“ผู้คนทำงานเพื่อแลกเงิน แต่จะทำงานอย่างหนักเพื่อให้ได้รับคำชม คำยกย่อง และรางวัล” — Dale Carnegie, กูรูด้านการฝึกอบรมผู้นำ

Recognition คืออะไร ?

Recognition หรือ การชื่นชมยอมรับ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการดูแลพนักงานที่เป็นหัวใจขององค์กร เพื่อให้พวกเขามีความพึงพอใจในการทำงาน มีความรู้สึกผูกพันและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มี Well-being ที่ดี และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น

การชื่นชมใครสักคนหนึ่ง คือการที่เรายอมรับพฤติกรรมที่เห็น ความพยายาม หรือผลงานอันเยี่ยมยอดจนสมควรเป็นแบบอย่าง ซึ่งเกื้อหนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและไปสู่ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น การชื่นชมยอมรับช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีที่ให้คุณค่าในความพยายาม คุณภาพงาน และจุดแข็งของผู้อื่น และช่วยผลักดันให้พนักงานพยายามรักษาพฤติกรรมที่ดีนั้นต่อไป การชื่นชมยอมรับยังช่วยส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกและแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย จากงานการศึกษาข้อมูลของเราพบว่าการชื่นชมพนักงานบ่อยครั้งขึ้นจะทำให้พนักงานมีความสุขในที่ทำงานมากขึ้น และเมื่อพนักงานมีความสุขมากขึ้นพนักงานก็จะมี Productivity และประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กรด้วยการชื่นชมยอมรับ (Recognition Culture)

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเริ่มต้นจากการมีชุดค่านิยมร่วม (Shared Value) ที่ผ่านการตกตะกอนมาเป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นกระบวนการเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีผู้นำเป็นแม่แบบของการมีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบกันของพนักงานภายในองค์กร แต่ด้วยการเติบโตของทีมและพื้นที่การทำงานที่แยกจากกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนภายในองค์กรจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม มากกว่าจะหวังพึ่งผู้นำเพียงแค่คนเดียว ด้วยเหตุนี้เอง การชื่นชมยอมรับจากเพื่อนร่วมงานจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ

การให้และรับการชื่นชมยอมรับยังเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ภายในที่ทำงานและส่งเสริมพนักงานที่เป็น Talent ในองค์กรอีกด้วย โดยจากการศึกษาข้อมูลก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าผู้นำและองค์กรช่วยส่งเสริม Talent ผ่านการให้ Feedback และ Recognition นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาอื่นๆ ที่เผยให้เห็นว่าการชื่นชมยอมรับนำมาซึ่งความมีส่วนร่วมภายในองค์กร ความสามารถในการรักษาพนักงานไว้ รวมถึงอื่นๆ อีกมากมาย การชื่นชมยอมรับจึงนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยม ใช้ต้นทุนเพียงน้อยนิด แต่กลับสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในเชิงธุรกิจ ทั้งยังเป็นวิธีในการสร้างความเชื่อใจและเพิ่ม Well-being ของพนักงานอีกด้วย

การชื่นชมยอมรับถือเป็นรูปแบบพฤติกรรมหนึ่ง เป็นนิสัยที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน อีกทั้งยังแตกต่างจากนิสัยอื่น ๆ ที่เมื่อเวลาผ่านไป เราสามารถมองเห็นความคืบหน้าหรือความสำเร็จจากการทำนิสัยเหล่านั้นได้ แต่การชื่นชมยอมรับคือนิสัยที่กระทำเพื่อส่วนรวม และเป็นการลงแรงที่เราอาจจะไม่ได้รับอะไรกลับคืนมาเลยก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ หากไม่มีการย้ำเตือนหรือการส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นการยากที่องค์กรจะได้ประโยชน์จากการชื่นชมยอมรับอย่างเต็มที่

