ทีมใหญ่หรือเล็กสำคัญกับความสุขของสมาชิกในทีมแค่ไหน

สำคัญมากเลย หัวหน้างานที่มีลูกน้องมากเกินไปมักจะมีทีมงานที่ไม่ค่อยมีความสุข
ทีมใหญ่หรือเล็กสำคัญกับความสุขของสมาชิกในทีมแค่ไหน

สำคัญมากเลย หัวหน้างานที่มีลูกน้องมากเกินไปมักจะมีทีมงานที่ไม่ค่อยมีความสุข

คุณค่าของทีมในที่ทำงาน

“คนเดียวทำได้น้อย รวมกลุ่มกันทำได้มาก” — Helen Keller, นักเขียนชาวอเมริกัน, สตรีตาบอดและหูหนวกคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาในสหรัฐฯ

มนุษย์มีความสามารถในการรวมกลุ่มกันเพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความรุ่งโรจน์ของอารยธรรมต่างๆ ทั่วโลกมานานตราบเท่าที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ นับตั้งแต่กองทัพโรมัน เหล่าขุนนางจีนโบราณ ไปจนถึงทีมอไจล์ (agile)ในแคลิฟอร์เนีย ผู้คนต่างมองว่าความสามารถในการจัดการและเป็นผู้นำกลุ่มคนจำนวนมากคือเครื่องหมายแห่งความสำเร็จ แม้ดูเหมือนว่าการรวมกลุ่มของผู้คนนั้นจะมีจำนวนเท่าไรก็ได้ แต่การที่กลุ่มจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นต้องมีการจำกัดจำนวนคนภายในกลุ่ม

ตัวเลขของดันบาร์

ผู้ที่เสนอตัวเลขนี้คือ Robin Dunbar ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียง [1] เขาอธิบายว่า คนเราสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับผู้คนประมาณ 150 คนเป็นอย่างมาก Gore-Tex บริษัทสัญชาติอเมริกันซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงก็ยึดถือหลักการนี้ Gore-Tex ถึงขั้นจำกัดจำนวนพนักงานในอาคารไว้ไม่เกิน 150 คน เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ [2]

งานวิจัยมากมายในการศึกษาเหล่านี้เก็บข้อมูลจากสังคม WEIRD ซึ่งย่อมาจาก Western (ตะวันตก) Educated (มีการศึกษา) Industrialized (อยู่ในสังคมอุตสาหกรรม) Rich (ร่ำรวย) และ Democratic (เป็นประชาธิปไตย) และข้อมูลจำนวนมากของเราเก็บได้จากการศึกษาสังคมเอเชียซึ่งมีน้อยชิ้นกว่า ดังนั้นเราจึงทำการวิจัยเบื้องต้นโดยใช้ความคิดเห็นรายวันที่ได้รับจากการสำรวจความสุขรายวันบนแพลตฟอร์มของ Happily.ai คำถามของเราคือ เราสามารถวัดอิทธิพลและความสัมพันธ์ของขนาดทีมที่มีต่อความสุขของพนักงานได้หรือไม่ การที่มีจำนวนพนักงานในทีมมากขึ้นมีผลกระทบต่อความสุขในระดับที่วัดได้หรือไม่

ทีมที่ดีควรมีขนาดเท่าไร หัวหน้างานควรมีลูกน้องกี่คน

สมมติฐานของเราคือ หัวหน้าที่มีลูกน้องมากกว่าเจ็ดคน มีแนวโน้มมากที่สมาชิกในทีมจะมีความสุขน้อยลง

เราเก็บข้อมูลจากทีมงาน 381 ทีมซึ่งมีพนักงาน 2,263 คนเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี เรานิยามคำว่าทีม “ที่มีความสุข” คือทีมที่สมาชิกมากกว่า 75% รายงานว่าตนเองมีความสุข ส่วนทีมที่ “ไม่ค่อยมีความสุข” คือทีมที่ไม่เข้าเกณฑ์ข้างต้นที่กล่าวมา

เราได้ศึกษาหัวหน้างานของทีมขนาดต่างๆ และเปรียบเทียบความสุขของแต่ละทีม โดยจัดประเภทให้หัวหน้างานที่มีลูกน้องมากกว่าเจ็ดคนเป็นหัวหน้างานที่มีลูกน้องมากเกินไป ทีมงานที่หัวหน้ามีลูกน้องมากเกินไปมีจำนวน 99 ทีมจาก 381 ทีม — และในบรรดา 99 ทีมนั้น มีเพียง 18 ทีมที่มีความสุข

Happy team vs less happy team
Happy team vs less happy team

จากข้อมูลของเรา หัวหน้างานที่มีลูกน้องมากเกินไปมีแนวโน้มมากขึ้น 4 เท่าที่จะมีทีมที่ไม่ค่อยมีความสุข

นี่ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนัก — การที่มีลูกน้องมากขึ้นหมายความว่าหัวหน้างานต้องรับภาระงานมากขึ้น และทำให้เพื่อนร่วมทีมผูกพันกันน้อยลง แล้วเราจะหาอัตราความสุขสูงสุดสำหรับทีมแต่ละขนาดและค้นพบจุดสมดุลระหว่างขนาดทีมกับความสุขได้หรือไม่ ผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในรูปที่ 1 ด้านล่าง

