ผู้จัดการจะสามารถปรับปรุง Employee Effectiveness สร้างเสริมศักยภาพของพนักงาน ได้อย่างไร?

การสร้าง Employee Effectiveness นั้นเป็นหน้าที่ของผู้จัดการ ที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยสร้างและเร่งศักยภาพของพนักงาน ให้มีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่จะทำได้อย่างไร สามารถศึกษาได้จากบทความนี้
ผู้จัดการจะสามารถปรับปรุง Employee Effectiveness สร้างเสริมศักยภาพของพนักงาน ได้อย่างไร?

ในบทความที่ผ่านมา ทางเราได้กล่าวถึงการสร้าง Employee Effectiveness นั้นว่า คืออะไร และทำไมธุรกิจต่างๆ ต้องใส่ใจ แต่คุณผู้อ่านหลายคนก็คงจะสงสัยว่า จะทำอย่างไร ถึงจะสร้าง Employee Effectiveness ขึ้นมาในองค์กรได้

เมื่อพนักงานศักยภาพสูง ธุรกิจของคุณก็ STONK! ได้

วันนี้ เราจึงขอแนะนำวิธีการสร้าง Employee Effectiveness ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งอาจจะมีความท้าทายในการจัดการ แต่เมื่อสร้างได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่นำพาไปสู่ความสำเร็จเชิงตัวเลข เช่น ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ยอดขายที่สูง กำไรที่มากขึ้น เป็นต้น โดยทางเราได้นำมาจากบทความของ Construction World ซึ่งเป็นเว็บไซต์ด้านความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่เต็มไปด้วยความรู้ทั้งด้านเทคนิค รวมไปถึงเทคนิคการบริหารจัดการสำหรับผู้จัดการอีกด้วย ถึงแม้ตัวบทความจะทำมาเพื่อผู้จัดการโปรเจคการก่อสร้างอาคารต่างๆ แต่ทางเราเห็นว่าหลายข้อในบทความนี้สามารถนำมาปรับใช้กับคนทำงานในระดับ ผู้จัดการ และ หัวหน้างาน ในแผนกอื่นๆ ได้เช่นกัน

จัดการและดูแลพนักงานของคุณในฐานะคนๆ หนึ่ง

ใช่แล้ว เพราะพนักงานของคุณก็เป็นคนๆ หนึ่ง ที่มีทั้งความสำเร็จ ความผิดพลาด วันที่ดีและแย่ เจ็บป่วยไม่สบาย ปัญหาชีวิตทั้งส่วนตัวและที่บ้าน เช่นเดียวกับที่ผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้บริหาร เจ้าของบริษัท  จะต้องพบเจอเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเปรียบเทียบและปฏิบัติกับพนักงานเหมือนเครื่องจักร ในแนวว่า เป็นมดงาน หรือฟันเฟือง ดั่งเช่นในความเชื่อด้านการบริหารลูกน้องแบบยุคเก่านั้น นอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังสามารถฉุดดึงศักยภาพในการทำงานของพนักงานให้ต่ำลงไปอีก เนื่องมาจาก ลูกน้องที่ถูกประพฤติด้วยไม่ดีแล้วย่อมไม่มีพลังกายใจที่จะทุ่มเทกับงานอย่างแท้จริง

และในเชิงมนุษยธรรม คุณก็คงไม่อยากจะถูกปฏิบัติในรูปแบบเดียวกันด้วยใช่ไหม?

เปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้จัดการ และ ลูกน้อง ให้เข้าถึงได้

ผู้จัดการมักจะมีปัญหาในการสื่อสารกับลูกน้อง ด้วยตำแหน่ง หน้าที่ อำนาจ นำมาซึ่งการก่อกำแพงแห่งความเกรงกลัว เกรงใจ หลายครั้งอาจเป็นเพราะด้วยการเป็นผู้จัดการนั้นมีงานมากเกินไป นำมาสู่การสื่อสารผ่านตัวแทนเช่น ผู้ช่วย หรือ เลขา ไปยังลูกน้อง นั่นยิ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้จัดการและลูกน้องมากขึ้นไปอีก โดยคุณสามารถอาศัยการสื่อสารในช่วง Weekly Meeting หรือ Weekly Group Meeting เพื่อเปิดโอกาสในการพูดคุยปัญหาก็ได้

