คำว่า Transformation นั้นเป็นคำที่หลายคนฟังทีไร ก็น่าจะคิดได้ไม่ต่างกันว่า เป็นตำที่ฟังแล้วรู้สึก ตื่นเต้น ตื่นตา ซึ่งน่าจะเป็นเพราะภาพติดตาจากภาพยนตร์ดังอย่าง Transformer ด้วย รวมไปถึงกระแสที่มาแรงของการทำ Digital Transformation, Business Transformation, Cultural Transformation และสารพัด Transformation รวมไปถึงคำว่า ยุคเปลี่ยนผ่าน ที่ว่ากันว่า หลังจากที่ยุคนี้ได้ผ่านไป ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมด ไม่ว่าจะเป็น ความปกติของการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในสังคม ค่านิยมใหม่ๆ วัฒนธรรมแบบกลับด้านจากที่เคยเข้าใจ จนเรียกว่า โลกของเรานั้นไม่ใช่ใบเดิมที่คุ้นเคยอีกต่อไปแล้ว

แน่นอน ทุกการเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมมีผู้นำ ไม่ว่าจะเป็น Innovator, Trend Setter, Market Maker แต่ที่เป็นที่กล่าวขวัญในเวลานี้ ก็คงจะไม่พ้นกับคำว่า Transformational Leader หรือผู้นำในภาวะการเปลี่ยนแปลง แต่ก็หลายคนก็ยังไม่เข้าใจดีนักถึง ความเป็นผู้นำในภาวะเปลี่ยนแปลง (leadership) ตลอดจนบทบาทหน้าที่ ที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะในแง่มุมของการเป็นผู้นำในกิจการขนาดเล็ก จนถึงองค์กรขนาดใหญ่

Transformational Leadership คืออะไร และควรเป็นอย่างไร?

ในการเปลี่ยนแปลง ในยุคเปลี่ยนผ่านนั้น จำเป็นที่จะต้องมีผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความเชื่อมั่น มีความสามารถในการทำทางไปในทิศทางที่ชัดเจนได้ และแน่นอน ประเภทที่นั่งสั่งงานอย่างเดียวเป็นไปได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการทุกอย่าง ในระดับที่สามารถควบคุมได้ แต่ไม่ลงลึกระดับ Micro-management จนสร้างความไม่สบายใจให้กับผู้ร่วมงาน

ตัวอย่างผู้นำสไตล์นี้ที่หลายคนรู้จักกันดี คงจะไม่พ้น เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่โด่งดัง และเป็นผู้ปลุกปั้นนักบอลชื่อดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เดวิด เบ็คแฮม, ไรอัน กิ๊กซ์, โอเล่ โซลชา, เวย์น รูนีย์ เป็นต้น

และ ริชาร์ด แบรนสัน เจ้าของบริษัทเครือ Virgin Group ที่มีธุรกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ร้านแผ่นเสียง, ค่ายเพลง, บริษัทของเล่น, ไปจนถึงสายการบิน และการลงทุนในธุรกิจการท่องเที่ยวอวกาศ

ซึ่งทั้งสองท่านนี้เอง ที่มีชื่อเสียงในการสามารถเข้าถึงใจลูกทีม มีความพร้อมในการรับและสร้างความเปลี่ยนแปลงต่างๆมาร่วมเกือบครึ่งศตวรรษได้

คุณสมบัติที่ดี ของ Transformational Leaders

ผู้นำที่จะสามารถนำพาทีมในภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมอยู่หลายประการ ดังนี้

[1] มีความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยม

การเปลี่ยนแปลงต่างๆจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดความคิดสร้างสรรค์ที่ดีของผู้นำ นอกจากจะเป็นความคิดจากผู้นำคนเดียวแล้ว การกระตุ้นให้เกิคดวามคิดสร้างสรรค์ในหมู่สมาชิกทีมและลูกจ้าง รวมไปถึงการร่วมกันค้นหาสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา ออกจาก comfort zone เพื่อนำพาสิ่งใหม่ เพราะ ธุรกิจที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดความกระตือรือล้น ย่อมเป็นเพียงธุรกิจที่รอวันล่มสลาย

