แบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศาเป็นเครื่องมือที่หากนำไปใช้ร่วมกับกระบวนการประเมินผลงานในองค์กร จะช่วยวัดผลงานพนักงานได้รอบด้าน มีอคติน้อยลงและช่วยพัฒนาบุคลากรให้เติบโตและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพื่อให้รูปแบบการประเมินนี้ทำงานได้อย่างเต็มที่ องค์กรต้องจัดการกับปัญหาและสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความกลัวต่อการได้รับคำวิจารณ์ การไม่เชื่อถือในกระบวนการประเมินผล การฝึกฝนทักษะและความช่วยเหลือจากองค์กรไม่เพียงพอ รวมทั้งการประเมินผลไม่สอดคล้องไปในทางเดียวกันกับวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร บทความนี้เราขอนำเสนอแนวทางการลดและป้องกันปัญหาข้างต้น พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบที่สามารถนำไปปรับใช้ได้
แนวทางการทำให้แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน 360 องศาใช้งานได้จริง
1. จัดการกับความกลัวต่อ Feedback และคำวิจารณ์
สำหรับหลาย ๆ คน การได้รับฟังเสียงวิจารณ์และฟีดแบ็กเชิงลบจากผู้อื่นเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะกังวลว่าจะผลกระทบต่อหน้าที่การงานและความสัมพันธ์กับคนในที่ทำงาน เพื่อสร้างที่ทำงานที่เปิดรับต่อฟีดแบ็กและคำวิพากษ์วิจารณ์ องค์กรควรดำเนินการดังนี้
- เน้นย้ำความสำคัญของฟีดแบ็คที่สร้างสรรค์
- จัดเทรนนิ่งเพื่อฝึกฝนการให้และรับฟีดแบ็กอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนฟีดแบ็กระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
ตัวอย่าง: Adobe โปรแกรม "เช็คอิน (Check-in)" เป็นโปรแกรมส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนฟีดแบ็กกันเป็นประจำตลอดทั้งปี เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้คุณค่ากับฟีดแบ็กและลดความกลัวและความกังวลต่อคำวิจารณ์
2. สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการประเมิน
หากขาดความเชื่อมั่นในระบบการประเมินผลงาน พนักงานก็จะไม่เชื่อถือในผลการประเมินที่ตนเองได้รับ เพื่อสร้างความไว้วางใจและความยุติธรรมในระบบการประเมิน องค์กรสามารถดำเนินการดังนี้
- วางแนวทางและความคาดหวังของการประเมินให้ชัดเจน
- ขอ Feedback จากพนักงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทันที
- อาจจ้างที่ปรึกษาหรือบุคคลภายนอกเข้ามาดำเนินการ เพื่อยืนยันว่า ระบบการประเมินผลงานเป็นกลางและปราศจากอคติ
ตัวอย่าง: Microsoft จ้างให้บริษัทภายนอกเป็นคนดำเนินการประเมินระบบแบบ 360 องศา เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลของผู้ประเมินถูกเก็บเป็นความลับ ระบบการประเมินโปร่งใสและปราศจากอคติ
3. ให้การเทรนนิ่งและสนับสนุนสำหรับการประเมินที่มีประสิทธิภาพ
หากองค์กรให้การฝึกฝนและการสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ จะนำไปสู่การประเมินผลที่ไร้ประสิทธิภาพ พนักงานก็พลาดโอกาสในการพัฒนาตนเองและประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีความพร้อมที่จะให้และรับ Feedback ที่สร้างสรรค์ องค์กรควรที่จะดำเนินการดังนี้
- จัดเทรนนิ่งฝึกการให้และรับ Feedback ที่สร้างสรรค์
- โค้ชสกิลและทักษะที่จำเป็น
- จัดทำเครื่องมือช่วยเหลือ เช่น เทมเพลตและคู่มือแนะนำ เป็นต้น
ตัวอย่าง: โปรแกรม FastWorks ของบริษัท General Electric เป็นโปรแกรมที่สร้างสถานการณ์จำลองและแสดงบทบาทสมมติ เพื่อช่วยให้พนักงานฝึกฝนการให้และรับ Feedback ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
4. ทำให้การประเมินผลงานเป็นไปในทิศทางเดียวกับวัฒนธรรมองค์กร
การประเมินผลงานแบบ 360 องศาจะทำงานได้อย่างเต็มที่ เมื่อการประเมินเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร โดยองค์กรสามารถดำเนินการดังนี้
- หมั่นทบทวนและอัพเดตพันธกิจ วิสัยทัศน์และค่านิยมองค์กรให้สะท้อนและเน้นย้ำความสำคัญของ Feedback และการเติบโตของพนักงาน
- ให้หนักงานมีส่วนร่วมในการกระบวนการประเมิน เพื่อให้มั่นใจว่าการประเมินสะท้อนความต้องการและสิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริง
ตัวอย่าง: Zappos ใช้การประเมินแบบ 360 องศา เพื่อพัฒนาพนักงานให้เติบโตและก้าวหน้า สอดคล้องกับที่วัฒนธรรมองค์กรซึ่งเน้นย้ำว่า ความสุขของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ Zappos
ตัวอย่างการประเมินผลงานแบบ 360 องศาจาก Happily.ai
ถ้าคุณกำลังจะนำการประเมินผลงานแบบ 360 องศาไปใช้ในองค์กร Happily.ai ได้ออกแบบเทมเพลตที่มีคำถามตัวอย่าง แนวทางการใช้งานและการให้ Feedback รวมทั้งการประเมินทักษะของพนักงาน เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นการประเมินรูปแบบนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดาวน์โหลดตัวอย่างการประเมินผลงานแบบ 360 องศาได้ฟรีที่นี่
บทสรุป
เมื่อองค์กรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่โอบรับ Feedback หรือคำวิจารณ์ ขั้นตอนและกระบวนการประเมินโปร่งใสและยุติธรรม ให้การฝึกฝนทักษะที่จำเป็น และทำให้การประเมินสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมองค์กร องค์กรก็สามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้การประเมินผลงานแบบ 360 องศาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ผลที่ได้รับก็จะตกแก่พนักงานและองค์กรในท้ายที่สุด