Note: หลังจากที่ทางเราได้นำเสนอบทความถึง ความเป็นมาของบริษัท Happily.ai และความสำคัญของการให้ Feedback ที่เชื่อมโยงกับการสร้าง Employee Engagement ในคราวที่ผ่านมาแล้ว วันนี้ก็ได้มาถึงภาคสุดท้ายของซีรีย์ Happily.ai จาก HR Note Thailand ซึ่งจะเป็นการอธิบายถึงตัว application ตลอดจนฟีเจอร์ต่างๆ (ที่ออกมา ณ ช่วงเวลาที่บทความต้นฉบับถูกตีพิมพ์) โดยคุณสามารถอ่านบทความต้นฉบับได้จาก ที่นี่

Happily.ai แอปพลิเคชั่นที่จะช่วยสร้าง Engagement ภายในองค์กร

Happily.ai มีความเชืือมั่นในการสร้าง Highly Engaged Team เพื่อนำไปสู่ High-performing team
เพราะ Happily.ai เชื่อว่า ทีมที่ Engaged กับที่ทำงานร่วมแรงร่วมใจในทุกระดับ คือคำตอบสุดท้ายขององค์กรยุคใหม่

จุดเด่นของ Happily.ai คือเช็คแบบวันต่อวัน

ตอนเราเริ่มสร้าง Happily.ai ขึ้นมา เราคิดว่าควรจะ Engage กับพนักงานบ่อยแค่ไหน เรารู้ว่าบริษัททั่วไปทำสำรวจ Employee Engagement กันปีละครั้ง

ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่าเราควรจะ Engage กับพนักงานปีละครั้งรึเปล่า หรือควรจะเป็นเดือนละครั้งไหม แล้วเราก็พบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือทำแบบวันต่อวัน หมายถึงเราเข้าไป Engage กับพนักงานทุกวัน เพราะ ในการทำงานเราต้องคุยกันทุกวันอยู่แล้ว การจัดการเรื่องของคน ก็ควรเป็นกิจกรรมที่ทำทุกวัน ไม่ใช่ทำอาทิตย์ละครั้ง เพราะปัญหาบางอย่างมันรอไม่ได้ ทิ้งไว้เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนอาจจะนานเกินไปจนสายเกินแก้

ซึ่ง Happily.ai ใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยทำให้สามารถวัดระดับความสุขหรือ Engage ที่พนักงานมีได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะทำให้เราสามารถหาทางจัดการหรือแก้ไขได้

สร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่พนักงาน ด้วยการตอบคำถามเหมือนเล่นเกม

Happily.ai with gamified UI/UX
ด้วยระบบการใช้งานที่คล้ายเกมมือถือ ช่วยเพิ่มความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานในทุกระดับ

เราทำ Happily.ai ให้เหมือนเกม โดยดีไซน์ให้ใช้ง่าย มีคาแร็กเตอร์ที่ดูสนุก เฟรนด์ลี่กับพนักงานทุกช่วงอายุ เพื่อทำให้เขาอยากเข้ามาตอบคำถามทุกวัน เน้นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ นำเทคโนโลยีและการดีไซน์เข้ามาใช้ทำให้การให้ Feedback ต่างๆ สนุกและเข้าถึงพนักงานได้มากขึ้น ไม่ใช่คำถามแบบหุ่นยนต์ที่เราถามกัน เช่น ‘ปีนี้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร’ หรือ ‘เพื่อนร่วมงานมีมนุษยสัมพันธ์อย่างไรบ้าง’ เราแค่ถามว่า ‘กับเพื่อนร่วมงานโอเคไหม’ ‘วันนี้ที่ทำงานเป็นยังไงบ้าง’ เป็นคำถามง่ายๆเหมือนที่เราจะต้องคุยกันในที่ทำงาน เพราะถ้าอ่านยากปวดหัว หน้าตาไม่น่าใช้ ก็คงไม่มีใครอยากตอบ

ถ้าตอบคำถามทุกวัน เราก็สะสมเหรียญ และนำเหรียญพวกนี้มาแลกเป็นรางวัลได้ ซึ่งรางวัลอาจจะเป็น Gift Card หรือ การแลกเป็นการออกจากที่ทำงานเร็วขึ้นสองชั่วโมง บริษัทก็สามารถสร้างรางวัลของตัวเองได้ เช่น ให้เหรียญกับพนักงานที่ช่วยเหลืองานนอกจากความรับผิดชอบของเขา

ทำให้ทุกครั้งที่เขาเข้ามาเล่น เขาก็จะรู้สึกว่าเขามีการสะสมและสามารถแลกเป็นของรางวัล เหมือนได้เล่นเกมผ่านการตอบคำถามและยังเพิ่ม Engagement ไปด้วย

💡
Working with Happily
การใช้ Happily กับบริษัทที่มีนโยบาย WFH,

บริษัท FMCG แห่งหนึ่งใช้ Happily สังเกตเห็นได้อย่างรวดเร็วว่าพนักงานมีความเครียด หนักใจ และมีปัญหามากเกินไป ทีมผู้นำกำลังเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของพนักงานที่ไม่ได้มีส่วนร่วมและเรื่องผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นทุกปี ด้วย Happily พวกเขาสามารถส่งเสริมเรื่อง Feedback loops ที่มีอย่างต่อเนื่องระหว่างพนักงานและผู้จัดการโดยตรงของพวกเขา ซึ่งในทางกลับกันก็ช่วยสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่แน่นแฟ้น การ Check-in รายวันของ Happily ยังช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจถึงความเป็นอยู่ที่ดีหรือ Well-being และอัตราความสุขของทีม ตลอดจนบอกได้ถึงบุคคลที่กำลังเผชิญปัญหาในแง่ของประสิทธิภาพอยู่

