ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS)

eNPS ย่อมาจาก employee Net Promoter Score หรือดัชนีชี้วัดความภักดีและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้วัดความเป็นไปได้ที่พนักงานคนหนึ่งจะแนะนําบริษัทของตนเองในแง่ของสถานที่ทํางานให้กับผู้อื่น
ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS)

การวัดค่า Employee Engagement หรือความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจของพนักงานนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่มีเครื่องมือหนึ่งที่เป็นที่นิยมในการวัดค่าเหล่านี้นั่นคือ การวัดค่าดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS - employee Net Promoter Score)

ในบทความนี้เราจะนำเสนอดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) อย่างละเอียด โดยในเนื้อหาจะกล่าวถึง

  • ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานหรือ eNPS คืออะไร
  • การคํานวณหาค่า eNPS
  • ทําไม eNPS ถึงสําคัญกับองค์กร
  • ข้อดีและข้อพึงระวังของ eNPS
  • เกณฑ์มาตรฐานดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน
  • พัฒนาค่า eNPS ให้สูงขึ้นได้อย่างไร

ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานหรือ eNPS คืออะไร

eNPS ย่อมาจาก employee Net Promoter Score หรือดัชนีชี้วัดความภักดีและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้วัดความเป็นไปได้ที่พนักงานคนหนึ่งจะแนะนําบริษัทของตนเองในแง่ของสถานที่ทํางานให้กับผู้อื่น ซึ่งค่าดัชนีนี้ถูกพัฒนามาจากค่าดัชนีชี้วัดความภักดีของลูกค้าหรือ NPS (Net Promoter Score)

ค่า NPS คือเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพของประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ รวมถึงใช้เพื่อคาดคะเนความเป็นไปได้ในการเติบโตทางธุรกิจ ค่าดัชนีนี้ได้ถูกนําเสนอครั้งแรกในปี 2003 โดย Fred Reicheld และ Bain & Company ซึ่งค่านี้ได้กลายเป็นมาตรฐานในการวัดความเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะแนะนําผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทให้กับผู้อื่นต่อไป

ในทํานองเดียวกันดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน (eNPS) สามารถนํามาใช้วัดคุณภาพประสบการณ์ของพนักงานในองค์กร และค่านี้แสดงให้เห็นถึงความภักดีของพนักงานต่อองค์กรที่นําไปสู่การแสดงถึงช่องว่างและโอกาสที่จะเกิดความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจของพนักงาน หรือความเป็นไปได้ที่พนักงานจะลาออกอีกด้วย

การคํานวณหาค่า eNPS

เราสามารถวัดค่าดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานได้อย่างง่ายดาย ด้วยการนําคําตอบจากคําถามที่เราใช้ถามพนักงานว่า “จากระดับ 0 ถึง 10 มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่คุณจะแนะนําบริษัทของเรา ให้บุคคลภายนอกมาทํางาน?” มาวิเคราะห์ และเราใช้คําตอบนี้จัดกลุ่มพนักงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

ผู้ที่ไม่พอใจ (Detractor) คือพนักงานที่ให้คําตอบตั้งแต่ 0 - 6 ซึ่งเป็นผู้ที่นอกจากจะไม่แนะนําองค์กรกับผู้อื่นแล้วยังอาจพยายามกีดขวางผู้อื่นในการเข้าร่วมองค์กรของตนเองโดยอาจพูดถึงองค์กรในด้านลบอีกด้วย พนักงานเหล่านี้มีแนวโน้มที่ลาออกจากองค์กรในอนาคตอันใกล้ และการจัดการปัญหาหรือความกังวลของพนักงานเหล่านี้สามารถช่วยให้องค์กรป้องกันการลาออกของพนักงานได้

ที่รู้สึกเฉยๆ (Passive) คือพนักงานที่ให้คําตอบตั้งแต่ 7 - 8 ซึ่งเป็นผู้ที่พึงพอใจกับองค์กรแต่ไม่เกิดการสนับสนุนเทียบเท่ากับพนักงานในกลุ่มแรก

ผู้สนับสนุน (Promoter) คือพนักงานที่ให้คําตอบตั้งแต่ 9 - 10 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความภักดีต่อองค์กรและพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ประสบการณ์เชิงบวกของพนักงานเหล่านี้ทําให้พวกเขามีความผูกพันกับองค์กรพร้อมที่จะอยู่และเติบโตไปกับองค์กร และความกระตือรือและไอเดียของพวกเขาสามารถนํามาใช้ประโยชน์สําหรับแผนในอนาคตขององค์กรได้อีกด้วย

ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานสามารถคํานวณได้โดยการใช้เปอร์เซ็นต์ของผู้ไม่พอใจลบกับเปอร์เซ็นต์ของผู้สนับสนุน คะแนนดัชนีนี้ไม่อยู่ในรูปเปอร์เซ็นต์ โดยผลลัพธ์จะอยู่ระหว่าง -100 ถึง 100

💌
ตัวอย่าง บริษัทแห่งหนึ่งมีพนักงาน 270 คน ตอบคำถาม “จากระดับ 0 ถึง 10 มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่คุณจะแนะนำบริษัทของเรา ให้บุคคลภายนอกมาทำงาน?

eNPS = [(140/270)-(100/270)] x 100 = +14

ทําไม eNPS ถึงสําคัญกับองค์กร

ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานหรือ eNPS นี้จะช่วยให้องค์กรเข้าใจปัจจัยที่เป็นรากฐานของทัศนคติ วิสัยทัศน์และพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานและการเพิ่มขึ้นของผู้สนับสนุนองค์กร ค่า eNPS ที่มีค่าสูงนี้จะบ่งชี้ถึงการเป็นตัวแทนขององค์กรและความผูกพันของพนักงานที่เพิ่มขึ้น และยังลดความเป็นไปได้ที่พนักงานจะลาออกอีกด้วย

eNPS มีส่วนช่วยพัฒนาองค์กรเป็นอย่างมาก โดยที่การมองเห็นถึงค่าความภักดีและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานผ่านระบบ eNPS นี้เป็นเป้าหมายที่มีความสําคัญ เพราะค่า eNPS นี้ทําให้องค์กรเข้าใจทั้งความจําเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ช่วยสร้างโอกาสในการเติบโตทางผลกําไรขององค์กร และความจําเป็นที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน โดยพิจารณาที่องค์กรดําเนินการและตั้งอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรของตนเองได้ดีเพียงใด การเชื่อมโยงฟีดแบ็กของค่า eNPS มีส่วนช่วยในการขั้นตอนการตัดสินใจที่สําคัญต่างๆ ขององค์กร

ค่า eNPS นี้มีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างประสิทธิภาพขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และการมีค่า eNPS ที่ดีนั้นสามารถช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน และนี่หมายถึงจํานวนเงินที่ใช้ในการรับสมัครพนักงานเข้ามาใหม่และการฝึกอบรมพนักงานใหม่ลดน้อยลง ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การเพิ่มผลิตภาพของพนักงานในองค์กร ตัวอย่างเช่น พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรลาป่วยเฉลี่ย 2.7 วันต่อปี ในขณะที่พนักงานที่ไม่รู้สึกผูกพันต่อองค์กรลาป่วยสูงถึง 6.2 วันต่อปีเลยทีเดียว และยังมีรายงานว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรและผลของกําไรและการเติบโตขององค์กร พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรมีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าพวกเขามีความเข้าใจอันดีว่าจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร นอกจากนี้ eNPS และคะแนนการสนับสนุนของลูกค้าต่อองค์กร (company’s customer advocacy scores) ยังมีความสัมพันธ์กันโดยตรงอีกด้วย และจากสิ่งที่กล่าวมานี้มีผลเชิงบวกโดยตรงต่อการเติบโตขององค์กร

ข้อดีและข้อพึงระวังของ eNPS

ข้อดี

  • เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ค่า eNPS มีรูปแบบที่สั้นกระชับ ซึ่งทําให้ใช้เวลาน้อย ดังนั้นจึงเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วในการมองเห็นภาพเบื้องต้นว่าพนักงานในองค์กรมีความภักดีและผูกพันต่อองค์กรเพียงใด
  • ง่ายต่อการมีส่วนร่วม ค่า eNPS นี้จะมาจากการตอบคําถามเพียงคําถามเดียว ทําให้ผู้ส่งคําถามและผู้ตอบคําถามไม่เสียเวลามากนักในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้
  • ง่ายต่อการนําไปใช้งานต่อ ความง่ายของค่า eNPS คือการแสดงเป็นตัวเลขเพียงตัวเดียว ทําให้สามารถนํามาใช้งานต่อได้ง่ายมาก เช่น ใช้เป็นค่าอ้างอิง, ใช้ติดตามและเปรียบเทียบค่า eNPS ในช่วงเวลาที่ต่างกันได้, หรือใช้สําหรับการทํา benchmarks
  • เข้าใจได้ง่ายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากใช้หลักการเดียวกันกับค่า NPS ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย วิธีการนี้จึงต้องการแค่คําอธิบายเบื้องต้น เพราะเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
  • ราคาไม่แพง การหาค่า eNPS เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้หาระดับความพึงพอใจของพนักงานในองค์กรที่ใช้เวลาและงบประมาณในการดําเนินการไม่มาก

