Happily Building Culture/Team Activities

หากคุณกำลังมองหากิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนุกและสร้างสรรค์ กิจกรรมเหล่านี้อาจช่วยให้คุณเกิดไอเดียและนำไปปรับใช้กับที่ทำงานของคุณต่อไปได้
Happily Building Culture/Team Activities

เพื่อทำให้ค่านิยมและวัฒนธรรมกรคงอยู่อย่างแข็งแกร่ง การสื่อสารค่านิยมองค์กรผ่านกิจกรรมในบริษัทก็เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร และช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้ว ยังสามารถบอกเล่าค่านิยมองค์กรและเน้นย้ำว่าบริษัทให้ความสำคัญกับพนักงาน หากคุณกำลังมองหากิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนุกและสร้างสรรค์ กิจกรรมเหล่านี้อาจช่วยให้คุณเกิดไอเดียและนำไปปรับใช้กับที่ทำงานของคุณต่อไปได้

กิจกรรมเสริมสร้างการสื่อสาร

  1. จัดเวลาพูดคุยกัน (15-30 นาที): สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ยุ่งจนพนักงานไม่มีเวลาพูดคุยกันเรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องงาน การจัดเวลาเพื่อให้ทุกคนในทีมสามารถมีโอกาสพูดคุยกันส่วนตัวได้สั้น ๆ ประมาณ 15 - 30 นาทีช่วยทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ขึ้นได้ โดยที่ในบทสนทนาไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงาน และไม่ควรจริงจังมากนัก

    เกมก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเกมที่ต้องอาศัยความร่วมมือเป็นทีมและใช้เวลาต่อเกมไมนาน อย่าง ROV และ Among Us หรืออาจเป็นเกมที่ใช้เวลานานขึ้นมาอีกหน่อยอย่างเกมกระดาน (Board game) ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้คนที่ไม่ค่อยได้พูดคุยกัน ได้คุยและได้รู้จักกันมากขึ้น
  2. กิจกรรมกุหลาบ หน่อ หนาม หรือ Roses, buds, thorns (20 นาที): เป็นกิจกรรมที่มีเพื่อทบทวนและแบ่งปันให้คนในทีมได้รู้ โดยกุหลาบ (Roses) หรือดอกไม้ที่ผลิบานแสดงถึงดอกผลของความสำเร็จ นั่นคือให้สมาชิกแต่ละคนแชร์สิ่งที่เป็นเชิงบวกหรือเรื่องที่ทำสำเร็จ ส่วนหน่อ (Buds) หรือหน่อตูมของดอกกุหลาบที่รอเวลาเบ่งบาน นั่นคือให้สมาชิกแชร์เรื่องที่มองว่าเป็นโอกาส และหนาม (Thorns) แทนข้อผิดพลาดหรืออุปสรรค (อ่านเพิ่มเติมพร้อมตัวอย่างเทมเพลตกิจกรรมได้ที่นี่)

    กิจกรรมนี้นอกจากนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแชร์เรื่องงานต่อเพื่อนในทีมแล้ว ยังสามารถแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อสื่อสารทำความรู้จักกันก็ได้ และกิจกรรมนี้สามารถทำได้เป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนแล้วแต่ความเหมาะสม
  3. การพูดคุยตัวต่อตัว หรือ 1-on-1 meeting (15-30 นาที) : การพูดคุยตัวต่อตัวบ่อย ๆ เป็นเครื่องมือที่ดีในการสร้างความเข้าใจกันระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง เปิดโอกาสให้หัวหน้าได้รับรู้ความคิดเห็นและความรู้สึกของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร ได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างทันท่วงที รวมทั้งทำให้พนักงานเข้าใจและมองเห็นเป้าหมายของทีมและองค์กรชัดเจนขึ้น การพูดคุยอัพเดตกันสั้น ๆ ประมาณ 15-30 นาทีเช่นนี้ ยังสะท้อนว่า หัวหน้าทีมรับฟังความเห็นหรือ feedback จากพนักงานอย่างตั้งใจและฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ

