พัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานด้วยความเข้าใจใน "ช่องว่าง" ระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริง

การศึกษาข้อมูลเผยให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริงผ่านมิติชีวิตการทำงานที่สำคัญซึ่งมีผลทำให้ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสูงขึ้น อีกทั้งเรายังมีกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าช่องว่างนี้ลดลงได้อย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป
พัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานด้วยความเข้าใจใน "ช่องว่าง" ระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริง

การศึกษาข้อมูลเผยให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริงผ่านมิติชีวิตการทำงานที่สำคัญซึ่งมีผลทำให้ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสูงขึ้น อีกทั้งเรายังมีกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าช่องว่างนี้ลดลงได้อย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป

ความสำคัญของการทำความเข้าใจพนักงานของคุณ

“ชนะคนในทีมของคุณ ก่อนจะชนะตลาดการค้า — Doug Conant อดีตผู้บริหารและประธานกรรมการบริหารแห่งบริษัท Campbell Soup

การชนะคนในทีมหมายถึง การที่องค์กรเข้าไปมีส่วนร่วมและเอาชนะใจพนักงานได้ สิ่งนี้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจในความต้องการและความคาดหวังของพนักงาน ซึ่งการจัดการความคาดหวังนี้ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญในการกระตุ้นพนักงาน และเป็นแรงผลักดันในการทำหน้าที่ของพวกเขา

หากองกรค์สามารถทำความเข้าใจความต้องการของพนักงานได้เป็นอย่างดี ผู้นำจะตอบสนองต่อความต้องการนั้นได้อย่างทันท่วงที และพนักงานจะมีความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น และไม่เพียงแต่พวกเขาจะไม่อยากลาออก แต่พวกเขายังมีประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรตระหนักถึงความแตกต่างของพนักงานแต่ละคน เพราะแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของพวกเขา [1] และการปิดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงจะช่วยผู้จัดการและผู้นำในการดึงศักยภาพของพนักงานออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงช่วยให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่ดีในองค์กร [2]

ในบทความนี้เราทำการศึกษาความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริงผ่าน 3 แง่มุมชีวิตการทำงานของพวกเขา ซึ่งประกอบไปด้วยความผ่อนคลายในการทำงาน (Wellness) การได้รับฟีดแบ็ก (Feedback) รวมถึงการชื่นชมและการให้ความสำคัญ (Recognition) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และความต้องการทำงานในองค์กรของพนักงาน

การศึกษาข้อมูลและสิ่งที่ค้นพบ

สมมุติฐาน “เราสามารถลดช่องว่างช่องว่างระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริง ในมิติของความผ่อนคลายในการทำงาน, การได้รับฟีดแบ็ก, รวมถึงการชื่นชมและการให้ความสำคัญได้เมื่อเวลาผ่านไป

การศึกษาข้อมูล

เราทำการศึกษาคำตอบจากแบบสำรวจความสุข (Pulse Surveys) ของพนักงานกว่า 1,500 คนเพื่อวัดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริง ในแง่ของความผ่อนคลายในการทำงานนั้น เราทำการวัดความยืดหยุ่นในการทำงานของพนักงาน ทั้งที่มาจากมุมมองของพนักงานเองและจากการประเมินตามจริงหรืออีกนัยหนึ่งคือ พนักงานที่รู้สึกว่าพวกเขาสามารถจัดการกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีและยังคงมีความสุขในช่วงเวลาดังกล่าว

ในส่วนของการได้รับฟีดแบ็ก เราพิจารณามุมมองของพนักงานที่มีต่อความสำคัญของการได้รับฟีดแบ็ก กับการที่พนักงานที่ได้รับฟีดแบ็กสม่ำเสมอ ซึ่งคล้ายกันกับกรณีของการชื่นชมและให้ความสำคัญ ที่เราพิจารณามุมมองของพนักงานที่มีต่อความสำคัญของการได้รับการชื่นชม กับการที่พนักงานได้รับการชื่นชมจากผู้อื่น

ผลลัพธ์เผยให้เห็นว่า

  • ความผ่อนคลายในการทำงาน — พนักงาน 88 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า พวกเขามีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง (คือมีความสุขในช่วงเวลาตึงเครียด) แต่มีเพียง 66 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นเช่นนั้นจริง
  • การได้รับฟีดแบ็ก — พนักงาน 97 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าฟีดแบ็กเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา และมากกว่า 89 เปอร์เซ็นต์ได้รับฟีดแบ็กอย่างเพียงพอ
  • การชื่นชมและการได้รับความสำคัญ — พนักงานกว่า 93 เปอร์เซ็นต์ระบุการได้รับการชื่นชมเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา แต่มีเพียง 75 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับการชื่นชมจากผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
apple

ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริง ซึ่งในการจัดการความคาดหวังของพนักงาน แต่ละช่องว่างเปรียบเสมือนโอกาสในการเติมเต็มความต้องการนั้นๆ ของพนักงาน รวมไปถึงโอกาสในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพของพนักงานด้วยเช่นกัน

