อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อมีการพูดถึงเกม หรือ การทำให้เป็นเกม ในเชิงธุรกิจแล้วมักจะถูกต่อต้าน หรือวีโต้จากฝ่ายบริหาร รวมทั้งฝ่ายอื่นๆ ที่คิดว่า การทำงานมักจะต้องมีความเคร่งเครียดจริงจังตลอดเวลา รวมไปถึงมองว่า การแปลงสิ่งต่างๆให้มีความเป็นเกม ให้ดูสนุก จะเป็นการดึงสมาธิของพนักงานออกจากงาน บางครั้งอาจจะหนักไปถึงขั้นเข้าใจว่า จะทำให้พนักงานนั้นมานั่งเล่นเกมกันทั้งวัน

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คือความเข้าใจที่ผิดอันเนื่องมาจากการที่ไม่ได้เข้าใจในตัวคอนเซปท์ รวมไปถึงอาจไม่เห็นภาพจากกรณีศึกษาเรื่องการใช้งานจริง และประโยชน์ที่ได้จากมันจริงๆ อย่างชัดเจน ดังนั้น หัวข้อในวันนี้ก็คือ

ธุรกิจได้ประโยชน์อย่างไร ในการนำเอาระบบของเกม หรือ Gamification มาร่วมใช้ในการทำงาน?

ประโยชน์ของ Gamification ต่อธุรกิจในแง่มุมต่างๆ

ในยุคปัจจุบันนั้น ได้มีการนำเอาระบบของเกมเข้ามาใช้ร่วมกับการทำงานอย่างหลากหลาย ในหลายแผนกไม่ว่าจะเป็น แผนกการตลาด ที่มีการนำเอาการตลาดแบบ Interactive เข้ามาใช้, แผนกบุคคล ที่นำเอาระบบของเกมมาทำให้การพัฒนาบุคคลมีพลังจูงใจและได้รับความร่วมมือที่สูงมากขึ้น, หรือแม้แต่ในหน่วยงานรัฐบาลอย่าง กองทัพสหรัฐฯ ก็ได้มีการนำเอาระบบแบบเกมเข้ามาสร้างแรงจูงใจให้คนมาสมัครเข้าร่วมเป็นทหารอาสาในกองทัพ เป็นต้น

เห็นได้ว่า หลากหน่วยงานต่างเห็นข้อดีของมัน แม้แต่กองทัพที่เกรียงไกรที่สุดในโลกก็ตาม

ดังนั้น ผู้จัดการที่รับผิดชอบในการบริหารทีมและยอดต่างๆ ผู้บริหารที่นำพาบริษัทไปในทิศทางที่มุ่งสู่อนาคต รวมไปถึง เจ้าของกิจการที่ต้องรับผิดชอบความเป็นไปของธุรกิจ จึงไม่สามารถที่จะละเลยสิ่งที่เรียกว่า Gamification ได้ต่อไป ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าคุณได้เห็นประโยชน์แล้ว คุณจะไม่พลาดในการหามาใช้งานกับกิจการของคุณ ก่อนที่จะเสียโอกาสครั้งใหญ่อย่างแน่นอน

ประโยชน์ที่ 1: ช่วยคุณในการเก็บข้อมูลจากลูกค้า

แน่นอนที่ถ้าคุณเก็บข้อมูลด้วยการกรอกแบบสอบถาม หรือเข้าไปถามตรงๆ ก็จะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายและมักจะถูกปฏิเสธ จนคุณพลาดข้อมูลอันมีค่าไปอย่างง่ายดาย

แต่เมื่อคุณได้ลองทำเครื่องมือการเก็บข้อมูล ออกมาเป็นกิจกรรมในรูปแบบเกม มีการเก็บคะแนน แจกของรางวัล ตลอดจนระบบการติดตามในด้านการแลกของรางวัล จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงพฤติกรรม ความคิด รสนิยมของลูกค้าได้ง่ายมากขึ้นโดยที่ไม่ได้รุกล้ำพวกเขามากเกินไป

Shopee Quiz Gamification
อีกรูปแบบหนึ่งของการ Gamified จาก Shopee ที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี

โดยการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้นั้น คุณสามารถเห็นได้ทั่วไปตาม eCommerce Platform ต่างๆ โดยที่เป็นที่นิยมของชาวไทย นั่นก็คือ Shopee ที่ทุกวันนี้รู้จักกันทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งหลายคนคงได้ใช้กันจนชินมือในช่วง Work From Home ที่ผ่านมา แล้วคงได้เล่นเกมสารพัดกับ Shopee ไม่ว่าจะเป็นการทำฟาร์ม ปลูกพืช กดกล่องกาช่า เล่น Shopee Quiz นั่นล่ะ ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดของการเก็บข้อมูลในรูปแบบ Gamification

โดยในปัจจุบันนั้น ทาง Shopee ก็ได้ทำการ Gamified ในส่วนของการดูแล สร้างแรงกระตุ้นให้กับพนักงานด้วยเช่นกัน ซึ่งทำได้อย่างไรนั้น ทางเราจะกล่าวในส่วนท้ายของบทความ

ประโยชน์ที่ 2: ช่วยในด้านการศึกษา รวมถึงการพัฒนาศักยภาพพนักงาน

เมื่อการเข้าอบรมเฉยๆ ซึ่งมักจะเป็นกิจกรรมที่เป็นไฟล์ทบังคับสำหรับพนักงาน เพื่อที่จะได้ผ่านการประเมินของบริษัท กลายเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย รวมไปถึง การเล่นกิจกรรมหลายๆอย่างในห้อง ก็กลายเป็นอะไรที่เริ่มซ้ำซาก น่ารำคาญสำหรับหลายๆ คนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น จึงต้องมีวิธีการใหม่ๆเข้ามาช่วย

Squid Game Screenshot Gamification
การ Gamified แบบหนึ่ง แต่เราไม่แนะนำให้คุณทำแบบนี้นะ!

