เสริมสร้างดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) ด้วยผู้จัดการหรือหัวหน้างานที่มีความกระตือรือร้น

งานวิจัยของเราจะทำให้คุณเห็นว่าผู้จัดการหรือหัวหน้างานที่มีความกระตือรือร้นจะนำพาทีมของเขาไปพร้อมกับดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานที่สูงกว่าทีมที่ผู้จัดการไม่กระตือรือร้นถึง 5 เท่า
เสริมสร้างดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) ด้วยผู้จัดการหรือหัวหน้างานที่มีความกระตือรือร้น

งานวิจัยของเราจะทำให้คุณเห็นว่าผู้จัดการหรือหัวหน้างานที่มีความกระตือรือร้นจะนำพาทีมของเขาไปพร้อมกับดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) ของพนักงานที่สูงกว่าทีมที่ผู้จัดการไม่กระตือรือร้นถึง 5 เท่า

ดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) คืออะไร

ดัชนีชี้วัดความภักดีของลูกค้า (Net Promoter Score: NPS) คือเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพของประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ รวมถึงใช้เพื่อคาดคะเนความเป็นไปได้ในการเติบโตทางธุรกิจ [1] ค่าดัชนีนี้ได้ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 2003 โดย Fred Reicheld จากบริษัท Bain & Co. ซึ่งมันได้กลายเป็นมาตรฐานในการวัดความเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทให้กับผู้อื่นต่อไป ในทำนองเดียวกันนี้ยังมีดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (employee Net Promoter Score: eNPS) เพื่อวัดความเป็นไปได้ที่พนักงานคนหนึ่งที่จะแนะนำบริษัทของตนเองในแง่ของสถานที่ทำงานให้กับผู้อื่น [2] ซึ่งดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) สามารถแสดงให้เห็นถึงช่องว่างและโอกาสที่จะเกิดความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) หรือความเป็นไปได้ที่พนักงานจะลาออก รวมถึงอื่นๆ อีกมากมาย

งานวิจัยและผลลัพธ์ที่เราได้มา

เราทำการตั้งสมมุติฐานว่าทีมที่มีผู้จัดการที่มีความกระตือรือร้น (Active) จะมีค่าดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) ของพนักงานสูงกว่าทีมที่มีผู้จัดการที่ไม่มีความกระตือรือร้น (Non-active)

งานวิจัยของเรา

เราศึกษาข้อมูลการทำกิจกรรมของผู้จัดการจาก 3 บริษัท ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 59 ทีมและมีสมาชิกทั้งหมด 428 คน (โดยเราทำการคัดเลือกเฉพาะทีมที่มีสมาชิกรวมกันมากกว่า 3 คนขึ้นไป) การประเมินความกระตือรือร้นของผู้จัดการจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าอัตราการตอบสนอง (อัตราการตอบฟีดแบ็กที่ได้รับจากสมาชิกในทีม) หลังจากนั้นจึงจะมีการแบ่งผู้จัดการออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่มีความกระตือรือร้นและกลุ่มที่ไม่มีความกระตือรือร้น

กลุ่มที่ไม่มีความกระตือรือร้น (G0) จะเป็นกลุ่มที่ความถี่ของการตอบฟีดแบ็กของผู้จัดการอยู่ในเกณฑ์ต่ำหรือไม่ปรากฏเลย (อัตราการตอบฟีดแบ็กน้อยกว่าหรือเท่ากับ 33 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 33 จาก 59 ทีม

กลุ่มที่มีความกระตือรือร้น (G1) จะเป็นกลุ่มที่ความถี่ของการตอบฟีดแบ็กของผู้จัดการอยู่ในเกณฑ์สูง (อัตราการตอบฟีดแบ็กสูงกว่า 33 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีจำนวน 26 จาก 59 ทีม

เราใช้ดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) ของพนักงานเพื่อวิเคราะห์คำตอบจากคำถามที่เราใช้ถามพนักงานว่า “จากระดับ 0 ถึง 10 มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่คุณจะแนะนำบริษัทของเรา ให้บุคคลภายนอกมาทำงาน?” และเราใช้คำตอบตรงนี้จัดกลุ่มพนักงานออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ผู้สนับสนุน (Promoter) คือพนักงานที่ให้คำตอบตั้งแต่ 9 ถึง 10 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความภักดีต่อองค์กรและพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่
  2. ผู้ที่รู้สึกเฉยๆ (Passive) คือพนักงานที่ให้คำตอบตั้งแต่ 7 หรือ 8 ซึ่งเป็นผู้ที่พึงพอใจกับองค์กรแต่ไม่เกิดการสนับสนุนเทียบเท่ากับพนักงานในกลุ่มแรก
  3. ผู้ที่ไม่พอใจ (Detractor) คือพนักงานที่ให้คำตอบตั้งแต่ 0 ถึง 6 ซึ่งเป็นผู้ที่นอกจากจะไม่แนะนำองค์กรกับผู้อื่นแล้ว ยังอาจพยายามกีดขวางผู้อื่นในการเข้าร่วมองค์กรของตนเองอีกด้วย