ข้อพึงระวัง

  • ค่า eNPS เพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะเป็นเครื่องมือในการจัดการในระบบที่ถูกต้อง เพื่อที่จะเข้าใจเหตุผลที่ซ่อนอยู่มากขึ้นและสามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหา เราต้องการแบบสอบถามที่ละเอียดมากกว่าการใช้คําถามนี้เพียงคําถามเดียว หรือการมีคําถามติดตาม (follow-up questions) สัก 2-3 คําถามหลังคําถาม eNPS เพื่อให้แบบสํารวจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (หาว่าทําไมพนักงานถึงไม่แนะนําองค์กรให้ผู้อื่นและทําไมบางคนถึงแนะนํา)
  • ค่า eNPS มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสนใจของพนักงานในระยะสั้นถึงระยะกลาง ดังนั้นจะมีการวัดคะแนน eNPS นี้เป็นระยะเพื่อดูถึงความพึงพอใจและการเป็นตัวแทนของพนักงานในองค์กรในช่วงเวลานั้น ๆ
  • เมื่อใช้วิธี eNPS ควรพึงระวังการถามคําถามหรือแนวโน้มในการแนะนําองค์กรจะไม่มีการกล่าวถึงค่าตัวแปรอื่นที่จูงใจให้พนักงานในการเลือกคําตอบ (ทําให้ได้คําตอบไม่ตรงตามความเป็นจริง)

เกณฑ์มาตรฐานดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน

ดัชนีความภักดีของพนักงาน (eNPS) เป็นตัวชี้วัดความผูกพันและการเป็นตัวแทนขององค์กรโดยค่านี้จะอยู่ระหว่าง -100 ถึง 100 ซึ่งจะไม่เหมือนระบบการวัดที่เป็นค่าเปอร์เซ็นต์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ดังนั้นทางผู้นําองค์กรหรือผู้จัดการต้องการจะรู้ว่าค่าช่วงคะแนน eNPS ช่วงใดที่ถือว่าเป็นค่าที่ดี หรือผลคะแนน eNPS ของบริษัทชั้นนํานั้นอยู่ที่เท่าไร หรือโอเคหรือไม่ที่ได้คะแนน eNPS ที่ตํ่ากว่าศูนย์ ซึ่งจากงานวิจัยของบริษัท QuestionPro Inc. ในปี 2019 ที่ทํา benchmarks ค่าดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานหรือ eNPS กับหลายองค์กรทั่วโลก แสดงให้เห็นคะแนน eNPS อยู่ระหว่าง -62 และ 83 และมีค่า eNPS เฉลี่ยอยู่ที่ 14

ในปี 2020 บริษัท Roslin แสดงค่า eNPS benchmarks โดยจัดลําดับคะแนนที่เป็นไปได้ดังต่อไปนี้

องค์กรของคุณสามารถนําเกณฑ์มาตรฐาน eNPS นี้ไปเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมและพื้นที่ของตนเองได้ แต่ควรตระหนักว่าเกณฑ์มาตรฐานคะแนนนี้จะแตกต่างกันตามแต่ละอุตสาหกรรมและพื้นที่ และสิ่งที่สําคัญคือการติดตามค่า eNPS ขององค์กรของตนเองในช่วงเวลาต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงจะดีมากกว่าถ้าองค์กรของคุณมีการ benchmark ค่า eNPS ในองค์กรของตนเองเพื่อที่จะกําหนดมาตรฐาน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งนี้อาจจะสัมพันธ์กับองค์กรหรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง) ค่า eNPS นี้ยังได้รับผลกระทบจากบางอย่างที่เป็นเรื่องพื้นฐาน อย่างเช่นเรื่องลักษณะทางภูมิศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ขณะที่คนใน USA ให้คะแนนสําหรับคําถามนี้สูงอย่างง่ายดาย แต่คนยุโรปจะให้คะแนน 9 และ 10 สําหรับคําถามนี้ในกรณีที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ เท่านั้น

