สิ่งที่เราเรียนรู้จากความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

จากการศึกษาข้อมูล เราพบว่าองค์กรที่มีการสอบถามความเป็นไปกับพนักงานแบบรายวันและให้ฟีดแบ็กกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ (จากการใช้ Happily.ai) พนักงานเหล่านี้จะมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี แม้ว่าพนักงานส่วนใหญ่จะมีปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากงานก็ตาม
สิ่งที่เราเรียนรู้จากความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

จากการศึกษาข้อมูล เราพบว่าองค์กรที่มีการสอบถามความเป็นไปกับพนักงานแบบรายวันและให้ feedback กับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอ (จากการใช้ Happily.ai) พนักงานเหล่านี้จะมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีในช่วงระหว่างวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าพนักงานส่วนใหญ่จะมีปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากงานก็ตาม

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

“ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง คือการที่รู้ว่าคุณเท่านั้น ที่มีพลังและความรับผิดชอบมากพอจะฉุดตัวคุณเองให้ลุกขึ้นยืนอีกครั้ง” — Mary Halloway

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงคืออะไร

วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญกับชีวิตและสภาพแวดล้อมของเรา ซึ่งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแสดงบทบาทที่สำคัญอย่างมากที่จะช่วยเราให้ก้าวข้ามผ่านความยากลำบากนี้ไปได้

ทักษะหรือความสามารถดังกล่าวนี้ คือความสามารถในการ “ลุกขึ้นยืน” อีกครั้งหลังจากผ่านพบความผิดหวังและความล้มเหลว และเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราฟื้นตัวจากปัญหาได้ [1] ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแห่งสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ระบุว่า ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงคือกระบวนการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อความยากลำบาก ความเศร้าหมอง การสูญเสีย ช่วงเวลาแห่งความอันตรายหรือความเครียดที่รุมล้อม [2]

เพราะเหตุใด ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร

เว็บไซต์หางานสัญชาติอังกฤษ (UK Job Board) เปิดเผยว่า ผู้ว่าจ้างงานกว่า 57 เปอร์เซ็นต์ มองว่าความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นทักษะที่สำคัญของผู้สมัคร

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้จะก่อให้เกิดแนวทางการทำงาน และมุมมองต่อชีวิตที่ดี นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และเเรงผลักดันในการทำงานที่เต็มเปี่ยม [3] พนักงานที่มีความสามารถนี้จะมีแรงผลักดันในการทำงานสูงกว่า พร้อมเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงมากกว่า เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะหมดไฟในการทำงานน้อยกว่า และโดยรวมแล้ว มีสุขภาพที่ดีกว่าอีกด้วย ซึ่งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในองค์กร

Tugade และ Fredrickson เสนอข้อค้นพบในปี 2004 ว่า “กระบวนการทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับต่อการเปลี่ยนแปลงจะแสดงจากภายในออกมาทางร่างกายเช่นเดียวกัน” [4] Joshua Miles ซึ่งเป็นนักบำบัดโรคกล่าวว่า ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการลางานเนื่องจากอาการป่วย (การขาดงานเป็นประจำ) ที่น้อยลง ซึ่งรวมถึงอัตราการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงที่น้อยลงเช่นกัน ทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติด อีกทั้งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยังส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตที่น้อยลง และสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วย

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงมีข้อดีมากมายต่อองค์กร ดังแสดงในแผนภาพด้านล่างนี้ [3], [4]

การศึกษาข้อมูลและผลลัพธ์

เราเก็บ feedback ของพนักงานที่ทำแบบสำรวจความสุขรายวัน Happily.ai จากพนักงานกว่า 1,500 คนจาก 10 บริษัท เพื่อศึกษาความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในองค์กรในช่วงระหว่างวิกฤติการณ์โควิด-19 และเราใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วยคำถามดังต่อไปนี้

คำถามที่ 1: คุณกลับสู่สภาวะปกติได้ไว แม้ล้มเหลวหรือเจอกับปัญหา ?