ผลลัพธ์ที่ได้: ความสุขของบริษัทเพิ่มขึ้น 43% หลังจาก 12 เดือน อัตราการลาออกโดยสมัครใจลดลง 4.1% ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนได้เยอะมาก

ใช้คำถามที่ไม่ใช่เชิงลบ เพื่อเพิ่มความคิดเชิงบวก

ระบบ Pulse Survey พร้อมคำถามเชิงบวกที่ช่วยลดกำแพงของผู้ใช้งาน

นอกจากเป็นการตอบคำถามแบบเล่นเกมแล้ว ยังเป็นการชื่นชมได้ด้วย คือเราจะเริ่มคำถามที่ไม่ใช่เชิงลบ ที่เราชอบถามว่า ‘มีอะไรอยากเสนอแนะ’ ‘มีอะไรอยากให้แก้ไขไหม’ เรารู้สึกว่าถามคำถามแบบนั้น เวลาทำงานก็จะคิดเรื่องลบในที่ทำงานอยู่แล้ว มันรู้สึกเหนื่อย

แต่เราจะเริ่มมีคำถามที่เราเข้าไปช่วย AI หรือคำถามที่เราครีเอทขึ้นมา จะทำให้คนคิดเรื่องเชิงบวกหรือสิ่งที่ดีที่เกี่ยวกับที่ทำงานมากขึ้น อย่างเช่นคำถามที่เราไม่คิดว่าปกติบริษัทถามกันเท่าไหร่ว่า

‘สิ่งที่เขาชอบเกี่ยวกับงานของเขาคืออะไร’

‘ช่วง 7 วันที่ผ่านมาอะไรที่ทำให้เขามีความสุขหรือภูมิใจกับมันมากที่สุด’

‘จุดแข็งของบริษัทเราคืออะไร’

‘อะไรคือเรื่องที่หัวหน้าเขาทำให้เขาและเขาชอบหรือไม่ชอบ’

เราจะเน้นเหมือนให้เขารู้สึกว่าได้คุยกัน ได้สะท้อนในเรื่องที่ดีด้วย ไม่ใช่คิดแบบ ‘วันนี้คุณทำงานเหนื่อยไหม’ ‘เรื่องอะไรที่คุณไม่ชอบบ้าง’ ถ้ามีแต่คำถามเชิงลบตลอด คนก็จะคิดลบไปเรื่อยๆ เราก็จะเหนื่อย มันจะเกิดแบบนี้ขึ้นได้เพราะเราตอบคำถามทุกวัน ถ้าถามทุกสัปดาห์หรือเดือนเราก็จะไม่สังเกตในเรื่องนี้

AI คือส่วนสำคัญของโปรดักต์

AI มีบทบาทสำคัญในโปรดักต์ของเรา ด้วยการใช้ AI ทำให้สามารถเข้าใจว่าออฟฟิศแต่ละที่ เมเนเจอร์ และคนในทีมมีความแตกต่างกันอย่างไร

และมีสองสิ่งที่ AI สามารถทำได้เป็นพิเศษ หนึ่งคือ สามารถเข้าใจบุคคลได้อย่างลึกซึ้ง เพราะทุกคนไม่ได้มีความคิดหรือค่านิยมที่เหมือนกัน เราจึงไม่สามารถคาดคะเนได้

การใช้ AI จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำยิ่งขึ้น

สองคือ เราสามารถมอบประสบการณ์ที่เหมาะกับพนักงานได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่นแทนที่จะให้คำแนะนำแบบเดียวกันกับทุกทีม เราก็เสนอสิ่งที่เหมาะกับความต้องการของแต่ละทีม

AI จึงมีความสำคัญอย่างมากในการค้นพบสิ่งใหม่ๆที่จะมีอิทธิพลต่อไปในอนาคตซึ่งจะเหมาะสมและมีความเกี่ยวข้องกับแต่ละทีม

เป้าหมายของ Happily.ai ต่อจากนี้

Happily.ai อนาคตแห่งที่ทำงานคุณภาพ
Happily.ai จะก้าวต่อไปไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานที่ดีให้กับทุกที่ในโลก

ที่เราเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กับ Engagement เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าเราสามารถเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง Engagement ได้ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

และเรายังเห็นว่า คน เป็นหัวใจสำคัญขององค์กร

เราอยากให้ทุกคนที่มาทำงาน ได้รู้สึกว่าบริษัทของพวกเขาใส่ใจและแคร์ความคิดเห็นของพวกเขา การรู้สึกว่าตนเองมีโอกาสเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพราะ Need ของคนที่เข้ามาทำงานนั้นมีมากกว่าเรื่องรายได้และมีความหลากหลาย

เราอยากให้ Happily.ai ได้เข้ามามีเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขให้การสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรดีขึ้น และได้ช่วยทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น

เห็นแบบนี้แล้วคุณคงเริ่มมีความต้องการที่จะทดลองใช้งานดูว่า ระบบที่ดูเหมือนเกมนี้ จะช่วยในการ Transform ธุรกิจของคุณให้แตกต่างไปจากที่เคยเป็นมาในเชิงบวกได้อย่างไร แน่นอนว่า ทางเราก็ได้มีแพคเกตทดลองใช้งาน พร้อมคำแนะนำจากทีมงานของเราอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถลงทะเบียนได้ฟรีจากแบบฟอร์มด้านล่างของเรา:

Share this post