มีตัวแปรที่ซ่อนอยู่อีกมากมายที่ค่า eNPS ไม่ได้นํามาพิจารณาสําหรับการเปรียบเทียบองค์กรของตนเองกับบริษัทอื่นที่มีการกําหนดตัวแปรที่ไม่ทราบค่าที่อาจปิดบังความจริงว่าอะไรเกิดขึ้นในองค์กรตนเองบ้าง ทางที่ง่ายที่สุดคือเปรียบเทียบผลคะแนน eNPS ล่าสุด กับคะแนน eNPS ที่วัดไว้ก่อนหน้านี้ในองค์กรตนเอง สิ่งนี้จะช่วยมองเห็นว่าเกิดอะไรผิดปกติขึ้นในองค์กรบ้างถ้ากรณีที่ค่า eNPS มีค่าตํ่ากว่าเดิม และกรณีที่ค่า eNPS มีค่าดีขึ้น องค์กรจะรักษาการทํางานให้ดีแบบนี้ต่อไปได้อย่างไร

หมายเหตุ อย่าเพิ่งรู้สึกผิดหวังถ้าค่า eNPS ตํ่ากว่าค่า NPS ในองค์กรของคุณ นั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของพนักงานนั้นถูกผูกไว้กับสถานที่ทํางานมากกว่าชีวิตของผู้บริโภคที่ผูกอยู่กับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นพนักงานจึงมีแนวโน้มที่จะไม่มีความกังวลในการตอบคําถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ซึ่งแสดงถึงค่า NPS นั่นเอง

ร่วมสร้างที่ทำงานที่มีความสุข เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กรไปกับ Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

พัฒนาค่า eNPS ให้สูงขึ้นได้อย่างไร

การทําให้ค่า eNPS สูงขึ้นคือขั้นตอนการเปลี่ยนพนักงานให้เป็นผู้สนับสนุนองค์กรหรือ promoters ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ด้วยการรับฟังและตอบฟีดแบ็กของพนักงาน สิ่งนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและทําให้องค์กรได้รับความภักดีจากพนักงาน

การที่พนักงานมีความภักดีต่อองค์กรนั้นมีข้อดีมากมาย เพราะพนักงานเหล่านี้จะสร้างวัฒนธรรมความผูกพันต่อองค์กร, มีผลิตภาพ, และมีความเชื่อมั่นต่อองค์กร และจากสิ่งเหล่านี้เองที่ทําให้องค์กรสามารถรักษาพนักงานและสามารถดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถเมื่อมีการสรรหาพนักงานเข้ามาในองค์กร