การออกแบบโปรแกรม Recognition ในองค์กร

ใช้หลักการของเฟรมเวิร์ก 5W (Who,What, When, Where, และ Why) โดยในแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด ดังนี้

Who คำนึงถึงว่าใครเป็นผู้ให้และผู้รับ Recognition มีอยู่สองแบบคือ 1. Manager-to-Peer Recognition เป็นการให้ Recogniton จากผู้จัดการสู่ลูกทีม โดยสิ่งนี้เป็นการสร้างการสื่อสารเชิงบวกในลำดับชั้นการทำงานในองค์กร 2. Peer-to-Peer Recognition เป็นการชื่มชมกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน ช่วยให้ทีมร่วมมือร่วมใจในการทำงานในทุก ๆ วัน

What พิจารณาสิ่งที่นำมา Recognition ไม่ว่าจะเป็นคำพูด ข้อความ หรือเป็นของรางวัลก็ได้ มีการให้ Recognition ผ่านการบอกกล่าวเป็นคำพูดหรือการเขียน เพื่อบอกว่าทำไมเราถึงรู้สึกชื่นชมและขอบคุณ หรือมอบสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อแสดงความชื่นชมและขอบคุณ

When พิจารณาว่าช่วงเวลาใดที่เหมาะสมสำหรับการให้ Recognition ถ้าเป็นการให้ Recognition แบบดั้งเดิมจะอิงตามเวลา เช่น ให้โบนัสปลายปี ของขวัญวันเกิด หรือของที่ระลึกครบรอบการทำงาน โดยผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าการให้ Recognition แบบทันทีทันใดและไม่ได้คาดคิดไว้ก่อนจะสร้าง Impact มากกว่าแบบอื่น

Where จะพิจารณาสองสิ่งคือการให้ Recognition จะทำที่ไหน และเก็บข้อมูลการให้ Recognition กันในองค์กรไว้ที่ใด การให้ Recognition ที่ดีที่สุดคือให้ในที่สาธารณะหรือเป็นที่รับรู้ทั่วทั้งองค์กร เพราะไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่ม Impact  แต่ยังช่วยเปิดโอกาสให้พนักงานคนอื่น ๆ ได้ชื่นชมเพื่อนร่วมงานอีกด้วย ส่วนในการเก็บข้อมูลการให้ Recognition มักทำผ่านไฟล์ที่แชร์ร่วมกัน หรือซอฟแวร์ Recogniton ที่มีและยังสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้อีกด้วย

Why สิ่งนี้เป็นองค์ประกอบหลักที่มี Impact ที่สุด การให้ Recognition กันโดยคำนึงถึงเป้าหมายช่วยให้พนักงานทำงานไปทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรที่มีร่วมกันได้

การให้ Recognition เชิงบวกกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของคนในองค์กร เป็นการเพิ่มความน่าจะเป็นในการเกิดพฤติกรรมนี้ซ้ำ ๆ (หรือบ่อยขึ้น) ในอนาคต และเราชี้ให้เห็นจากงานการศึกษาข้อมูลของเราว่าการชื่นชมยอมรับเป็นเหตุให้ผู้รับทำการส่งต่อการชื่นชมยอมรับให้กับผู้อื่นเช่นกัน การชื่นชมพนักงานที่ยึดถือและปฏิบัติตามค่านิยมองค์กร หรือความก้าวหน้าในการริเริ่มสร้างสรรค์งานที่สำคัญ เป็นวิธีที่ดีในการสร้างแรงผลักดันต่อความก้าวหน้าขององค์กรในระยะยาว

ส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีในองค์กรด้วย Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ตัวอย่างการออกแบบโปรแกรม Recognition ในองค์กร

