ผู้นำสามารถเพิ่ม Well-being ของพนักงาน ด้วยการกำจัดพฤติกรรมที่ Toxic ในองค์กร

พฤติกรรมที่เป็นพิษ หรือ Toxic ส่งผลร้ายต่อคนในองค์กร ทั้งเกิดรอยร้าวและสร้างความขัดแย้ง และทำให้ผลิตภาพหรือ Productivity ลดลง
ผู้นำสามารถเพิ่ม Well-being ของพนักงาน ด้วยการกำจัดพฤติกรรมที่ Toxic ในองค์กร
Photo by Sebastian Herrmann / Unsplash

พฤติกรรมที่เป็นพิษ หรือ Toxic ส่งผลร้ายต่อคนในองค์กร ทั้งเกิดรอยร้าวและสร้างความขัดแย้ง และทำให้ผลิตภาพหรือ Productivity ลดลง หากผู้นำเพิกเฉยต่อพฤติกรรมที่เป็นพิษนี้ พนักงานที่ทำงานได้ดีมีผลงานโดดเด่นจะยื่นใบลาออกเป็นกลุ่มแรก (อย่าลืมว่าพวกเขามีทางเลือก) และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและผลิตภาพโดยรวมขององค์กร นอกจากนี้พฤติกรรมอัน Toxic ยังส่งผลร้ายซ้ำเติมสุขภาวะ หรือ Well-being ของพนักงาน ซึ่งอยู่ในระดับต่ำตลอดเวลาอยู่แล้ว

แล้วพฤติกรรมแบบไหนที่จัดว่า Toxic ล่ะ?

พฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน คือ พฤติกรรมที่ส่งผลด้านลบต่อความรู้สึกและ Well-being ของพนักงาน รวมทั้งสวนทางกับค่านิยม (Values) ที่คนในองค์กรยึดถือ ตัวอย่างเช่น ภาวะผู้นำแบบโกรธและไม่พอใจแอบแฝง (Passive-aggressive leadership) การซุบซิบนินทา ข่าวลือ การข่มขู่ทางอารมณ์ และการกลั่นแกล้งหรือ Bully พฤติกรรมที่ Toxic อาจหลากหลายและเป็นปัจเจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรไม่กำหนดค่านิยมองค์กรให้ชัดเจน และไม่เสริมสร้างให้ค่านิยมองค์กรแข็งแรง


พฤติกรรมเหล่านี้ไม่เพียงทำร้ายจิตใจผู้ถูกกระทำโดยตรงเท่านั้น แต่ผู้ที่รับรู้และเฝ้ามองเหตุการณ์อยู่รอบ ๆ ก็ได้รับผลกระทบทางอารมณ์ไปด้วย เพราะอดที่จะรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ถูกกระทำไม่ได้ มากไปกว่านั้น หากผู้กระทำลอยนวล ไร้คำบอกกล่าวตักเตือนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำนั้น โดยเฉพาะเมื่อผู้กระทำคือผู้นำเสียเอง เมื่อนั้นพฤติกรรมที่ Toxic จะกลายเป็นเรื่องปกติพบเห็นทั่วไปในที่ทำงาน


พฤติกรรมที่ Toxic กระทบต่อ Well-being ของพนักงาน

เราศึกษา Well-being ของพนักงาน โดยอ้างอิงตัวชี้วัด Well-being จากองค์การอนามัยโลก (WHO-5 Well-being Index) และประเมินการรับรู้ต่อพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานด้วยคำถามว่า “คุณรับรู้ถึงหรือกำลังประสบกับพฤติกรรมที่สร้างความรู้สึกแย่ๆ ให้กับคนอื่นในที่ทำงาน?”
กลุ่มตัวอย่างของเราประกอบด้วยพนักงานทั้งหมด 1,285 คน จาก 43 บริษัท สำหรับการศึกษา Well-being เราจัดพนักงานออกตามค่าดัชนี Well-being แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1. ระดับ Well-being ดี (ค่าดัชนี 76 - 100) 2. ระดับ Well-being ปานกลาง (ค่าดัชนี 53 - 75) และ 3. ระดับ Well-being ต่ำ (ค่าดัชนีต่ำกว่า 53)
ณ ช่วงเวลาที่เราศึกษาพบว่า 33% ของพนักงานมี Well-being ในเกณฑ์ดี 43% อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และ 23% มี Well-being ที่ต่ำ ขณะที่เพียง 38% ของพนักงานบอกว่า ไม่เคยประสบหรือพบเห็นพฤติกรรมที่ toxic ในที่ทำงานของตน