[2] สนับสนุนสมาชิกทีมอย่างแข็งขัน

ผู้นำที่ดีในภาวะเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ใช่ผู้นำที่ดีแต่สั่ง แต่คือผู้นำที่ลงมาร่วมสนับสนุนในการทำงานต่างๆให้เป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด รวมไปถึงการสนับสนุนทั้งทางใจ ความเป็นอยู่ เป็นเดอะแบกด้านการ Support อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเริ่มต้นทำได้ด้วยการสร้างการสื่อสารแบบเปิด ไม่ให้ลูกทีมขาดการติดต่อสื่อสารกับคุณในยามที่ต้องการ สร้างความสบายใจให้กับลูกทีมในการแชร์ไอเดียใหม่ๆ

เพราะถ้าลูกทีมกลัวที่จะพูดกับหัวหน้าเสียแล้ว หัวหน้าย่อมไม่รู้ทั้งปัญหา และไม่รู้ทั้งไอเดียใหม่ๆที่จะเข้ามาส่งเสริมในสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น จะเป็นเช่นไร คุณคงจะจินตนาการได้ไม่ยากเย็น

[3] สร้างพลังและกำลังใจแก่ลูกทีม

นอกจากนั้นแล้ว ผู้นำยังต้องเป็นผู้ที่สร้างแรงผลักดัน หรือ motivation ที่ดีให้กับทีม ให้กับทั้งองค์กร อีกทั้งยังต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะช่วยให้ทุกคนนั้นก้าวไปใน แพสชั่น (passion) อย่างเดียวกัน พัฒนาองค์กรอย่างคนมีไฟ

[4] มีความเป็นแบบอย่างที่ดีในองค์กร

ถ้าพ่อแม่คือแบบอย่างของลูกถึงแม้จะรู้ตัวหรือไม่ หัวหน้าก็ย่อมต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกทีม ถ้าหัวหน้าขี้เกียจปล่อยปละละเลย ลูกน้องก็ย่อมที่จะหย่อนยานตาม แต่ถ้าหัวหน้านั้นมีความมุ่งมั่นจริงจังกับงาน ทั้งยังไว้วางใจในลูกทีม มอบหมายงานอย่างเหมาะสม คุยเป็นเหตุผลมากกว่าดุด่า ย่อมเป็นแบบอย่างที่ยอดเยี่ยม ลูกน้องเชื่อมั่น พร้อมที่จะทำตามและไปตามอุดมการณ์เดียวกัน

สร้าง Trust ในองค์กรของคุณ

คุณจะเห็นได้ว่า ในคุณสมบัติเหล่านี้นั้น การสร้างการสื่อสารที่ดี เปิดกว้าง เพือสร้างความเชื่อมั่นหรือ trust ของลูกน้องนั้น เป็นสิ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถดำเนินบทบาทผู้นำได้อย่างเหมาะสมในภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันนี้ Happily.ai นั้นได้มีการวางฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างความเชื่อมั่น เชื่อใจในทีม ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องเมื่อทีมของคุณขยายตัวขึ้นไป ซึ่งคุณสามารถศึกษาฟีเจอร์และประโยชน์ต่างๆจากแอพของเราในการสร้างทีมได้จากหน้านี้

One-on-One การประชุมแบบตัวต่อตัว เพื่อสร้าง Trust

ผู้นำที่ดีนั้นต้องเข้าใจลูกน้อง เข้าใจพนักงาน ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดนั้นคือ การได้ประชุมแบบตัวต่อตัว แต่การประชุมที่วางแผนมาไม่ดีนั้น นอกจากจะเสียเวลาและไม่ได้อะไรขึ้นมาแล้ว ยังจะนำไปสู่ความกินแหนงแคลงใจกันระหว่างหัวหน้ากับลูกทีม ส่งผลไปสู่ผลลัพท์เชิงลบนานาประการ

หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณสามารถที่จะวางแผนการประชุม และพูดคุยกับลูกทีมของคุณได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในเวลาอันจำกัด โดยคุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี! เพียงคลิ๊กลิงค์และทำตามขั้นตอนในหน้าจอถัดไป:

Share this post