กลยุทธ์ที่จะทําให้ค่าคะแนน eNPS เพิ่มขึ้นนั้นทําได้โดย

  1. มีการวัดค่าและติดตามผล eNPS เป็นประจํา การถามคําถามนี้ปีละครั้งนั้นมันยากมากที่องค์กรจะเห็นถึงเทรนด์ที่มีความหมายนํามาใช้ประโยชน์ในองค์กรได้ ดังนั้นจะดีกว่าถ้าองค์กรถามพนักงานด้วยคําถามนี้สองถึงสามเดือนครั้ง และนี่เป็นวิธีการที่ทําได้ง่าย และยังทําให้องค์กรได้ข้อมูลที่เพียงพอที่จะหาเทรนด์ในองค์กรที่ชัดเจนในช่วงเวลานั้นๆ ในการพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรและแรงบันดาลใจของพนักงาน
  2. ทําให้พนักงานมั่นใจในการปกปิดตัวตน ในการปกปิดตัวตนของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้พนักงานรู้สึกสบายใจในการให้ฟีดแบ็กที่แท้จริง ซึ่งการร่วมงานกับบริษัทภายนอกสามารถช่วยเรื่องนี้ได้ ส่วนความล้มเหลวในการปกปิดตัวตนนี้จะนําไปสู่การที่พนักงานไม่ให้คําตอบที่แท้จริงเพราะความกลัวการตอบสนองกลับที่ไม่ดี
  3. เปิดเผยผลที่ได้อย่างโปร่งใส โดยการแจ้งผล eNPS ที่วัดค่าได้ให้ทุกคนในองค์กรทราบ สิ่งนี้จะทําให้พนักงานมีความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและลงมือทําจนเห็นผลลัพธ์ที่ได้ และกรณีผล eNPS ที่ได้มีค่าเป็นลบ ส่วนนี้ใช้แสดงให้พนักงานเห็นว่าองค์กรถูกกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะผลคะแนนนี้
  4. เพิ่มคําถามติดตามหลังคําถามหลักในการวัดค่า eNPS เพื่อทําให้ทราบถึงสาเหตุที่ทําให้ได้ค่า eNPS จากที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นในหัวข้อก่อนหน้านี้แล้วว่าค่า eNPS ถูกวัดจากคําถามเดียว ซึ่งไม่เพียงต่อการวิเคราะห์ข้อมูลว่าทําไมถึงได้ค่าคะแนนเท่านี้ ดังนั้นการเพิ่มคําถามติดตาม (follow-up questions) จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของการเป็น detractors หรือ promoters ตัวอย่างคําถามเช่น “อะไรคือเหตุผลหลักที่ทําให้คุณให้คะแนนเท่านี้”, “สิ่งไหนที่องค์กรทําได้ดีกว่านี้ อะไรที่ทําให้คุณชอบทํางานที่นี่”, “ช่วยบอกเหตุผลที่ทําให้คุณไม่อยากแนะนําให้คนอื่นมาทํางานที่นี่”, หรือ “เหตุผลใดที่ทําให้คุณรู้สึกลังเลใจหากจะแนะนําให้คนอื่นมาทํางานที่นี่”
  5. ลงมือแก้ไขปัญหาหรือข้อกังวลของผู้ที่ไม่สนับสนุนองค์กรหรือ detractors สิ่งนี้ทําให้พนักงานแน่ใจได้ว่าองค์กรได้ยินเสียงและเข้าใจพวกเขา และให้คุณค่ากับฟีดแบ็กที่พนักงานให้กับทางองค์กร (สิ่งนี้เป็นผลที่ได้จากคําถามติดตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้)
  6. สื่อสารอย่างชัดเจนว่าองกรค์ได้ลงมือทําอะไรไปบ้าง จากการได้ทราบค่า eNPS สิ่งนี้จะช่วยพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรเมื่อพนักงานทราบว่าเสียงหรือฟีดแบ็กของพวกเค้ามีผลต่อการกระทําของหัวหน้างานหรือผู้จัดการของพวกเขาอย่างชัดเจน และสิ่งนี้ก็จะช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงานอยากมีส่วนร่วมในการทําแบบสอบถามในครั้งถัดๆ ไปอีกด้วย
  7. ชื่นชมและขอบคุณพนักงานในการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นตัวแทนขององค์กร องค์กรสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาค่า eNPS เช่นกิจกรรมการให้การชื่นชมหรือรางวัลแก่ทีมที่มีผู้สนับสนุนหรือ promoters เยอะ การชื่นชมยินดีนี้ช่วยทําให้เกิดความภักดีต่อองค์กรของพนักงานอย่างมาก

ค่าดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงานหรือค่า eNPS นี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะสามารถติดตาม, วิเคราะห์, และพัฒนาความพึงพอใจของพนักงานในองค์กร ซึ่งความพึงพอใจของพนักงานนี้ส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาและเติบโตขององค์กร และค่านี้สามารถนํามาใช้ส่งเสริมสนับสนุนความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานได้อีกด้วย การวัดค่า eNPS เป็นระยะหรือช่วงเวลานั้นเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร เช่น Apple หรือ Google ที่เป็น
องค์กรที่ถูกยกย่องในเรื่องวัฒนธรรมการทํางานเชิงเติบโต (growth-oriented work culture) ได้รับความนิยมมากหลังจากการวัดและใช้ค่า eNPS ในช่วงเวลาต่าง ๆ

สิ่งสําคัญอย่างหนึ่งของการใช้ค่า eNPS คือองค์กรควรใช้ค่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือค่า benchmark ในการเปรียบเทียบค่า eNPS ขององค์กรตนเองที่วัดในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ไม่ใช่เปรียบเทียบกับค่า eNPS ขององค์กรที่เป็นคู่แข่งเพราะค่า eNPS ไม่ได้เป็นแค่เพียง “คะแนน” แต่ค่านี้เกี่ยวกับการสร้าง “วัฒนธรรมที่ดีกว่า” ให้เกิดขึ้นในองค์กร

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!