“พนักงานส่วนใหญ่รับรู้และประสบ หรืออาจจะพบเห็นพบเจอกับพฤติกรรมอัน Toxic ในที่ทำงาน”

56% ของพนักงานที่มีระดับ Well-being ดี ตอบว่าเคยเจอหรืออาจจะเคยเจอพฤติกรรมที่ Toxic ในองค์กร ยิ่งไปกว่านั้น 72% ของพนักงานที่มี Well-being ต่ำเคยประสบหรืออาจจะเคยประสบกับพฤติกรรมเหล่านี้จากที่ทำงาน นอกจากนี้กลุ่มพนักงานที่มี Well-being ในเกณฑ์ดี มีโอกาส 54% ที่ไม่เคยพบเจอกับพฤติกรรม Toxic เลย เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่มี Well-being ต่ำ


พฤติกรรม Toxic ที่พบได้บ่อยครั้งมีอะไรบ้าง

การกำจัดพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานค่อนข้างท้าทาย เพราะมีความหลากหลายตามแต่ละบุคคลและสถานการณ์ แถมยังสังเกตเห็นได้ยากอีกด้วย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับออฟฟิศที่หลีกเลี่ยงหรือไม่มีการเผชิญหน้ากันตรง ๆ) แม้จะมีพฤติกรรมที่เข้าข่าย Toxic เป็นจำนวนมาก แต่ก็พอจะมีบางพฤติกรรมที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ดังนี้

  • ต่อว่าไอเดียและความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
  • เผยแพร่คำลวงและข่าวลือ
  • ซุบซิบนินทา
  • กลั่นแกล้ง หรือ Bully
  • ไม่เห็นอกเห็นใจกัน
  • ไม่ทำตามที่สัญญาและตกลงกันไว้

ยิ่งไปกว่านั้น 15% ของพนักงานที่ตอบว่าเคยประสบกับพฤติกรรม Toxic ในออฟฟิศ ไม่ประสงค์จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงเหตุการณ์ที่เคยเจอ หากคนในที่ทำงานของคุณมีความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) ต่ำจะยิ่งเพิ่มพื้นที่ให้พฤติกรรม Toxic เติบโตและทำร้ายองค์กรของคุณ

ผู้นำองค์กรและหัวหน้างานจะรับมือและกำจัดพฤติกรรมที่ Toxic อย่างไร

ผู้นำและหัวหน้างานต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและกำจัดหรือบรรเทาวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ (Toxic Culture) โดยมีวิธีและเครื่องมือที่แนะนำ ดังนี้

1. สรรหาและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับคน (Soft skills) ในตัวพนักงาน

Soft skill (โดยเฉพาะการสื่อสาร ความฉลาดทางอารมณ์ และความเห็นอกเห็นใจ) บ่งบอกความสามารถในการควบคุมตนเองและทำงานกับผู้อื่นในภาวะกดดัน พนักงานที่มี Well-being ต่ำจะมีความอดทนและความเข้าใจต่ำ รวมทั้งอ่อนไหวจนทำร้ายจิตใจผู้อื่นได้ง่าย

รายงานของ The State of Business Communication ชี้ว่า การสื่อสารที่ไร้ประสิทธิภาพ บ่อยครั้งก่อผลลัพธ์คือพนักงานมีความเครียดสูง ทีมต้องสูญเสียเวลา 7.5 ชม.ต่อสัปดาห์ไป เพราะการสื่อสารที่ย่ำแย่ ผู้นำองค์กรและหัวหน้างานทีมต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องแสดงให้เห็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่องค์กรแวดล้อมด้วยความท้าทายและมีความเครียดสูง

2. สื่อสารค่านิยมขององค์กร (Core values) ซ้ำ ๆ

ค่านิยมขององค์กรคือเครื่องมือสำคัญของคุณในฐานะผู้นำและผู้บริหาร สิ่งเหล่านี้บอกกล่าวการทำงานและวิธีแก้ปัญหาในรูปแบบที่องค์กรยึดถือให้แก่พนักงานได้รับรู้และปฏิบัติตาม ทุกครั้งที่นำค่านิยมเหล่านี้ไปใช้ ก็ยิ่งเสริมสร้างให้ค่านิยมขององค์กรแข็งแกร่ง