คำถามที่ 2: คนอื่นๆ ทำให้คุณหงุดหงิดรำคาญได้ง่าย (เพื่อนร่วมงาน/ลูกค้า) ?

คำถามที่ 3: คุณมักขอความช่วยเหลือ เมื่อต้องต่อสู้กับปัญหาอย่างยากลำบาก?

คำถามที่ 4: ในเวลาว่างหรือเวลาพักผ่อน คุณสามารถตัดเรื่องงานออกไปได้ (อีเมล โทรศัพท์ อื่นๆ) ?

คำถามที่ 5: เมื่องานมีปัญหา คุณมักรู้สึกกังวลจนนอนไม่หลับ ?

คำถามที่ 6: คุณมีเพื่อนหรือกลุ่มคน ที่สามารถคุยปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและเรื่องต่างๆ ที่ทำงานได้ ?

ผลลัพธ์จากชุดคำถามเชิงสำรวจตัวเองได้แสดงในรูปกราฟด้านล่างนี้

เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบใช่ และไม่ใช่ในคำถาม 6 ข้อนี้

ผลลัพธ์ดังกล่าวมีความน่าสนใจดังต่อไปนี้:

  • พนักงานส่วนใหญ่ (61%) มีความรู้สึกกังวลเรื่องงานจนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • พนักงาน 1 ใน 4 คน (25%) รู้สึกหงุดหงิดรำคาญผู้อื่นได้ง่าย (ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า)
  • พนักงาน 1 ใน 5 คน (20%) ไม่ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อตัวเองประสบกับปัญหา
  • พนักงานส่วนใหญ่ (68%) สามารถแยกเรื่องงานออกจากเวลาส่วนตัวได้ (เช่น การไม่ตอบอีเมล รับโทรศัพท์และอื่นๆ ในเวลาพักผ่อนส่วนตัว)
  • พนักงานโดยรวมมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่ของพนักงาน (93%) สามารถกลับมาตั้งหลักใหม่ได้ไวแม้ล้มเหลวหรือเจอกับปัญหา และ (95%) มีเพื่อนหรือกลุ่มคนที่พวกเขาสามารถปรึกษาหรือระบายเกี่ยวกับปัญหาและเรื่องต่างๆ ในที่ทำงานได้

สร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานได้อย่างไร

ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด หากแต่เป็นความสามารถที่มาจากการฝึกฝน, การมีทัศนคติแห่งการเติบโต, และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยองค์กรควรทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อเสริมสร้างความสามารถดังกล่าว