จากรูปที่ 1 เราจะเห็นได้ว่าทีมที่มีสมาชิกสูงสุดหกคนมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับอัตราความสุขของทีมถึง 100% แต่หากขนาดทีมเพิ่มขึ้นเกินจำนวนนี้ อัตราความสุขสูงสุดของทีมก็จะลดลงตามไปด้วย

ขนาดทีม vs. ความสุขสูงสุดของทีม
รูปที่ 1 ขนาดทีม vs. ความสุขสูงสุดของทีม

แล้วทีมในอุดมคติควรมีกี่คนล่ะ

ผลการศึกษาและงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าทีมในอุดมคติควรมีหกคน งานวิจัยโดย Maximilien Ringelmann ชี้ว่าผลิตภาพจะลดลงลงฮวบฮาบหากทีมมีจำนวนเกินหกคน เนื่องจากสมาชิกมีสำนึกรับผิดชอบน้อยลง และเกิดปัญหาการกินแรงคนอื่น (free-rider problem) ตามที่เห็นด้านล่างนี้ [4]

ปรากฏการณ์ Ringelmann
credit: https://pt.slideshare.net/ellaabyou/ringelmann-effect/12

หัวหน้าทีมขนาดใหญ่มักรู้เรื่องนี้ได้โดยสัญชาตญาณ Evan Wittenberg ผู้อำนวยการของ Wharton Graduate Leadership Program กล่าวว่า “เราไม่คำนึงถึงเรื่องขนาดทีมก็จริง แต่เรารู้ว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ ห้าหรือหกคนคือขนาดที่พอเหมาะ”[5] เรารู้ว่ายิ่งมีลูกน้องมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้เวลามากเท่านั้นในการติตตามช่วยเหลือสมาชิกในทีมแต่ละคน ลองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไร หากคุณต้องพูดคุยความคืบหน้ากับลูกน้อง 15 คนเป็นรายสัปดาห์ แค่คิดถึงงานเอกสารก็ปวดหัวแล้ว!

ปัจจัยอื่นที่ควรพิจารณา

เราต้องพิจารณาปัจจัยอื่นอีกมากมายที่ส่งอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของทีมและผลิตภาพ ทั้งประเภทของงาน ความซับซ้อนของลำดับงาน ความชัดเจนของเป้าหมาย การจ้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพ การบรรจุคนเข้าทำงาน ฯลฯ [5], [6]

คุณสมบัติของหัวหน้างานก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องกำหนดว่าทีมควรมีขนาดใหญ่แค่ไหน Jim Harter หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ฝ่าย Workplace Management and Well-Being ที่ Gallup อธิบายว่า “ขนาดของทีม — และพลวัตอื่นๆ ของทีม — มีอิทธิพลต่อความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรก็จริง แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของหัวหน้างานหรือผู้นำทีม”[7]

ทีมงานมีความสุข = ทำงานมีความสุข

เรารู้แล้วว่าโดยทั่วไปทีมเล็กมักจะดี เพราะทำให้หัวหน้างานทำงานง่ายขึ้น พนักงานรู้สึกมีสำนึกรับผิดชอบมากขึ้น และลดปัญหาการกินแรงกันในบรรดาสมาชิกทีม ทุกคนรู้สึกมีความสุข และรู้สึกว่างานของตนมีคุณค่ายิ่งขึ้นเพราะได้มีบทบาทสำคัญในงานมากขึ้น

เรายังรู้อีกด้วยว่าในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ที่จะให้หลายองค์กรย่อขนาดทีมงานต่างๆ ให้เหลือเพียง 6 คน ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือพัฒนาทักษะของหัวหน้างานแทน หนทางที่ได้ผลมายาวนานในการทำให้หัวหน้างานเรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการทีมนั้น คือการฝึกอบรมและการเป็นพี่เลี้ยง (mentorship) ซึ่งทั้งสองทางนี้ต้องใช้ทั้งเวลาและเงิน

ที่ Happily.ai เราช่วยให้หัวหน้างานสนับสนุนช่วยเหลือลูกน้องได้ด้วยการสร้างทีมที่มีความสุขและมีผลิตภาพมากยิ่งขึ้นได้ในเวลาที่รวดเร็ว ยั่งยืน อีกทั้งยังใช้ต้นทุนน้อย ติดต่อเราได้เลย ถ้าอยากรู้ว่าเราทำได้อย่างไร!

apple

เอกสารอ้างอิง

[1] https://en.m.wikipedia.org/wiki/Dunbar%27s_number

[2] Malcolm Gladwell, The Tipping Point, 2000, page 38

[3]https://www.theatlantic.com/daily-dish/archive/2010/10/western-educated-industrialized-rich-and-democratic/181667/

[4]https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/002210317490033X

[5]https://knowledge.wharton.upenn.edu/article/is-your-team-too-big-too-small-whats-the-right-number-2/

[6] https://www.totalteambuilding.com.au/ideal-team-size/

[7] https://www.gallup.com/workplace/286997/ideal-team-size-depends-manager.aspx

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!