จากนั้นจะมีการนำดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) ของพนักงานไปคำนวณโดยการใช้เปอร์เซ็นต์ของผู้ไม่พอใจลบกับเปอร์เซ็นต์ของผู้สนับสนุน โดยผลลัพธ์จะอยู่ระหว่าง -100 ถึง 100

ดัชนีความภักดีของทีม (Team eNPS)
คุณลักษณะของผู้จัดการและผลดัชนีความภักดีต่อองค์กร

จากผลลัพธ์ ค่ามัธยฐานของดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) ในกลุ่ม G0 และ G1 คือ 6 และ 31 ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9 และ 29 ตามลำดับ) งานวิจัยปี 2019 ที่ทำกับหลายองค์กรทั่วโลกในเรื่องของดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) ซึ่งจัดทำโดยบริษัท QuestionPro แสดงให้เห็นคะแนนที่อยู่ระหว่าง -62 และ 83 และมีค่ามัธยฐานที่ 13 [3] ในงานวิจัยของเรานั้น มีทีมที่อยู่ในกลุ่ม G0 เพียง 45 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีคะแนนสูงกว่าค่ามัธยฐานทั่วโลก ในขณะที่ทีมที่อยู่ในกลุ่ม G1 กว่า 73 เปอร์เซ็นต์มีคะแนนสูงกว่าค่าดังกล่าว

ดัชนีวัดความภักดีของทีม Team eNPS

ทีมที่ผู้จัดการมีความกระตือรือร้นจะมีค่ามัธยฐานของดัชนีชี้วัดความภักดี  (eNPS) สูงกว่าทีมที่ผู้จัดการไม่มีความกระตือรือร้นถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

ดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) นี้จะช่วยเราให้เข้าใจปัจจัยที่เป็นรากฐานของทัศนคติ วิสัยทัศน์และพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (Employee Engagement) และการเพิ่มขึ้นของผู้สนับสนุนองค์กรอีกด้วย ความกระตือรือร้นจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ผู้จัดการจำเป็นต้องมี พนักงานที่แบ่งเวลาส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อมอบฟีดแบ็กให้กับผู้จัดการของเขาหรือเธอถือได้ว่ามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมที่สำคัญในเชิงธุรกิจเป็นอย่างมาก และผู้จัดการที่สามารถจัดสรรทั้งเวลาและกำลังเพื่อนำฟีดแบ็กดังกล่าวมาปรับใช้จะยิ่งสร้างผลดีมหาศาลต่อองค์กรของพวกเขา

ผู้สนับสนุนและผู้ไม่พอใจสามารถทำให้เพิ่มหรือลดจำนวนได้

ในช่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายเป็นเรื่องที่ต้องเผชิญ หลายองค์กรสามารถใช้โอกาสนี้เพื่อหล่อหลอมวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างการตัดสินใจขององค์กรหนึ่งที่เรานำข้อมูลมาพิจารณา ขณะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญการระบาดของโรคโควิด-19 โดยผลลัพธ์จากการตัดสินใจขององค์กรดังกล่าวได้รับการรวบรวมทั้งก่อนและหลังการระบาด ซึ่งคือระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคมของปี 2020 มีพนักงานที่เกิดการเปลี่ยนกลุ่ม (ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตามที่มีการกล่าวไป) ถึง 35 เปอร์เซ็นต์และมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างพนักงานที่อยู่ในทีมของผู้จัดการที่มีความกระตือรือร้นและทีมที่ผู้จัดการขาดความกระตือรือร้น โดยในที่นี้ มีผู้จัดการ 50 คนที่ไม่มีความกระตือรือร้น (68 เปอร์เซ็นต์) และ 23 ที่มีความกระตือรือร้น (32 เปอร์เซ็นต์) รวมทั้งหมด 73 คน