Happily.ai Pulse Survey
ระบบ Daily Pulse Survey แบบปลายเปิด โดย Happily.ai

แต่การสื่อสารแบบผ่านการประชุมก็อาจจะเป็นทางการเกินไป และอาจเหมือนไม่ได้เปิดรับมากพอ ขณะเดียวกันคุณก็ไม่ได้มีเวลามากพอในการสื่อสารหาลูกน้องทีละคน ดังนั้นการนำเอาเครื่องมือเข้ามาช่วยจึงสามารถแบ่งเบาภาระ ขณะที่ช่วยสนับสนุนให้ลูกน้องมีความ effective พร้อมกับแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปได้ในเวลาเดียวกัน โดยเครื่องมือที่กล่าวมานั้นก็ได้ถูกบรรจุเป็นฟีเจอร์ Daily Pulse Survey บนแอพ Happily.ai ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้จัดการสามารถดูแลพนักงานได้อย่างทั่วถึง ซึ่งหัวหน้าหรือผู้จัดการสามารถตอบโต้กับพนักงานในรูปแบบการสื่อสารสองทางได้โดยง่าย ผ่านการโต้ตอบบนกระทู้ของคำถามแบบปลายเปิด

กิจกรรม Team Building ต้องมีเป็นประจำ

แน่นอนว่าในการทำงานนั้นต้องมีการทำงานเป็นทีม ถึงแม้แผนกนั้นอาจจะมีคนเพียงคนเดียวถ้าอยู่ในองค์กรขนาดเล็ก หรือสตาร์ทอัพ แต่ก็ยังคงต้องมีการทำงานเป็นทีมกับแผนกอื่นๆอยู่ดี เพราะว่างานในองค์กรไม่สามารถที่จะทำสำเร็จได้ด้วยพลังของคน ทีม หรือ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น กิจกรรมการสร้างทีม หรือ Team Building จึงต้องมีจัดเป็นประจำ ไม่ว่าจะระดับทั้งองค์กร ในทีมย่อย ในกลุ่มที่ต้องประสานการทำงานร่วมกันบ่อยๆ ซึ่งนอกจากทางผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือฝ่าย HR จะต้องลงมาจัดการตรงนี้แล้ว คุณยังสามารถส่งเสริมให้ลูกน้องของคุณนั้น จัดกิจกรรมเหล่านี้กันเองได้อีกด้วย

การให้ Feedback ที่มีประโยชน์นั้น ช่วยได้มาก

ในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั้น จำเป็นที่ต้องมีการติชมอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ ซึ่งอย่างแรกที่สำคัญเลยคือต้องมาจากผู้จัดการที่มีให้ต่อลูกน้อง และกระตุ้นให้เกิดการติชม ให้กำลังใจระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือที่เรียกว่า Peer Feedback

เมื่อทุกฝ่ายต่างให้ Feedback แก่กัน ต่างฝ่ายก็ต่างจะได้รับรู้ในสิ่งที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็ง จุดที่ควรปรับปรุง จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมแห่งการติชม หรือ Feedback Culture อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงการทำงานร่วมกัน คุณภาพของงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน ทำให้ได้ผลลัพธ์ของการทำงานที่คล่องตัวกว่า ได้งานมากกว่าที่เคยเป็นมา ความขัดแย้งในรูปแบบที่เป็นพิษน้อยลง บรรยากาศในการทำงานดีขึ้นอย่างชัดเจน

ระบบ Peer Feedback ในแบบเฉพาะของ Happily.ai

ซึ่งทาง Happily.ai เรานั้นได้เข้าใจดีถึงความสำคัญในข้อนี้ เพื่อที่เราจะช่วยคุณสร้างวัฒนธรรม Feedback ภายในองค์กร พัฒนาศักยภาพของพนักงานให้เป็นดังที่กล่าวมา เราก็ได้มีฟีเจอร์ Peer Feedback ให้พนักงานสามารถขอฟีดแบ็กจากเพื่อนร่วมงานของเขาได้ถึง เดือนละ 2 คน ซึ่งคุณสมบัติต่างๆ ของฟีเจอร์นี้นั้น คุณสามารถดูรายละเอียดได้จากรูปภาพด้านบน

ซึ่งคุณก็สามารถที่จะสร้างศักยภาพให้กับองค์กรในภาพรวมได้เช่นเดียวกัน เพียงคุณลงทะเบียนที่แบบฟอร์มด้านล่างเท่านั้น ทางที่ปรึกษาของเราก็จะทำการติดต่อกลับไปเพื่อจัดการเรื่องทดลองใช้งาน หรือแม้แต่การใช้งานในแบบ Pilot กับกลุ่มเล็กๆ เพื่อนำร่อง ในกรณีที่คุณยังไม่มั่นใจว่าจะเหมาะสมกับการนำไปใช้ทั้งบริษัทหรือไม่ สนใจแล้วกรอกข้อมูลเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากเรา ฟรี!

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!