4 Kings ที่จะช่วยให้หัวหน้า และ ลูกน้อง ไม่อัดกันยับคาที่ทำงาน

4 Kings ไม่ใช่แค่ชื่อภาพยนตร์ดัง แต่ยังเป็นการพูดถึง 4 สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น คนทำงานมีสัมพันธภาพที่ดี และไม่ตีกันอีกด้วย 4 สิ่งนั้นมีอะไรบ้าง ศึกษาเลย:
4 Kings ที่จะช่วยให้หัวหน้า และ ลูกน้อง ไม่อัดกันยับคาที่ทำงาน

ในช่วงเวลานี้ ถ้าจะพูดถึงภาพยนตร์ที่กำลังมาแรงที่สุด คงจะไม่พ้น 4 Kings ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของวัยรุ่น ความขัดแย้งของ นักเรียนอาชีวะ ในช่วงยุค 90 รวมไปถึงสิ่งที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดนั่นคือ การ “ตีกันยับ” กลางคอนเสิร์ตประวัติศาสตร์ อย่าง

ช็อค ชาร์จ ช็อต ร็อคคอนเสิร์ต เหล็กคำราม (Shock Charge Short)

ที่ถึงขั้นทำให้คอนเสิร์ตต้องหยุดเล่นเป็นระยะๆ และทำให้ตัดจบในที่สุด เนื่องจากมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตในงาน

คอนเสิร์ตที่เกิดเหตุดั่งที่กล่าวมาข้างต้น

แน่นอน บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้คุณตีกัน

แต่จะเป็นการเตือนใจว่า การที่ความสัมพันธ์ ความรู้สึกผูกพันของพนักงานกับที่ทำงานและการทำงานไม่ดีนั้น ย่อมจะเละไม่ต่างจากการตีกันจนคอนเสิร์ตพังแน่ๆ วันนี้ เราเลยขอแนะนำ 4 Kings (ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาเหมือนในหนังแต่อย่างใด) หรือ 4 สิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในที่ทำงาน ทำให้การทำงานเรียบร้อย

(และลุกจ้างไม่ตีกันเอง หรือ ตีกับหัวหน้าจนยับเยิน งานพัง)

ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Relationship with Colleagues)

อย่างแรกเลยที่ต้องกล่าวถึงคือ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่สุด เรียกได้ว่าใกล้ชิดยิ่งกว่าหัวหน้างานเสียอีก นั่นก็คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ที่โดยมากแล้วคุณจะต้องใช้ชีวิตร่วมกันต่อวันเฉลี่ย 7 - 8 ชั่วโมง ตั้งแต่การมาปั๊มเข้างาน จนถึงเวลาเลิกงาน ดังนั้น ถ้าไม่มีการใส่ใจในปัจจัยนี้ให้ดีล่ะก็ การทำงานอาจเป็นฝันร้าย และการทะเลาะ แทงข้างหลังกัน สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

ในกรณีนี้ ผู้ที่ใกล้ชิดที่สุดในลำดับรองแต่มีอำนาจเหนือขึ้นไปอย่างหัวหน้างาน จำเป็นที่จะต้องดูแลสอดส่องให้ดี รวมทั้งเป็นตัวกลางแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้ แต่ถ้าหัวหน้างานตกอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสมเสียแล้ว ผู้บริหารก็สมควรที่จะลงมาช่วยเหลือในการประสานให้ได้ ก่อนที่ทุกอย่างจะร่วงลงเหว และก่อความเสียหายในระยะยาว ที่ไม่ว่าคนเก่า หรือ คนใหม่เข้ามาก็สามารถเกิดความขัดแย้งที่เป็นพิษได้มากขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้นจะแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้างให้เป็นที่ยุติ

ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Relationship with Manager)

จากข้อที่ผ่านมานั้นค่อนข้างชัดมากว่า หัวหน้างานนั้นนอกจากจะเป็นผู้สั่งการ ดูแล ควบคุม ทั้งงานและทีมงานแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ประสานรอยร้าวต่างๆให้สงบ นำบรรยากาศให้กลับมาเป็นมิตรอีกครั้ง แต่ว่า ถ้าความสัมพันธ์ระดับหัวหน้าและลูกน้องเกิดย่ำแย่ล่ะ หัวหน้าก็จะไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ รวมทั้งไม่ได้รับความเคารพจากลูกน้อง คำสั่งต่างๆอาจจะไม่ได้รับสนอง และยิ่งถ้าใช้พระเดช อำนาจที่มี ในการลงไปว่า ถ้าไม่สนองงานจะไล่ออก ก็อาจนำมาสู่เหตุรุนแรงต่างๆ เช่นที่คุณได้เห็นตามข่าวหนังสือพิมพ์ และโซเชียลมีเดียบ่อยๆเช่น