    ทั้งนี้ การคุยกันแบบตัวต่อตัวจะให้ผลลัพธ์อย่างเต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อหัวหน้างานและองค์กร ตอบสนองต่อ Feedback ของพนักงานจริง ๆ
  4. การชื่นชมในที่สาธารณะ (5 นาที): การขอบคุณและชื่นชมกัน ทั้งจากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าทีม เป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน และหากการชื่นชมเกิดขึ้นในที่สาธารณะเป็นประจำ (ไม่เพียงแค่ในที่ส่วนตัว) และปัจจุบันเทคโนโลยีก็สามารถช่วยให้การชื่นชมและขอบคุณกันออกสู่สายตาทุกคนในองค์กรได้ง่ายขึ้น เช่น ดิจิตอลบอร์ด, Newsletter ในองค์กร, Happily.ai, Bonusly และ Motivosity เป็นต้น หากการชื่นชมและขอบคุณกันในที่ทำงานเป็นเรื่องปกติและทำเป็นประจำ พนักงานจะสัมผัสได้ว่า องค์กรมองเห็นความพยายามของพวกเขาและรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่าต่อองค์กร
  5. การประชุมองค์กร (1-2 ชม.) : การประชุมใหญ่ที่ทั้ง CEO ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก และพนักงานทุกฝ่ายมาพบกันเพื่ออับเดตข่าวสารขององค์กร รวมถึงพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากใครมีคำถามหรือข้อเสนอแนะอะไรก็สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อสอบถามและเสนอไอเดียถึงระดับผู้บริหารได้โดยตรง ส่วนความถี่ในการจัดก็หลากหลาย ทั้งรายปี รายไตรมาส หรือรายเดือนแล้วแต่การบริหารจัดการ การประชุมแบบนี้ช่วยลดระยะห่างระหว่างฝ่ายบริหารและพนักงานในองค์กร และช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กรได้อีกด้วย

    การประชุมองค์กรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Town Hall และ All-Hand ซึ่งแตกต่างกันเพียงแค่รูปแบบการประชุม นั่นคือ Town Hall จะเป็นการสื่อสาร 2 ทาง เน้นการพูดคุยปรึกษากันมากกว่า รวมทั้งมีความสบาย ๆ และเป็นกันเองมากกว่า แบบ All-hands ที่ผู้นำองค์กรและฝ่ายบริหารเป็นฝ่ายพูดและดำเนินการประชุมให้พนักงานรับฟัง และเปิดโอกาสให้พนักงานถามและแลกเปลี่ยนในช่วงท้ายของการประชุม

กิจกรรมระดมความคิด

การจัดกิจกรรมระดมความคิด (Roundtable) เป็นประจำสามารถสร้างวัฒนธรรมการเปิดกว้างและความโปร่งใส การจัดกิจกรรมนี้ไม่จำเป็นต้องจัดในที่ทำงาน แต่สามารถจัดที่ร้านอาหารใกล้ ๆ ออฟฟิศได้อีกด้วย โดยรูปแบบกิจกรรมก็มีทั้งกระดานเป้าหมาย (Vision Board) การ Bainstorming session ในหัวข้อต่าง ๆ ทั้งภายในทีมและระหว่างทีม กิจกรรมระดมความคิดนอกจากจะช่วยให้เกิดความร่วมมือกันและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในองค์กรแล้ว ยังทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรอื่น ๆ อีกด้วย

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

การดูแลใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้น องค์กรสามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพได้หลายรูปแบบ เช่น แข่งขันเก็บก้าวเดิน เก็บระยะทางเดิน/ วิ่ง เป็นต้น หรือสนับสนุนให้พนักงานสร้างนิสัยใหม่ ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การขยับร่างกายระหว่างทำงาน การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือการนั่งสมาธิ โดยอาจมีการเสนอรางวัลให้เป็นเป้าหมายและแรงกระตุ้นเพิ่มได้ เช่น เสนอให้บัตรเข้าร่วมงานวิ่งแก่พนักงานที่สนใจ และส่วนลดสมาชิกฟิตเนส เป็นต้น

กิจกรรมเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรข้างต้นสามารถนำไปปรับใช้ได้กับองค์กรทั้งขนาดเล็กและใหญ่ และหลายกิจกรรมก็ไม่ได้ต้องเสียเงินทุนในการจัดกิจกรรมเลย เพียงแค่อาศัยเวลาและความร่วมมือกันภายในองค์กรการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่งก็สามารถเกิดขึ้นได้จริง

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร

📢
กิจกรรมสร้างการสื่อสาร : จัดเวลาพูดคุยกัน, กิจกรรมกุหลาบ หน่อ หนาม, ประชุม 1-1, ประชุมองค์กร, การชื่นชมในที่สาธารณะ
💡
กิจกรรมระดมความคิด : กระดานเป้าหมาย, Brainstroming session
🏃‍♀️
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ : การแข่งเก็บก้าวเดิน/ วิ่ง, แจกส่วนลดสมาชิกฟิตเนส

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!