Change Management Technique: การบริหาร “การเปลี่ยนแปลง”

การทำ Change Management อาจเป็นเรื่องที่น่าท้าทาย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของคุณ! บทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถบริหารความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การบริหารความเปลี่ยนแปลง ต้องได้แรงร่วมใจ จากทุกคน

การเปลี่ยนแปลง นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบุคคล ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เรายังสามารถจัดการและบริหารได้โดยง่ายอยู่

แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเกิดความเปลี่ยนแปลงในองค์กร และคุณอยู่ในฐานะผู้นำ หรือ ผู้จัดการที่ต้องบริหาร ประสานงานกับบุคคลหลายฝักฝ่าย ฟังค์ชั่นการทำงานขององค์กรหลายภาคส่วนทั้งภายนอกภายใน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นย่อมหมายถึง การที่หลายส่วนที่ประสานกันนั้นอาจรับกันไม่ได้ คุณจะจัดการอย่างไร?

การเปลี่ยนแปลงเช่นอะไร?

เช่น เรื่องการสนองนโยบายจากบอร์ดบริหารที่ลงมติลงมา ที่อาจเรียกว่าเป็นระดับพลิกฝ่ามือจากสิ่งที่เคยทำกันมา

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ทำให้บริษัทต้องปรับตัวขนาดใหญ่

หรือ ภัยทางธรรมชาติที่คาดไม่ถึง จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเชิงลึกในเชิงสถานการณ์บังคับ แม้ยังไม่มีแผนที่จะเปลี่ยน

คุณเริ่มเห็นความยุ่งยากแล้วใช่หรือไม่? แต่อย่าได้กังวลมากเกินไป การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าคุณไม่เปลี่ยนในเวลาที่สามารถจัดการได้ ธรรมชาติก็จะเข้ามาบังคับให้คุณต้องเปลี่ยน แต่ทั้งนี้ ทุกการเปลี่ยนแปลงจะถูกจัดการได้โดยง่าย ด้วยศาสตร์ Change Management หรือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง

แต่เนื่องศาสตร์นี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างจะซับซ้อนและลึกซึ้ง ระดับที่คุณสามารถเรียนในมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ได้ถึงเทอมนึงเลยเชียวล่ะ

วันนี้ทางเรา Happily.ai เลยคัดแค่เฉพาะเทคนิคสำคัญที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ ในยามที่คุณต้องขึ้นมาจัดการ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรของคุณ ซึ่งจะเน้นไปที่เทคนิคการลดแรงต่อต้านในการเปลี่ยนแปลงของพนักงานเป็นหลัก

5 เคล็ดลับ สร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กร อย่างเห็นผล!

เพิ่มIncentiveให้เหมาะสม

การที่เกิดแรงต่อต้านนั้น นอกจากจะมาจากความรู้สึกไม่คุ้นเคยกับสิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังมาจากความรู้สึกว่างานที่เยอะอยู่แล้วมันมากขึ้น และค่าตอบแทนไม่สร้างความพอใจ หรือกระทั่งความรู้สึกไม่มั่นคง (insecurity) ดังนั้นการแก้ในขั้นต้นคือ การร่วมมือการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ในการจัดการด้านค่าตอบแทนพิเศษ หรือ incentives กับพนักงานที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หรือร่วมในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเปิดใจพวกเขาให้ก้าวสู่ขั้นต่อไปที่เป็นปัจจัยเชิงวัฒนธรรมการทำงาน

สร้างนิยามใหม่ของคุณค่าเชิงวัฒนธรรม

นิยามเดิมที่ใช้นั้นอาจใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน เพราะไม่ได้สื่อถึงคุณค่า หรือ value เชิงวัฒนธรรมที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ จากหลากหลายรูปแบบวัฒนธรรมการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรนั้น ค่อนข้างชัดว่า วัฒนธรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หรือ Continuous Improvement นั้น ค่อนข้างเป็นวัฒนธรรมที่สอดรับกับ การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆ มากที่สุดในระยะยาว

แต่ข้อสำคัญสุดคือ การที่คนทำงานนั้น เห็นด้วย หรือ buy-in กับความวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งคุณต้องจัดการในการพูดคุย ทำความเข้าใจ ตามความเหมาะสมกับแต่ละคน

