การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์

80% ของ HR เชื่อว่าการรวมเทคโนโลยีเข้าไปในกระบวนการทํางานของ HR จะช่วยพัฒนาทัศนคติของพนักงานในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านทรัพยากรบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์
Photo by Andrea De Santis / Unsplash

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกเราปัจจุบันนี้เป็นยุคของข้อมูลและการนําข้อมูลมาใช้ในงานทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่องค์กรต่างให้ความสําคัญโดยเฉพาะเมื่อองค์กรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น องกรค์จะมีข้อมูลจํานวนมากและองค์กรเองสามารถนําข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ คาดการณ์ปัญหาและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรบุคคล และผลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้จะเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้องค์กรสามารถนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ

จากผลการสํารวจเรื่อง Digital transformation ในประเทศไทยปี 2020 ของ Deloitte เปิดเผยว่าบริษัทต่าง ๆ ได้เริ่มมีการทํา Digital transformation ในองค์กรแล้วถึง 52% และถึง 60% ของผู้ร่วมทําแบบสอบถามมีจุดประสงค์หลักของการทํา Digital transformation ในองค์กรเพื่อที่จะใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานนั้น 80% ของ HR เชื่อว่าการรวมเทคโนโลยีเข้าไปในกระบวนการทํางานของ HR จะช่วยพัฒนาทัศนคติของพนักงานในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น

ความท้าทายของการทําการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ขององค์กรในส่วนงานทรัพยากรบุคคล

● ส่วนงานทรัพยากรบุคคลต้องการคนที่มีทักษะในด้านการพัฒนาคุณภาพข้อมูลของหน่วยงาน, โครงงานวิทยาศาสตร์ข้อมูลและข้อมูลเพื่อทําความเข้าใจในพนักงาน
● การจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลกับพนักงานในองค์กร และเหมาะสมกับข้อมูลที่ใช้ในส่วนงานทรัพยากรบุคคลในองค์กร

เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลด้วย AI

ในส่วนของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันนี้ก็จะมีตั้งแต่เครื่องมือสํารวจและเก็บฟีดแบ็กจากพนักงานแบบง่าย ๆ ไปจนถึงแพลตฟอร์มที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน เทรนด์ที่โดดเด่นอันหนึ่งก็คือ Augmented Analytics ซึ่งก็คือการทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Machine Learning และการสร้างภาษาธรรมชาติ หรือ Natural Language Generation (NLG)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI มีส่วนช่วยในงานด้านทรัพยากรบุคคลหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็น
● การสรรหาบุคคลที่มีความสามารถ เหมาะกับตําแหน่งที่หน่วยงานกําลังมองหา เช่น Skillate, GetLinks
● การประเมินแบบสอบถามภายในองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI เช่น aiSurvey
● การรักษาและพัฒนาพนักงานที่เป็น talent ขององค์กร และมองเห็นพนักงานที่เป็น hidden talent ในองค์กร และมีศักยภาพที่จะขึ้นเป็นผู้นําต่อไป เช่น Happily.ai

ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ในเรื่องการมองเห็นพนักงานที่เป็น hidden talent ในองค์กร และมีศักยภาพที่จะขึ้นเป็นผู้นําต่อไปก็คือ แพลตฟอร์ม Happily.ai ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประเภทของ talent ในองค์กรและให้ข้อมูลพนักงานที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นํา และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Organizational Network Analysis (ONA) ในการแสดงแผนภาพการสื่อสารของพนักงานในองค์กรว่าใครเป็น talent ประเภทไหน หรือเป็น connector ที่ดีในทีมและองค์กร และโครงข่ายนี้สามารถบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์ในระดับต่าง ๆ ได้อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

Happily.ai | เวทย์มนตร์เบื้องหลังทีมที่มีความสุขและมีสมรรถนะสูง
ให้ทีมของคุณทำงานได้ดีที่สุด โดยการได้รับการมีส่วนร่วมและความผูกพันของพนักงาน ปลูกฝังค่านิยม และความสัมพันธ์ที่ดี ที่ช่วยสร้างที่ทำงานที่คนรัก!

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!