📰
โปรแกรม Recognition แบบดั้งเดิม
Who - จะอยู่ในรูปแบบ Manager-to-Peer ก็คือการให้ Recognition จากผู้จัดการสู่พนักงานในทีม
What - การ Recognition จะให้เป็นรางวัลทั่ว ๆ ไป เช่น ดอกไม้ กาแฟ แก้วน้ำ หรือของที่ระลึกต่าง ๆ
When - การให้รางวัลหรือให้ Recognition กับพนักงานจะทำในช่วงเวลามาตรฐานหรือเวลาที่ถูกกำหนดไว้แล้ว เช่น ครบรอบการทำงาน วันเกิด ปีใหม่ เป็นต้น
Where - จะทำในที่สาธารณะ และมีการติดตามการให้ Recognition ผ่านปฏิทินหรือใช้ไฟล์แผ่นงานในการบันทึกการ ซึ่งขั้นตอนยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
Why - การได้รับ Recognition แบบนี้เกิดจากระยะเวลาการทำงาน และเทศกาลสำคัญ ๆ ขององค์กร
💌
โปรแกรม Recognition แบบง่าย ๆ
มักจะใช้ในองค์กรขนาดเล็กที่มีงบประมาณและทรัพยากรจำกัด
Who - จะมีการ Recognition ทั้งจากผู้จัดการและจากเพื่อนร่วมงาน จะช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้ชื่นชมเพื่อนร่วมงานที่ทำงานต่างทีมกันด้วยทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น
What - เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ สิ่งที่เป็นรางวัลหรือใช้เพื่อ Recognition จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น โน้ตแสดงความขอบคุณ กาแฟ ดอกไม้ ซึ่งพนักงานอาจไม่มีช่องทางในการให้ Recognition กันมากนัก
When - ด้วยเรื่องข้อจำกัดของงบประมาณ ทำให้การให้ Recognition ไม่สามารถทำกันได้บ่อย ดังนั้นจะเป็นการให้ Recognition แบบเป็นทางการที่อาจทำเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส
Where - ใช้การแชร์ข้อมูลการให้ Recognition ผ่านไฟล์เพราะไม่ใช้ต้นทุนเยอะ และไม่ลงทุนกับแพลตฟอร์มหรือซอฟแวร์การให้ Recognition ดังนั้นการให้ Recognition แบบนี้จะรู้เฉพาะผู้ให้และผู้รับ หรือรู้ในวงแคบ ซึ่งการให้ลักษณะนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรโดยรวมมากนัก
Why - ยึดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของการให้ Recognition เพื่อส่งเสริมพนักงาน ที่ปฎิบัติตนสอดคล้องกับค่านิยมองค์กร แต่พนักงานก็ยังขาดการให้ Recognition ที่เฉพาะเจาะจงทำให้ไม่ส่งผลถึงเป้าหมายที่องค์กรต้องการ
🎯
โปรแกรม Recognition แบบครบวงจร (All-In)
เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ ที่การให้ Recognition ช่วยส่งเสริมความสำเร็จและวัฒนธรรมองค์กรในระยะยาว
Who - ทุกคนในองค์กรสามารถให้ Recognition แก่กันได้ทั้งองค์กรและให้กันได้ทุกทิศทาง ที่ไม่เพียงแต่หัวหน้าให้ลูกทีมได้ หรือเพื่อนร่วมงานให้กับเพื่อนร่วมงานเท่านั้น แต่พนักงานสามารถให้ Recognition ไปยังหัวหน้างานได้ด้วย
What - ให้ Recognition ด้วยคะแนน และพนักงานสามารถสะสมคะแนนเพื่อนำไปแรกรับของรางวัลที่ต้องการได้ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พนักงานได้รางวัลและประสบการณ์ที่ตนเองต้องการจริง ๆ
When - เป็นการได้รับ Recognition แบบเรียลไทม์และไม่ได้คาดคิดเอาไว้ก่อน วิธีการนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ผู้นำและองค์กรสามารถทำได้ และยังส่งเสริมให้ผู้จัดการและพนักงานปฏิบัติตามได้อีกด้วย
Where - มีการเก็บข้อมูลผ่านซอฟแวร์ Recognition ของคนในองค์กร ช่วยให้สามารถนำผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกไปวางแผนการปฏิบัติงานหรือส่งเสริมพนักงานผู้มีความสามารถในองค์กรต่อไปได้
Why - ผู้นำองค์กรใช้การให้ Recognition ในองค์กรเป็นเครื่องมือในการช่วยส่งเสริมค่านิยมองค์กร การให้ Recognition ที่สอดคล้องกับค่านิยมองค์กรนี้จะช่วยส่งเสริมให้ทีมทำงานไปในทิศทางเดียวกันสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