  1. ชี้แจงเป้าหมายและแนวทางการทำงานให้ชัดเจน: ผู้นำควรตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และสื่อสารเป้าหมายดังกล่าวให้ทีมรับรู้และเข้าใจ เพราะแนวทางและการคำนึงถึงเป้าหมายจะช่วยสร้างทิศทางที่ทำให้พนักงานสามารถเอาชนะอุปสรรค และพยุงตัวเองออกมาจากความล้มเหลวได้
  2. สื่อสารและรับฟังให้บ่อยครั้ง: การคอยถามไถ่ความเป็นไป รวมถึงการประชุมตัวต่อตัวถือเป็นหนทางการรักษาแนวทางการทำงานและการแก้ไขปัญหาเชิงรุกที่ดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างกรอบการให้ feedback ภายในองค์กรของคุณอีกด้วย การมีปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอจะเป็นตัวกระตุ้นไอเดียใหม่ๆ และการนำไอเดียนั้นๆ ไปปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จ (ไอเดียที่รวมเข้ากับการปฏิบัติ จะได้นวัตกรรมเป็นผลลัพธ์)
  3. สร้างพื้นที่การทำงานที่ยืดหยุ่นภายในองค์กร: สภาพแวดล้อมการทำงานที่ยืดหยุ่นช่วยให้พนักงานมีการปรับเปลี่ยนและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามที่พวกเขาตั้งใจไว้ เพราะรูปแบบการทำงานในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบการทำงานที่องค์กรวางไว้จะต้องเป็นตัวช่วยไม่ใช่อุปสรรคการทำงานของพนักงาน และการไม่ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจะยิ่งส่งผลให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น
  4. ให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับงานที่ทำ: ความรู้สึกของความเป็นส่วนหนึ่งส่งผลต่อความตั้งใจและแรงผลักดันในการลงมือทำของพนักงาน อีกทั้งยังช่วยให้พนักงานรู้สึกมีความแน่วแน่และมีความเป็นส่วนหนึ่งกับบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่
  5. ลบอุปสรรคในความร่วมมือ: ระบบแบบเดิมๆ (Legacy systems) ได้รับการออกแบบมาเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน แต่ก็แลกมาด้วยระยะเวลาที่นานขึ้นและโอกาสปรับตัวที่น้อยลง อีกทั้งยังกำจัดการริเริ่มทดลองและการประยุกต์ใช้สิ่งใหม่ๆ ในการทำงานอีกด้วย ซึ่งนี่เองที่เป็นอุปสรรคในความร่วมมือ
  6. ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน: พนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องพร้อมเผชิญหน้ากับความรับผิดชอบที่ท้าทายตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องมีการปรับเปลี่ยนและยอมรับในความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งความพร้อมในส่วนนี้จะลดน้อยลง หากพวกเขาตกอยู่ในสภาวะความเครียด หรือสุมด้วยภาระงานที่หนักอึ้ง สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้พนักงานรู้สึกปลอดภัย คำนึงถึงคุณค่าของตนเอง และทุ่มเทต่อองค์กรมากขึ้น

บทสรุป

รายงานเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของ Qualtrics [6] ระบุว่า พนักงานกว่า 74 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกประเมินค่าการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของตนเองไปในทางบวก และจากศึกษาในบทความนี้พบว่าองค์กรที่ใช้ Happily.ai มีพนักงานกว่า 93–95 เปอร์เซ็นต์ที่มีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ดี

ท่ามกลางวิกฤติการณ์และก้าวย่างสู่วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ความต่อเนื่องทางธุรกิจและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นองค์กรจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและลุกขึ้นยืนอีกครั้งท่ามกลางปัญหาที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ซึ่งการจะทำเช่นนี้ได้ พนักงานในองค์กรจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี รวมถึงการมีแนวทางความเป็นผู้นำและแนวทางปฏิบัติที่รัดกุมจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ

Happily.ai คือแพลตฟอร์มเพื่อประสบการณ์อันครบครันของพนักงาน เราพร้อมช่วยให้องค์กรของคุณเต็มไปด้วยพนักงานที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ หลายองค์กรใช้ Happily.ai เพื่อเป็นเครื่องมือสอบถามความเป็นไปของพนักงานแบบรายวัน, สร้างเสริมบทสนทนาที่ดี, และพัฒนาบุคลากรผู้จัดการ อีกทั้งเรามีข้อมูลเรียลไทม์เชิงลึกที่จะช่วยให้คุณเข้าใจทีมและพนักงานของคุณมากยิ่งขึ้น ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของเรา หรือทดลองใช้งานฟรีได้ที่นี่

เอกสารอ้างอิง:

[1] https://positivepsychology.com/what-is-resilience/

[2] https://www.onrec.com/news/statistics-and-trends/employers-favour-workers-that-are-adaptable-resilient-and-willing-to

[3] https://www.highspeedtraining.co.uk/hub/resilience-in-the-workplace/

[4] https://positivepsychology.com/resilience-in-the-workplace/

[5] https://www.bluebeyondconsulting.com/2020/08/6-ways-to-build-a-resilient-company-culture/

[6] https://www.qualtrics.com/ebooks-guides/ex-workforce-resilience-study/

[7] Girl photo created by pressfoto - www.freepik.com

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!