ใช้อำนาจคุณให้เหมาะสม

ในฐานะที่คุณเป็นผู้นำในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นถึงผู้บริหารระดับสูง จนกระทั่งระดับซูเปอร์ไวเซอร์ คุณก็มีอำนาจบัญชาการตามลำดับชั้น โดยตำแหน่ง สายงาน แม้กระทั่งความสัมพันธ์ส่วนตัวเชิง soft power อยู่แล้ว คุณควรจะใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม

เพราะ ถ้าคุณใช้ไม้แข็งหนักเกินไป แม้จะรวดเร็วแต่แรงต่อต้าน และ ความร้าวฉานในความสัมพันธ์ทั้งในแง่ส่วนตัวกับการทำงาน จะรุนแรงมากในภายหลัง แต่ถ้าใช้ไม้อ่อนเกินไป ความพยายามอาจจะล้มเหลวไปก็เป็นไปได้ เนื่องมาจากการไม่สามารถบังคับควบคุมอะไรได้เลย ดังนั้นในส่วนนี้ให้ใส่ใจในการใช้วิจารณญาณ และหลักการตัดสินใจที่เที่ยงธรรมเหมาะสม

กระจายภาระหน้าที่ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

ทุกการเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมมีผู้ต่อต้าน และหลายครั้งนั้น การต่อต้านมักจะมาจากความรู้สึกว่า ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในภาวะการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง โดยมีความรู้สึกว่า ตัวเองต้องเป็นผู้รับและปฎิบัติตามความเปลี่ยนแปลงนั้นเพียงอย่างเดียว

ดังนั้นการกระจายภาระหน้าที่ จัดการความมีส่วนร่วมของแต่ละคนอย่างเหมาะสมนั้น นอกจากจะทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ในช่วงเวลาที่คุณและหน่วยบริหารตั้งไว้แล้ว ยังจะทำให้เกิดการลดแรงต้าน สร้างเป้าหมายร่วมกันอย่างแท้จริง

ค้นหาฮีโร่ของคุณ

นอกจากบทบาทของผู้นำระดับสูงที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงแล้ว อีกปัจจัยที่จะทำให้ทุกคนมีความเชื่อมั่นใจการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น นั้นคือ การยกโรลโมเดล ที่เป็นตัวอย่างแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าพนักงานปฎิบัติการณ์ในแนวหน้า เพราะตามธรรมชาติแล้วเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน มักจะมอบให้ความเชื่อถือแก่กันมากกว่าจากระดับสูงขึ้นไป เนื่องมาด้วยจากการทำงานอยู่ด้วยกันเป็นเวลานานต่อวัน

นำไปสู่ความเชื่อมั่นของในแต่ละหน่วยขององค์กร เร่งการเปลี่ยนแปลงให้สัมฤทธิ์ผลเร็วขึ้น และมีประสิทธิผลที่มากขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร งาน และ เพื่อนร่วมงานที่เป็นปัจจัยหลักนี้นั้น อาจทำได้ยากในภาวะที่ทุกคนแม้จะอยู่หน่วยเดียวกัน แต่ก็ต้องทำงานจากต่างสถานที่ อันเนื่องมาจาก ภัยของ Covid-19 ที่อาจส่งอันตรายถึงชีวิต การสร้างความผูกพันด้วยความฉุกละหุก หรืออาจแปรเปลี่ยนไปในทางลบแทน

ยุคหลัง Covid-19 กับการที่คุณต้องเปลี่ยน หรือ ต้องจบ!

ด้วยภัยร้ายของ Covid-19 ที่นำมาสู่การบาดเจ็บล้มตายของประชากรรุ่นเก่าที่ร่างกายเสื่อถอยจนไม่สามารถรับมือโรคร้ายได้ และการที่เหล่าคน Gen-Z ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคนวัยทำงานรุ่นใหม่ล่าสุด ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากในองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะในฐานะพนักงานประจำ หรือลูกจ้าง Outsources นำมาสู่ช่วงยุคเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง ที่ถ้าผู้นำไม่เลือกที่จะเปลี่ยน ไม่เลือกที่จะทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย อาจจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวม้วนเสื่อกลับบ้านกันเลยทีเดียว เพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงมาเป็นข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งได้

หนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้คุณได้เข้าใจกับยุคเปลี่ยนผ่านนี้มากยิ่งขึ้น และสามารถรับมือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพกว่าที่เคย โดยคุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพียงคลิ๊กลิงค์ด้านล่างและทำตามขั้นตอนบนหน้าจอได้เลย!

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!