โดย Gamification ก็ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในกิจกรรมนี้ ซึ่ง Gamification ที่ว่านี้อาจไม่ได้จำกัดแค่การใช้ Application เท่านั้น แต่อาจรวมไปถึงทั้งตัวกิจกรรมออกแบบมาในรูปแบบเสมือนกับการเล่นเกม (ถ้ามองภาพให้ชัด คุณอาจจะลองนึกถึงหนังดังอย่าง Hunger Games, Battle Royale หรือที่กำลังมาแรงอย่าง Squid Game แต่เราไม่ได้กำลังจะบอกว่าให้พวกคุณทำร้ายกันในเกมนะ)

โดยปัจจุบันนั้น บริษัทแนวฝึกอบรม หรือ consultant ต่างๆ ก็เริ่มที่จะนำเอาวิธีนี้เข้ามาช่วยเหลือในการทำกิจกรรมอบรมให้กับลูกค้า สร้างความแตกต่าง เพิ่มความ effective และเพิ่มมูลค่า ในตัวบริการของบริษัท

ตัวอย่างการทำ Gamification ของทางกองทัพสหรัฐฯ

หรือบางครั้งอาจจะเป็นการนำเกมของจริงเข้ามาใช้ในการฝึกซ้อมเลย โดยในกองทัพสหรัฐอเมริกานั้นได้มีการสร้างวิดีโอเกมที่มีความสมจริง มีการวัดผลจริงๆ ตัดเกรดจริงๆ รับรางวัลกันจริง เข้ามาใช้ในการฝึกซ้อมกองทัพด้านการวางกลยุทธ์โจมตี ตั้งรับ การทำความเข้าใจในตัวสถานการณ์ต่างๆ โดยตัวเกมนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ วิดีโอเกมส์ชื่อดังอย่าง Counter Strikes, Battlefield, หรือ Call of Duty ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกเสียงฮือฮากันอย่างมาก ทำให้มีวัยรุ่นจำนวนมากสนใจที่จะมาสมัครเข้ากองทัพ เรียกได้ว่า นอกจากจะช่วยด้าน Training แล้ว ยังเป็นตัวเสริมสร้าง Employer Branding ให้มีความเข้มแข็ง โดดเด่น ได้ดีมากอีกด้วย

ประโยชน์ที่ 3: ช่วยให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับบริษัทมากขึ้น

คงจะมีบ่อยครั้งที่คุณเห็นพนักงานมาทำงานกันแบบหน้าตาน่าเบื่อหน่าย ซังกะตาย พร้อมจะทำงานเน้นลวกๆ เอาตัวรอดไปวันๆ ไม่ว่าจะเปลี่ยนคนมากี่คนก็มักจะกลับไปมีพฤติกรรมแบบเดียวกัน หรือแม้แต่ตัวคุณเองที่เป็นเจ้าของก็อาจจะยังเบื่อหน่ายในสิ่งที่ทำทุกวันเองเลย พอจะหาอะไรมาช่วยเก็บข้อมูล หรือปรับปรุงสภาพการทำงานของพนักงาน ก็มักจะเจอแต่ Survey ที่น่าเบื่อหน่ายอีก จะเข้าไปถามตรงๆ ก็มั่นใจได้เลยว่า พนักงานจะกลัวว่าตัวเองอาจจะโดนไล่ออก จนไม่บอกความจริงอย่างแน่นอน ทั้งยังจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน กับฝ่ายบริหารจัดการ ยิ่งเสื่อมถอยลงไปอีก

Happily.ai HR Tech Gamification App

แต่ในปัจจุบันนี้ คุณไม่จำเป็นต้องกังวลใจ เพราะได้มี Application เชิงธุรกิจมากมายที่ออกมาในรูปแบบ Gamification ที่หลอมรวมความเป็นเกม กับองค์ประกอบที่จำเป็นในการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานกับบริษัท ทั้งระบบ Survey ในรูปแบบคล้ายการตอบคำถามในเกม, ระบบกิจกรรมร่วมกันระหว่างพนักงานกับพนักงาน หรือ พนักงานกับบริษัท อย่างเช่น การร่วมช่วยกันเก็บ level พัฒนา clan, ระบบกระทู้ถามตอบเสมือน social media ย่อยๆ ภายใน, ระบบการให้รางวัล เสมือนการทำงานเป็นเกมๆ หนึ่ง โดยพนักงานสามารถเอาเหรียญ หรือ Gem ที่เก็บได้ไปแลกของที่ตัวเองต้องการ เสมือนการชื้อ item ในเกมยอดฮิตต่างๆ รวมไปถึงระบบการให้ Feedback แบบครอบคลุม ทั้งระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ผู้จัดการกับพนักงาน พนักงานสู่ผู้บริหาร โดยคุณสามารถรับชมตัวอย่างคร่าวๆได้จากวิดีโอของเรา:

Happily.ai ที่จะเข้ามาช่วย Gamified ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน

อ่านมาถึงจุดนี้ คุณอาจจะอยากทำการ Gamified กิจการ หรือบริษัทของคุณ เพื่อที่จะได้เพิ่มประสิทธิภาพ หรือก้าวทันยุคสมัยให้ทันคู่แข่งบ้าง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

ไม่ต้องห่วง ในช่วงเวลานี้ เราพร้อมให้คำปรึกษากับคุณฟรี! เพียงแค่จองเวลาในการขอคำปรึกษาจากเรา ในแบบฟอร์มด้านล่าง ลงทะเบียนเลย!

Share this post