ทุก ๆ องค์กรต้องการการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโตประสบความสำเร็จ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมการมีวัฒนธรรมการให้ Feedback สร้างสรรค์จึงมีความสำคัญมากต่อองค์กร นอกจากนี้การให้ Feedback ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน และเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย ถึงแม้ส่วนใหญ่แล้วการให้ Feedback อาจถูกมองเป็นการกระทำเชิงลบ แต่จริง ๆ แล้ว Feedback ที่มีคุณภาพจะช่วยเน้นย้ำประเด็นที่คนต้องปรับปรุงและช่วยให้พวกเขามีผลงานที่ดีขึ้นในระยะยาว การให้ Feedback ที่ดีมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นผู้ให้ Feedback จะต้องเรียนรู้ที่จะให้ฟีดแบ็กที่นำไปสู่การพัฒนา

3 บทความการศึกษาข้อมูลต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ Feedback ในที่ทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน และข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมการให้และได้รับ Feedback อย่างมีประสิทธิภาพในสถานที่ทำงานของคุณ

1. วัดผลการมีส่วนร่วมต่อองค์กรของพนักงาน และค้นหาพนักงานที่มีผลการทำงานที่โดดเด่นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย "การให้ Feedback "

พนักงานที่มีผลการทำงานที่โดดเด่น คือผู้ที่ได้รับการชื่นชมยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกันและจากผู้จัดการ พวกเขาไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี แต่ยังมีประโยชน์และคอยสนับสนุนเพื่อนร่วมงานของพวกเขาอีกด้วย เราได้ศึกษาการให้และได้รับ Feedback ในสามบริษัท รวมพนักงานทั้งหมด 551 คน และพบว่าพนักงานที่มีผลการทำงานที่โดดเด่นมีแนวโน้มที่จะแบ่งปัน Feedback ที่มีความหมายอย่างสม่ำเสมอถึงมากกว่าถึง 20 เท่า สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า Feedback และการชื่นชมยอมรับมีความสำคัญต่อการสร้าง Engagement และการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ (Talent Activation) อย่างมาก และในบทความนี้ได้นำเสนอ 6 วิธี ที่คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนพนักงานที่มีผลการทำงานที่โดดเด่นของคุณ

2. ส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ในองค์กรผ่านการให้ Feedback และการชื่นชมและขอบคุณกันอย่างสม่ำเสมอ

ผู้นำที่ดีรู้วิธีส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์หรือ Talent ในองค์กร การส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ (Talent Activation) ช่วยให้ผู้นำรับรู้ถึงศักยภาพสูงสุดของพนักงาน สร้างความไว้วางใจ และสร้างการเติบโตร่วมกัน การให้โอกาสพนักงานในการแบ่งปัน Feedback อย่างสม่ำเสมอเป็นกุญแจหลักในการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ของคุณ จากการศึกษาข้อมูลเราพบว่าพนักงานมากกว่าครึ่งมีส่วนร่วมในการให้ Feedback รายสัปดาห์ และมีส่วนร่วมในการชื่นชมและขอบคุณกันในที่ทำงาน จะเห็นได้ว่าทั้ง Feedback และการชื่นชมขอบคุณกันในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงานให้ความสำคัญโดยเฉพาะพนักงานที่เป็น Talent ในองค์กร คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ของการส่งเสริมคนเก่งที่มีพรสวรรค์ และเทคนิคที่จะช่วยให้พนักงานของคุณบรรลุศักยภาพสูงสุดได้ที่นี่

3. แหล่งที่มาของ Feedback ที่น่าประหลาดใจ

พนักงานส่วนใหญ่มักขอ Feedback จากผู้ที่เป็นผู้จัดการ เนื่องจากผู้จัดการถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ น่าเชื่อถือ และมีความสามารถมากกว่า แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ จากการศึกษาของเราพบว่า พนักงานที่ไม่ใช่ผู้จัดการที่มีการเชื่อมต่อกับพนักงานคนอื่นจำนวนมากในองค์กรทั้งในทีมและนอกทีมตนเอง หรือที่เรียกว่ามีประสิทธิภาพเครือข่ายสูง ก็เป็นแหล่ง Feedback ที่สำคัญเช่นกัน เนื่องจากผู้ที่มีประสิทธิภาพเครือข่ายสูงมักจะให้ Feedback ที่สร้างสรรค์ มีเจตนาดี และมีความหมายมากกว่า พนักงานไม่ขอ Feedback เพียงเพราะจำเป็นต้องทำ แต่เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับคุณภาพของ Feedback ที่ได้รับ คุณสามารถค้นหาวิธีที่คุณสามารถ Engage พนักงานของคุณด้วย Feedback ที่มีประสิทธิภาพได้ที่นี่

ไม่ว่าคุณจะทำงานในหน่วยงานไหนในระดับใดก็ตาม คุณหลีกเลี่ยงการให้และรับ Feedback ไม่ได้ เพราะ Feedback คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมองเห็นประสิทธิภาพการทำงานของตัวเองและย้ำเตือนในสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง  Feedback จะไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไปหากคุณรู้วิธีที่จะใช้ Feedback ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวคุณเองและเพื่อนร่วมงาน รวมไปถึงองค์กรของคุณ หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถช่วยเหลือองค์กรของคุณให้เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมการให้ Feedback ที่แข็งแกร่ง สามารถเข้าไปเยี่ยมชมและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของเราได้ที่ Happily.ai หรือดาวน์โหลดหนังสือด้านล่างเพื่อศึกษาด้านการรับฟังเสียงพนักงานด้วยคำถามเจาะลึกเพื่อความ Engage ที่มากยิ่งขึ้นในที่ทำงานของคุณ:

เอกสารอ้างอิง

[1] https://blog.happily.ai/th/activate-your-talent-with-regular-feedback-and-recognition-thai/

[2] https://blog.happily.ai/th/feedback-is-the-ultimate-measure-of-engagement-and-can-help-you-identify-your-top-performers-th/

[3] https://blog.happily.ai/th/an-unexpected-source-of-feedback-th/

[4] Photo by John Schnobrich on Unsplash

Share this post