“กระทืบยับ! หัวหน้างานบาดเจ็บสาหัส หลังขู่ไล่ลูกน้องออกยกทีม”

นอกจากงานจะเสีย เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ชื่อเสียงของบริษัทยังจะย่ำแย่ตกต่ำ ไม่มีใครอยากจะต้องการมาเข้าทำงานในที่ๆอันตราย มีบรรยากาศแย่อีกด้วย ดังนั้น ในจุดนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร รวมถึงเจ้าของกิจการ ที่จะต้องลงมาจัดระเบียบ จัดการอุดช่องโหว่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการใช้บารมีส่วนตัวที่ลูกน้องทุกระดับเคารพ ตลอดจนการจัดการอย่างมืออาชีพ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยต่างๆเข้ามาช่วยในภารกิจครั้งนี้ ให้หัวหน้าได้กลายเป็นที่พึ่งให้กับลูกน้องได้อย่างสนิทใจ เพื่อที่คุณจะได้โฟกัสกับภาพกว้างต่อไป

การให้ฟีดแบ็ค (Feedback)

ในการทำงานนั้นก็ย่อมมีทั้งดีทั้งแย่ แต่การปล่อยปละละเลยจะทำให้น้องรู้สึกถูกทอดทิ้ง ห่างเหินจากหัวหน้า ทีมงาน และตัวบริษัทเอง ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีว่า ผลงานที่ตัวเองทำนั้นไม่ได้มีเสียงตอบรับทั้งดีและแย่ รู้สึกเหมือนราวกับงานที่ทำไม่ค่อยมีความหมายกับใคร ซึ่งสามารถนำไปสู่การเก็บตัว ลาออกในท้ายที่สุดเพราะรู้สึกเหมือนอยู่เยี่ยง Dead Wood

แต่ในเวลาเดียวกันนั้น การให้ feedback ในเชิงลบที่รุนแรงเกินไป หรือในเชิงบวกที่โอเวอร์เกินไป ก็ไม่ส่งผลที่ดี โดยอย่างแรกนั้นสามารถที่จะก่อให้เกิดบาดแผลในใจร้าวลึก และอย่างหลังอาจะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าโดนเยินยอชื้อใจด้วยความโกหกพกลม ทำให้ในใจก็ดีใจแต่รู้สึกไม่ไว้วางใจในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้เป็นหัวหน้างานนั้น จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงการให้ Feedback อย่างเหมาะสม รวมทั้งทำให้เป็นเรื่องปกติวิสัย เป็นประจำ เพื่อที่ลูกน้องจะได้ไม่เดี่ยวโดด และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องต่อไป

การชื่นชมยอมรับ (Recognitions)

นอกจากการให้ Feedback แล้ว คำชมก็ควรจะเป็นการให้คำชมที่มีความเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่ตัวงานนั้น มีความโดดเด่น ก็ควรจะมีการให้ความชื่นชมยอมรับ รับรู้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้นดีแล้ว หลายครั้งแค่คำชมอย่างเดียวยังไม่พอ อาจต้องมีการประกาศในบางรูปแบบถ้างานที่เขาทำนั้นดีจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น การประกาศเป็นพนักงานดีเด่นประจำสัปดาห์, การให้รางวัล, หรือการเลื่อนตำแหน่ง

มิฉะนั้น พนักงานก็จะรู้สึกในแนวว่า ทำไม่ดีโดนด่า แต่พอทำดีแล้วไร้คำชม ไม่มีรางวัล ไม่มีอะไรตอบแทน ก็จะรู้สึกว่า มันไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่ นำไปสู่ความหมางเมินกับหัวหน้าไปจนถึงผู้บริหาร และเจ้าของบริษัท

การส่งเสริม 4 Kings แห่งสัมพันธภาพในที่ทำงานนี้ อาจจะดูเป็นเรื่องที่ยาก ท้าทาย หรือมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความร่วมมือ แต่ถ้าคุณมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการจัดการสร้างเสริมสิ่งที่กล่าวมาแล้ว การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี สัมพันธภาพที่ดี ที่จะนำไปสู่ performance ที่สูงขึ้น สินค้าและบริการมีคุณภาพดีขึ้น มีบรรยากาศที่ดึงดูดให้คนเก่งๆเข้ามาร่วมทำงานมากขึ้น จะกลายเป็นเรื่องที่ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วย Happily.ai ที่มีด้วยเครื่องมือสนับสนุนการสร้างสัมพันธภาพในที่ทำงาน พร้อมด้วย ระบบเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล (People Analytics) ที่ล้ำสมัย ใช้งานง่าย ทำให้คุณสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ก่อนที่จะเกิดเหตุไม่พึงประสงค์

ลงทะเบียนเพื่อทดลองใช้งานเลย:

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!