การออกแบบโปรแกรม Recognition ในองค์กร สามารถเลือกแบบที่เหมาะสมกับองค์กรตนเองได้ ซึ่งสิ่งนี้จะขึ้นกับหลาย ๆ ปัจจัยของแต่ละองค์กร ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถปรับแต่งได้ในระหว่างการดำเนินการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์กรของตน

เพื่อให้องค์กรมีวัฒนธรรมการให้ Recognition เชิงบวกที่ส่งเสริมการทำงานไปในทิศทางเดียวกันและทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เราควรส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรให้ Recognition กันและกันเมื่อ

  1. ปฏิบัติหรือแสดงให้เห็นถึงการทำตามค่านิยมองค์กร
  2. ปฏิบัติหรือแสดงให้เห็นถึงความสามารถสำคัญตามกรอบความเป็นผู้นำขององค์กร
  3. มีพฤติกรรมเชิงบวก เช่น ทำงานเป็นทีมได้ดี ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเสมอ
  4. เป็นแบบอย่างที่ดีในความพยายาม
  5. ทำ Project สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  6. ส่งเสริมเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน
  7. สร้างผลงานที่โดดเด่น
  8. ทำงานมี Productivity
  9. มีส่วนร่วมในการบริการสาธารณะหรือช่วยเหลือหน่วยงานและสังคมด้วยจิตอาสา
  10. ให้บริการและสร้างความประทับให้กับลูกค้า

เทคนิคในการให้ Recognition ที่มีประสิทธิภาพและสร้าง Impact สามารถใช้เช็กลิสต์ตามรูปด้านล่างได้หรือดูแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการให้และรับ Recognition จากบทความก่อนหน้านี้ของเรา

Powerful recognition TH

และสามารถเข้าไปดู3 วิธีในการส่งเสริมการชื่นชมยอมรับในที่ทำงาน ที่ผู้นำและองค์กรสามารถนำไปใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย

หรือสามารถใช้เคล็ดลับการให้ Recognition ที่มีความหมายและคุณค่าจากบทความของ Fond ทำได้โดย

  1. ให้ Recognition แบบที่ไม่คาดคิด
  2. ให้ Recognition ในทันทีทันใด
  3. ให้ Recognition โดยเป็นที่รู้โดยทั่วกันทั้งองค์กร

และสามารถดูตัวอย่างข้อความสำหรับให้ Recognition ในองค์กรได้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นการ Recognition ถึงความพยายามในการทำงาน การทำงานสำเร็จ การนำเสนองาน การขาย การทำงานเป็นทีม ความมีน้ำใจ และการแนะนำและเป็นที่ปรึกษาให้เพื่อนร่วมงาน

ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยเรื่องการให้ Recognition ในองค์กรมากมาย เช่น Happily.ai, Empuls, Recognize, Achievers และอื่น ๆ

การให้และได้รับการชื่นชมยอมรับเป็นกิจกรรมส่งเสริม Engagement ของพนักงานที่มี ROI สูง ซึ่งส่งผลที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพิ่ม Well-being ของพนักงาน เพิ่ม Productivity ในการทำงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย คุณต้องวางระบบการชื่นชมยอมรับเพื่อส่งเสริมพนักงานคนเก่งและเสริมสร้างวัฒนธรรมของคุณให้แข็งแรง หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถช่วยเหลือองค์กรของคุณ เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ Happily.ai

Share this post