ผู้นำองค์กรควรเน้นย้ำถึงค่านิยมองค์กรทุกครั้งที่มีโอกาส และลงมือทำทันทีเพื่อรักษาค่านิยมองค์กรไว้เสมอ

3. ส่งเสริมความปลอดภัยทางใจ (Psychological safety) ในที่ทำงาน

ภาวะผู้นำและการบริหารงานของคุณยังต้องปรับปรุงหากองค์กรปราศจาก Psychological safety เมื่อพนักงานไม่กล้าส่งเสียงและเผชิญกับปัญหาที่ยากลำบาก พฤติกรรม Toxic ก็จะเติบโต

กระนั้นก็ไม่ใช่ความผิดของคุณเสมอไป ถ้าบรรทัดฐานทางสังคมมีความปลอดภัยทางใจต่ำอยู่แล้วและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผู้นำองค์กรและระดับหัวหน้างานต้องช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางใจ เพื่อให้พนักงานรู้สึกสบายใจและไม่กลัวที่จะส่งเสียงออกมา ด้วยการชื่นชมและขอบคุณพนักงานที่พูดถึงประเด็นสำคัญและยึดถือค่านิยมองค์กรไว้ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องพื้นที่ปลอดภัยทางใจและเรียนรู้ 5 ขั้นตอนในสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจ จากบทความของเรา)

ผู้นำและผู้บริหารสามารถช่วยให้ Well-being ของพนักงานดีขึ้นได้ด้วยการกำจัดพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน จากการศึกษาพบว่า พนักงานที่มี Well-being ดี พบเจอพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงานน้อยกว่ากลุ่มที่มี Well-being ต่ำ BMC Public Health รายงานว่า ความเสี่ยงทางจิตใจในที่ทำงาน เช่น ความเครียด การมีทางเลือกในการตัดสินใจน้อย และการ Bully เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า

สนับสนุนให้พนักงานพัฒนา Soft skill โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร เน้นย้ำค่านิยมขององค์กร และเสริมสร้างความปลอดภัยทางใจช่วยคุณกำจัดพฤติกรรม Toxic ในที่ทำงาน เครื่องมือเหล่านี้อาจต้องใช้เวลาในการสร้างและทำให้เกิดผลลัพธ์ แต่การมีตัวอย่างที่ดีในที่ทำงานก็จะช่วยให้องค์กรของคุณปราศจากพฤติกรรม Toxic และทำให้พนักงานมี Well-being ที่ดีต่อไป


เราช่วยคุณได้นะ

Happily.ai ช่วยให้ผู้นำสร้างบทสนทนาที่มีประสิทธิภาพกับพนักงาน เสริมสร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงานด้วยการชื่นชมและขอบคุณกันระหว่างคนในทีม พร้อมทั้งเน้นย้ำค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ทำความรู้จักกับ Happily.ai หรือลงทะเบียนรับ Demo เพื่อเรียนรู้วิธีสร้างความปลอดภัยทางใจ หรือ Psycological Safety ในที่ทำงานของคุณ!

ข้อมูลอ้างอิง

[1]https://www.leadersedgeinc.com/blog/managing-toxicity-in-the-workplace#:~:text=In%20the%20end%2C%20toxicity%20in,their%20toxicity%20like%20negative%20sunshine.

[2]https://www.researchgate.net/publication/318196603_Toxic_Workplace_Environment_In_Search_for_the_Toxic_Behaviours_in_Organizations_with_a_Research_in_Healthcare_Sector

[3]https://www.researchgate.net/publication/242349375_Toxins_in_the_workplace_Affect_on_organizations_and_employees

[4]https://supportroom.com/2022/02/11/how-does-a-toxic-workplace-impact-employee-wellbeing/

[5]https://bmjopen.bmj.com/content/11/6/e044133

[6]https://www.forbes.com/sites/forbesbusinesscouncil/2021/08/23/14-ways-leaders-can-boost-empathy-in-the-workplace/?sh=1a766cb94731

[7]https://firstup.io/blog/communicating-company-core-values/#:~:text=As%20a%20definition%2C%20company%20core,the%20definition%20of%20company%20culture.

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!