

ความผ่อนคลายในการทํางานของพนักงานหรือ Employee Wellness มีผลต่อภาพรวมทั้งหมดขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลิตภาพของทีม (Team Productivity) และประสิทธิภาพในการทํางาน หลายองค์กรได้ดําเนินการทําโครงการในการช่วยเหลือพนักงานไม่ให้เกิดภาวะหมดไฟในการทํางาน หรือ เบิร์นเอาท์ ซินโดรม (Burnout Syndrome) โดยดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และสิ่งนี้นําไปสู่การเพิ่มอัตราการรักษาพนักงาน (Employee Retention Rate) ให้สูงขึ้นด้วย

ข้อมูลจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) เผยผู้บริโภควัยทํางานในเมืองกรุง 12% อยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) 57% อยู่ในภาวะความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะหมดไฟ ขณะที่ Gen Z กําลังตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% ขณะที่กลุ่ม Gen Y หรือช่วงอายุ 23–38 ปี ก็ตกอยู่ในสภาวะใกล้เคียงกันที่ 13% แต่กลับกันในกลุ่ม Baby boomer หรือช่วงอายุ อายุ 55 - 73 ปี กลับอยู่ในภาวะหมดไฟเพียง 7%

จากการเก็บผลสำรวจผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานครในช่วงปลายปี 2562 จำนวน 1,280 คน เป็นผู้หญิง 66% ผู้ชาย 34%

เครื่องมือที่เข้ามาช่วยดูแลสุขภาพจิตและความเครียดของพนักงาน

ปัจจุบันมีหลายระบบเข้ามาช่วยดูแลเรื่องความผ่อนคลายในการทำงานในด้านสุขภาพของแต่ละบุคคลโดยใช้ข้อมูลของบุคคลนั้นๆ โดยแพลตฟอร์มที่ใช้เทคนิคในรูปแบบของเกม (Gamification) และอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถสวมใส่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ (Wearable) เพื่อเก็บข้อมูลแล้วนำไปประมวลผลต่อ หรือตอบสนองความต้องการด้านโสตประสาทที่กำลังได้รับความนิยม ซึ่งจะเน้นที่สุขภาพร่างกายเป็นหลัก

ปัจจุบันนี้หลายองค์กรให้ความสำคัญในส่วนของการดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงานมากยิ่งขึ้น และก่อนที่จะนำเครื่องมือมาช่วยเรื่องสุขภาพจิตใจของพนักงาน ทางองค์กรหรือผู้นำจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าพนักงานในองค์กร มีความเครียดวิตกกังวลหรือมีความสุขในการทำงานมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันที่เข้ามาช่วยในการตรวจจับ ความสุขและความเครียดของพนักงานจึงมีความสำคัญ และแอปพลิเคชันที่ช่วยเรื่องการตรวจวัดความสุขของพนักงาน ก็เช่น Happily.ai

หลังจากนั้นเมื่อทราบว่าเกิดปัญหาในองค์กรในด้านนี้แล้วก็สามารถนำเครื่องมือที่ช่วยเรื่องสุขภาพจิตใจของพนักงานให้ต่อสู้กับความวิตกกังวลและความหดหู่อย่างเช่น Ooca, Raksa, Good Doctor

ตัวอย่าง หน้าจอการใช้แอป Ooca
ตัวอย่าง หน้าจอการใช้แอป Raksa
ตัวอย่าง หน้าจอการใช้แอป Good Doctor

ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ช่วยวัดระดับความสุขความเครียดของพนักงานจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ก็คือแพลตฟอร์ม Happily.ai ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นเครื่องมือสำรวจความสุขของพนักงานรายวันในรูปแบบเหมือนเกม (gamification) โดยจะ เก็บรวบรวมข้อมูลของพนักงานมาประมวลผลออกมาให้ดูง่ายๆ แบบ traffic light (เขียว, เหลือง, แดง) ที่แสดงอุณหภูมิความสุขของแต่ละทีม  เพื่อดูว่าวันนั้นๆพนักงานในทีมหรือในองค์กรของคุณมีความสุขมากน้อยแค่ไหนและในเรื่องใด ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่

ตัวอย่างรายงานความสุขของทีมจากแอป Happily.ai

องค์กรจะเติบโตและดำเนินต่อไปได้ด้วยบุคลากรที่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ดังนั้นการดูแลสุขภาพกายใจของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่ผู้นำและองค์กรต้องดูแลและให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ และในสถานการณ์ปัจจุบันการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้ผู้นำและองค์กรสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และมีข้อมูลเพื่อนำมาดำเนินการด้านกลยุทธ์และแผนการดำเนินการหรือนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Happily.ai | เวทย์มนตร์เบื้องหลังทีมที่มีความสุขและมีสมรรถนะสูง
ให้ทีมของคุณทำงานได้ดีที่สุด โดยการได้รับการมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงาน ปลูกฝังค่านิยม และความสัมพันธ์ที่ดี ที่ช่วยสร้างที่ทำงานที่คนรัก!
Share this post