ในระยะเวลาดังกล่าว ทีมที่ผู้จัดการไม่มีความกระตือรือร้นมียอดพนักงานสนับสนุนเพิ่มขึ้น 13 คนแต่ก็ลดลง 13 คนเช่นกัน ทำให้ยอดรวมสุทธิเท่ากับ 0 และพวกเขายังมีพนักงานที่ไม่พอใจเพิ่มขึ้น 21 คนและลดลงไปเพียง 2 คน ทำให้ยอดรวมสุทธิของผู้ไม่พอใจเพิ่มขึ้นถึง 19 คน ส่วนทีมที่ผู้จัดการมีความกระตือรือร้นมียอดพนักงานสนับสนุนเพิ่มขึ้น 5 คนและลดลง 1 คน ยอดรวมสุทธิของพนักงานสนับสนุนเพิ่มขึ้น 4 คน และพวกเขามีพนักงานที่ไม่พอใจเพิ่มขึ้น 6 คนและลดลงไป 2 คน ทำให้มียอดรวมสุทธิของผู้ไม่พอใจที่ 4 คน ส่วนพนักงานอีก 112 คนไม่มีรายงานการเปลี่ยนแปลงกลุ่มแต่อย่างใด

สร้างวัฒนธรรมฟีดแบ็ก

ผู้จัดการถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พนักงานที่สนับสนุน นิ่งเฉยหรือแม้กระทั่งไม่พอใจเพิ่มหรือลดจำนวน ผู้จัดการควรได้รับการส่งเสริม รวมถึงให้รางวัลเมื่อพวกเขารู้จักตอบสนองต่อฟีดแบ็กที่พวกเขาได้รับ และเมื่อพวกเขามีความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการทีมของตนเอง

4 วิธีด้านล่างนี้เป็นวิธีที่จะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการให้ฟีดแบ็ก ซึ่งจะมีความหมายต่อองค์กรเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

  1. ส่งเสริมการให้ฟีดแบ็กตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร (หัวหน้าหรือผู้จัดการ)
  2. ยกตัวอย่างการให้ฟีดแบ็กที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือนำไปต่อยอดได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมให้พนักงานเห็น
  3. ให้ฟีดแบ็กอย่างสม่ำเสมอและมีขั้นตอนการให้ที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
  4. จัดกิจกรรมพิเศษของการให้และรับฟีดแบ็ก (อาทิสัปดาห์แห่งฟีดแบ็กเชิงสร้างสรรค์)

ฟีดแบ็กเป็นสิ่งที่ล้ำค่า เป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way communication) และเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาทั้งตัวบุคคลและตัวองค์กร ฟีดแบ็กที่ตรงไปตรงมาอาจทำให้ผู้รับกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้จัดการควรได้รับการฝึกหรือชี้ให้เห็นถึงวิธีการตอบสนองต่อฟีดแบ็กที่พวกเขาได้รับ รวมถึงวิธีการนำมันไปใช้ต่อไป เมื่อคุณวางรากฐานนี้ในองค์กรของคุณแล้ว วงจรแห่งการให้และรับฟีดแบ็กจะเปรียบเสมือนเงินก้อนโตที่เป็นกำไรให้องค์กรของคุณอย่างมหาศาล

บทสรุป

งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าผู้จัดการหรือหัวหน้างานมีผลอย่างมากต่อดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) ผู้จัดการที่มีความกระตือรือร้นจะนำพาทีมของเขาไปได้ไกล พร้อมกับค่าดัชนีชี้วัดความภักดี (eNPS) ที่สูงกว่า และค่าดังกล่าวบ่งชี้ถึงการเป็นตัวแทนขององค์กรและความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement) ที่เพิ่มขึ้น และยังลดความเป็นไปได้ที่พนักงานจะลาออกอีกด้วย ฉะนั้นในฐานะองค์กรเราควรส่งเสริมพนักงานให้เกิดวัฒนธรรมการให้ฟีดแบ็ก อย่างเป็นระบบ รวมถึงส่งเสริมผู้จัดการให้เกิดการนำฟีดแบ็กเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในทีมต่อไป

ที่ Happily.ai เราพร้อมที่จะช่วยองค์กรของคุณพัฒนาวัฒนธรรมการให้ฟีดแบ็ก ด้วยเครื่องมือชิ้นสำคัญที่เราจะมอบให้กับผู้จัดการของคุณเพื่อทำให้พวกเขากลายเป็นผู้จัดการที่มีความกระตือรือร้นมากขึ้น

apple

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.netpromoter.com/know/

[2] https://www.qualtrics.com/au/experience-management/customer/net-promoter-score/?rid=ip&prevsite=en&newsite=au&geo=TH&geomatch=au

[3] https://www.questionpro.com/blog/culture-benchmarks-for-enps/

[4] https://memory.ai/timely-blog/how-to-build-a-feedback-culture

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!