ความผ่อนคลายในการทำงาน, การได้รับฟีดแบ็ก, รวมถึงการชื่นชมและการให้ความสำคัญล้วนแต่เป็นมิติของความผูกพันต่อองค์กรที่ไม่ซับซ้อน ที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ มีช่องว่างเหล่านี้เกิดขึ้น และในส่วนของช่องว่างของความพึงพอใจในการทำงาน, ช่องว่างของการพัฒนาตนเอง, และช่องว่างของความสอดคล้องกันของทั้งองค์กร (และอื่นๆ) ก็มีบทบาทที่สำคัญในการผลักดันศักยภาพขององค์กรให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรศึกษาต่อไปในอนาคต

กรณีศึกษา

คำถามคือ “เราจะสามารถลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงได้หรือไม่” และ “จะมีผลสืบเนื่องทางธุรกิจอย่างไรบ้าง

เราทำการศึกษาจากแบบสำรวจความสุขรายวันของพนักงานทั้ง 210 คนจากบริษัท A เพื่อสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของช่องว่าง รวมถึงหาผลลัพธ์อื่นที่สามารถประเมินค่าได้

อีกทั้งเรายังศึกษาข้อเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริง ในแง่ของความผ่อนคลายในการทำงาน, การได้รับฟีดแบ็ก. และการชื่นชมและการให้ความสำคัญตามช่วงเวลาต่อไปนี้

1. ความผ่อนคลายในการทำงาน — เปรียบเทียบข้อมูลจากเดือนเมษายนและกรกฎาคมของปี 2020

2. การได้รับฟีดแบ็ก — เปรียบเทียบข้อมูลจากเดือนมิถุนายนและกันยายนของปี 2020

3. การชื่นชมและการได้รับความสำคัญ — เปรียบเทียบข้อมูลจากเดือนพฤษภาคม กรกฎาคมและตุลาคมของปี 2020

ผลลัพธ์

ในส่วนของความผ่อนคลายจากการทำงาน เราพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของความยืดหยุ่นในการทำงานของพนักงาน พนักงานที่มีความสุขในขณะที่มีความเครียดด้วยนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้น และช่องว่างความแตกต่างของความคาดหวังและความเป็นจริงเล็กลงเมื่อเวลาผ่านไป

  • ในเดือนเมษายน พนักงานกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาสามารถจัดการความเครียดได้เป็นอย่างดี ในขณะที่มีพนักงานเพียง 53 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความสุขในช่วงเวลาดังกล่าว
  • ในเดือนกรกฎาคม พนักงานกว่า 89 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาพวกเขาสามารถจัดการความเครียดได้เป็นอย่างดี และมีพนักงานถึง 75 เปอร์เซ็นต์ที่รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

ในส่วนของการได้รับฟีดแบ็กนั้น พนักงานที่ได้รับฟีดแบ็กอย่างเพียงพอมีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่จำนวนพนักงานที่มองว่าการได้รับฟีดแบ็กเป็นสิ่งสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมาก

  • ในเดือนมิถุนายน พนักงาน 66 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการได้รับฟีดแบ็กเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา และมีพนักงานกว่า 91 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการฟีดแบ็กอย่างเพียงพอ
  • ในเดือนกันยายน พนักงาน 82 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการได้รับฟีดแบ็กเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา และมีพนักงานกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการฟีดแบ็กอย่างเพียงพอ

ในส่วนของการชื่นชมและการได้รับความสำคัญมีผลลัพธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับผลลัพธ์ของการได้รับฟีดแบ็กนั่นก็คือ พนักงานที่ได้รับการชื่นชมอย่างเพียงพอมีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่พนักงานที่มองว่าการได้รับการชื่นชมเป็นเรื่องสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเวลาผ่านไป

  • ในเดือนพฤษภาคม พนักงาน 55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการได้รับการชื่นชมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา และมีพนักงานกว่า 82 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการชื่นชมจากผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
  • ในเดือนกรกฎาคม พนักงาน 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการได้รับการชื่นชมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา และมีพนักงานกว่า 88 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการชื่นชมจากผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
  • ในเดือนตุลาคม พนักงาน 69 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการได้รับการชื่นชมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขา และมีพนักงานกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับการชื่นชมจากผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
apple

สิ่งที่เราค้นพบ

  1. ด้วยวิธีการจัดการและพัฒนาตัวบุคคลที่เหมาะสมนั้น (ดูเพิ่มเติมที่ Happily.ai) จะช่วยพัฒนาความยืดหยุ่นในการทำงานได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเห็นได้จากช่องว่างของความผ่อนคลายในการทำงานที่ลดลง
  2. การให้ฟีดแบ็กและการชื่นชมอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอจะทำให้พนักงานมองการกระทำเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการลดช่องระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงของพวกเขาด้วยเช่นกัน
  3. การลดช่องว่างเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผลของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ดังนี้

3.1 ทีมที่มีความสุขในการทำงาน — พนักงานกว่า 75 เปอร์เซ็นต์มีความสุขในการทำงาน

3.2 ลดความเสี่ยงทางบุคลากร — ทีมที่ปราศจากความเสี่ยง (คือทีมที่ไม่มีสมาชิกที่ไม่มีความสุขในการทำงาน) มีจำนวนเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์

3.3 การรับรู้ถึงความคาดหวังที่ถูกเติมเต็มมากขึ้น — คะแนนมัธยฐานของคำถามที่ว่า “จาก 0 ถึง 10 คะแนน องค์กรของคุณเติมเต็มความคาดหวังของคุณได้มากขนาดไหน” เพิ่มขึ้นจาก 7 เป็น 8 คะแนน แม้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อย แต่มีความหมายอย่างยิ่งในแง่ของการพัฒนา

แนวทาง 4 ประการสู่การทำความเข้าใจพนักงานของคุณ

การทำความเข้าใจพนักงานไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุเพราะพนักงานแต่ละคนมีความจำเป็น ความต้องการ รวมถึงความคาดหวังที่แตกต่างกัน (3) การพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สูงที่สุด (ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้าหรือผู้นำ) ต้องมีการจัดการความคาดหวังที่ดีตลอดระยะเวลาการเติบโตในหน้าที่การงานของพนักงาน

ผู้นำที่มีความสามารถในการปรับตัว, แบบสำรวจความสุข, การรับฟีดแบ็กจากพนักงานที่นำไปสู่บทสนทนาที่มีความหมาย, และรวมไปถึงข้อมูลเชิงลึกของลักษณะการทำงานของพนักงาน องค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ผู้นำของคุณเข้าใจพนักงานแบบเรียลไทม์

  1. ผู้นำที่มีความสามารถในการปรับตัว — พนักงานของคุณมักชื่นชอบผู้นำที่รับฟัง และพร้อมปรับตัวเพื่อตอบรับความต้องการของพนักงาน ซึ่งรูปแบบของคำว่า “ผู้นำ” มีหลากหลายและมีประสิทธิภาพแตกต่างกันตามแต่ละสถานการณ์, ทัศนคติ, ความเชื่อ, ความชอบส่วนบุคคล, และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (4)
  2. แบบสำรวจความสุขและการรับฟีดแบ็กอย่างสม่ำเสมอ — แบบสำรวจความสุขรายวันถือเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการรับฟีดแบ็กจากพนักงานแบบเรียลไทม์ เปิดรับและตอบสนองต่อฟีดแบ็กที่คุณได้รับ เพราะมันเปรียบเสมือนโอกาสในการเสริมความแข็งแกร่ง และปรับปรุงจุดด้อยขององค์กรของคุณ
  3. การสื่อสารกับพนักงาน — เปิดช่องทางการสื่อสารกับพนักงาน (ที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการทำงาน) และกระตุ้นให้ผู้จัดการสร้างบทสนทนาที่มีความหมายกับพนักงานภายในทีมของพวกเขา หากพวกเขาไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ฟีดแบ็กที่ได้รับจากพนักงานก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของบทสนทนา
  4. ข้อมูลลักษณะการทำงาน — พนักงานทุกคนต่างมีแรงผลักดัน กระบวนการในการประมวลผลข้อมูล และการมีปฏิสัมพันธ์กับงานและสภาพแวดล้อมของการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแบบสอบถามลักษณะการทำงานจะช่วยให้เราเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของพนักงาน และช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทสรุป

ช่องว่างของความคาดหวังของพนักงานและความเป็นจริงแทรกอยู่ในมิติต่างๆ ของชีวิตการทำงาน การมีเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสมจะช่วยจัดการความคาดหวังและลดช่องว่างเหล่านี้ และส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น ความพยายามในการสร้างความหลากหลายขององค์กรจึงต้องใช้ความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจบุคลากร ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ผันเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

Happily.ai สามารถช่วยองค์กรของคุณทำความเข้าใจพนักงาน ผ่านการใช้แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กรแบบเรียลไทม์ รวมถึงการแนะแนวการสร้างบทสนทนาที่มีความหมาย และการให้ข้อมูลเชิงลึกที่ผู้จัดการและผู้นำของคุณสามารถนำไปต่อยอดได้ นอกจากนี้เรายังมีการสำรวจลักษณะการทำงานของพนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย ลองเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของพวกเราเพื่อขอรับการทดลองใช้ได้ทันที หรือลงทะเบียนรับคำปรึกษาฟรีได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

apple

เอกสารอ้างอิง

[1]https://www.tlnt.com/understanding-employee-needs-key-to-creating-a-highly-motivated-workforce/

[2] https://www.managementstudyguide.com/knowing-your-employees.htm

[3] https://www.forbes.com/sites/sap/2017/12/08/3-tips-to-help-managers-understand-their-employees/#3fba4c975f16

[4] https://www.infotrack.com.au/news-and-insights/5-powerful-tools-for-better-understanding-employees/

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!